For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เกาะโลซิน.

เกาะโลซิน

โลซิน
Losin
โลซิน Losinตั้งอยู่ในประเทศไทย
โลซิน Losin
โลซิน
Losin
โลซิน Losinตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้
โลซิน Losin
โลซิน
Losin
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งอ่าวไทย
พิกัด7°19′N 101°56′E / 7.317°N 101.933°E / 7.317; 101.933
ระดับสูงสุด10 ม. (30 ฟุต)
จุดสูงสุดเกาะโลซิน
การปกครอง
จังหวัดปัตตานี
อำเภอปะนาเระ
ตำบลบ้านน้ำบ่อ
แผนที่

เกาะโลซิน (อักษรโรมัน: Ko Losin) เป็นเกาะหินปูนขนาดย่อมกลางทะเลอ่าวไทย ขึ้นอยู่กับจังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งดำน้ำและตกปลาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง และเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย[1][2]

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมที่นี่เคยเป็นดินแดนพิพาทระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยมาเลเซียได้ทำการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะกระในจังหวัดนครศรีธรรมราช[3][4] ด้วยการอ้างการแบ่งเขตไหล่ทวีป อันเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทำให้ไทยเสียเปรียบ แต่เวลาต่อมาคณะเจรจาไปพบเกาะหินกลางทะเล นั่นคือ "เกาะโลซิน" จึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 ให้โลซินมีสถานะเป็นเกาะ ไทยจึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล ซึ่งครอบคลุมแหล่งก๊าซด้วย[5]

ภายหลังปี พ.ศ. 2521 ไทยและมาเลเซียจึงได้ตกลงกันกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร โดยตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการร่วมกันแล้วแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง[6]

ปัจจุบันเกาะโลซิน เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัย ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี[7][8] จากที่นี่ห่างจากหาดวาสุกรีในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประมาณ 72 กิโลเมตร[2]

ลักษณะ

[แก้]

ตัวเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนไม่มีต้นไม้ใบหญ้า รอบเกาะน้ำตื้น หากจะขึ้นเกาะต้องนำเรือเล็กเข้าไป[9] บนเกาะมีประภาคาร ที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอด และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร[10] บริเวณรอบเกาะเป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์กินพื้นที่ยาวหนึ่งกิโลเมตร[2] มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิดโดยเฉพาะฉลามวาฬ[1][11] ด้วยเหตุนี้เกาะโลซินเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักตกปลา[12]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 นายอาคม พูนชนะ ไต๋เรือได้ขับเรือขนส่งเงินตราต่างประเทศมูลค่ารวม 119 ล้านบาทได้เพื่อนำมาส่งลูกค้าที่เกาะโลซิน ในวันที่ 2 ตุลาคม เวลาประมาณ 10.00 น. เรือได้ถูกปล้นต่อมาพบว่า นายอาคม พูนชนะ มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการปล้นทรัพย์นับเป็นเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย และตำรวจตั้งข้อสังเกตว่าลูกเรือทั้ง 7 ราย น่าจะเสียชีวิตเพราะถูกฆาตกรรมในทะเล[13]

ในปี พ.ศ. 2564 มีเศษอวนขนาดยาว 200 เมตร กว้าง 50 เมตร ติดแนวปะการังบริเวณเกาะโลซิน สร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศปะการังประมาณ 550 ตารางเมตร ซึ่งเก็บกู้ได้เป็นน้ำหนัก 800 กิโลกรัม[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ธัชดล ปัญญาพาณิชกุล (1 ตุลาคม 2011). ""โลซิน" สวรรค์ใต้น้ำที่ปลายด้ามขวาน". กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ดำน้ำ โลซิน เกาะเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่". กระปุกดอตคอม. 15 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  3. Undelimited Maritime Boundaries of the Asian Rim
  4. Nguyen, Hong Thao (1999). "Joint development in the Gulf of Thailand" (PDF). IBRU Boundary and Security Bulletin Autumn 1999. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2008.
  5. "'โลซิน' หลักเขตทางทะเล". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 1 ตุลาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  6. วินิจ รังผึ้ง (13 ตุลาคม 2009). "โลซิน กองหินแสนล้าน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  7. "จังหวัดปัตตานี". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  8. "จังหวัดปัตตานี". ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเกาะ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  9. "ปริศนาคดีปล้นเรือขนเงินร้อยล้าน...ปริศนาเกาะโลซิน ปัตตานี". อิศรา. 29 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2007.
  11. วินิจ รังผึ้ง (20 กันยายน 2011). "ดำน้ำกับฉลามวาฬที่โลซิน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2014.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2007.
  13. https://www.tnamcot.com/view/5ab0ee22e3f8e420aa43cd6d
  14. matichon (21 มิถุนายน 2021). "ทช.-ทัพเรือ เคลียร์อวนยักษ์ติดปะการัง เกาะโลซิน หนักกว่า 800 กก". มติชนออนไลน์.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เกาะโลซิน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?