For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์.

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ชื่อทางการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ที่ตั้งตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ
ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
เริ่มการก่อสร้าง2 ธันวาคม พ.ศ. 2537
วันที่เปิดดำเนินการ25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
มูลค่าการก่อสร้าง23,336 ล้านบาท[1]
ผู้ดำเนินการกรมชลประทาน
เขื่อนและทางน้ำล้น
ปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก
ความสูง301.50 เมตร
ความยาว4,860 เมตร
ความกว้าง (ฐาน)187.40 เมตร
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำโบ๊บ
ปริมาตรกักเก็บน้ำ756 ล้านลูกบาศก์เมตร[2]
สะพาน
ช่องถนน2 ช่อง

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย[3] ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ[1]

ประวัติ

[แก้]
บริเวณตอนเหนือของเขื่อน

สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว[1]

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ "[1]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[3]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

นอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะทำการกักเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรี ซึ่งทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหลากหลายสถานที่ ดังนี้

  • ฝั่งจังหวัดลพบุรี
    • อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ มีสถานที่ปล่อยปลา และ จุดนั่งชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • สันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถลากจูง ชมสันเขื่อนฯ ไป - กลับความยาว 9,720 เมตร
  • ฝั่งจังหวัดสระบุรี
    • พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

[แก้]
ขบวนรถไฟสายท่องเที่ยวที่จอดบนเหนือเขื่อน ให้ผู้โดยสารนักท่องเที่ยวถ่ายรูป
ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
สาย
ชานชาลา1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มิถุนายน พ.ศ. 2541
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
Pa Sak Jolasid Dam
กิโลเมตรที่ 162.38
แก่งเสือเต้น
Kaeng Sue Ten
−2.73 กม.
โคกสลุง
Khok Salung
+14.17 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อังกฤษ: Pa Sak Jolasid Dam) เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ในเขตทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยที่หยุดรถนี้จะมีรถไฟสายพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว คือ สายกรุงเทพ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี

ประวัติ

[แก้]

สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) ซึ่งเส้นทางรถไฟตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่จะถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนั้นได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2540 ใช้เวลา 14 เดือน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่จะอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทางรวม 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เริ่มมีการเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างๆ อ่างเก็บน้ำ มองดูเหมือนขบวนรถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนชาวบ้านเรียกกันว่า รถไฟลอยน้ำ[4] ตลอด 2 ข้างทางจะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงาม

เส้นทางรถไฟก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนถึงสถานีรถไฟหินซ้อน จะผ่านไร่ดอกทานตะวันบานสะพรั่งตลอดเส้นทางรถไฟสวยงามมาก ว่ากันว่าเป็นไร่ดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยวชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูหนาวทุกปี ขบวนรถออกจากกรุงเทพ 06.40 น. ถึงกรุงเทพ 17.45 น.

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]
เที่ยวขึ้น
[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท433 ชุมทางแก่งคอย 05.28 06:09 ชุมทางบัวใหญ่ 10.10
น921 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.40 10:40 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 10.40 เฉพาะวันหยุดราชการ
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 11:07 หนองคาย 17.30
ท439 ชุมทางแก่งคอย 11.45 12:27 ชุมทางบัวใหญ่ 16.45
ท437 ชุมทางแก่งคอย 16.55 17:41 ลำนารายณ์ 18.30 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า
เที่ยวล่อง
[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท438 ลำนารายณ์ 06.07 06:51 ชุมทางแก่งคอย 07.35 งดเดินรถ
ท440 ชุมทางบัวใหญ่ 05.50 10:08 ชุมทางแก่งคอย 10.40
ด76 หนองคาย 07.45 14:04 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
น926 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 14.20 14:20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.45 เฉพาะวันหยุดราชการ
ท434 ชุมทางบัวใหญ่ 12.20 16:57 ชุมทางแก่งคอย 17.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" จากพ่อหลวงสู่ปวงชน เก็บถาวร 2018-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  2. เว็บไซต์เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สืบค้นวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556
  3. 3.0 3.1 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เว็บไซต์ Moohin เก็บถาวร 2008-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°51′07″N 101°04′59″E / 14.852°N 101.083°E / 14.852; 101.083

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?