For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ
桐花章
มอบโดย จักรพรรดิญี่ปุ่น
ประเภทสายสะพายพร้อมดารา (มีชั้นเดียว)
วันสถาปนาค.ศ. 1888
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จำนวนสำรับไม่จำกัด
ผู้สมควรได้รับพระราชวงศ์ รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีอาวุโส นักการทูต และตุลาการที่มีผลงานโดดเด่น
มอบเพื่อประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ทั้งในกิจการสาธารณะและกิจการทางการเมือง
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาจักรพรรดิเมจิ
ประธานจักรพรรดิญี่ปุ่น
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ (ญี่ปุ่น: 桐花章โรมาจิTōka-shō; อังกฤษ: Order of the Paulownia Flowers) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มอบโดยรัฐบาลญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นในระหว่างการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิเมื่อ ค.ศ. 1888[1] ในฐานะเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ภายหลังได้ยกเอาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ออกมาเป็นอีกตระกูลหนึ่งต่างหากใน ค.ศ. 2003 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีชั้นเดียว คือ ชั้นมหาปรมาภรณ์ดอกคิริ[a] มีลำดับเกียรติสูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย แต่ต่ำกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ

ดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ (พอโลเนีย) เป็นรูปกางเขนชุบทอง ลงยารัศมีด้วยสีขาว ตรงกลางมีตราพระอาทิตย์ลงยาสีแดง ล้อมรอบด้วยรัศมีสีแดง คั่นด้วยดอกพอโลเนียสามดอกที่ระหว่างกิ่งกางเขนแต่ละกิ่ง เบื้องบนประดับด้วยใบพอโลเนียสามใบ ใช้ห้อยกับสายสะพายสีแดงขอบริ้วสีขาว สวมเฉวียงบ่าขากด้านขวาไปด้านซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน ขณะที่ดารามีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงตรา เว้นแต่ไม่มีใบพอโลเนียประดับอยู่เบื้องบน ใช้ประดับที่อกเสื้อด้านซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน

โดยธรรมเนียมปฏิบัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะมอบให้แก่รัฐบุรุษ, อดีตนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีอาวุโส, นักการทูต และตุลาการที่มีผลงานโดดเด่น อาจพระราชทานย้อนหลังการเสียชีวิตได้ และถือเป็นเกียรติยศขั้นสูงสุดที่มีการมอบให้ในกรณีปกติของระบบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น การมอบนั้นมิได้มอบเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นต้นมามีผู้ได้รับมอบเพียง 16 คนเท่านั้น เป็นชาวญี่ปุ่น 14 คน (มอบให้ย้อนหลังการเสียชีวิต 2 คน) ชาวอเมริกัน 2 คน (หนึ่งในนั้นเป็นคนเชื่อสายญี่ปุ่น คือ แดเนียล อิโนอูเอะ วุฒิสมาชิกแห่งสหรัฐอเมริกา)

แพรแถบ

บุคคลของไทยที่ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
  2. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
  4. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
  5. พระยาพหลพลพยุหเสนา
  6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
  7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
  8. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. อังกฤษ: Grand Cordon of the Order of the Paulownia Flowers; ญี่ปุ่น: 桐花大綬章โรมาจิTōka Daijushō
  1. Japan, Cabinet Office: Decoration Bureau

ข้อมูล

[แก้]
  • Peterson, James W., Barry C. Weaver and Michael A. Quigley (2001). Orders and Medals of Japan and Associated States. San Ramon, California: Orders and Medals Society of America. ISBN 1-890974-09-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?