For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เกาะสุมาตรา.

เกาะสุมาตรา

เกาะสุมาตรา
ภูมิประเทศของเกาะสุมาตรา
ที่ตั้งของเกาะสุมาตราในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด00°N 102°E / 0°N 102°E / 0; 102
กลุ่มเกาะหมู่เกาะซุนดาใหญ่
พื้นที่475,807.63 ตารางกิโลเมตร (183,710.35 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด3,805 ม. (12484 ฟุต)
จุดสูงสุดเกอรินจี
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดอาเจะฮ์
สุมาตราเหนือ
สุมาตราตะวันตก
เรียว
จัมบี
เบิงกูลู
สุมาตราใต้
ลัมปุง
เมืองใหญ่สุดเมดัน (2,097,610 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร59,977,300 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
ความหนาแน่น125.0/กม.2 (323.7/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์อาเจะฮ์, บาตัก, กาโย, ลัมปุง, มลายู, เมินตาไว, มีนังกาเบา, นียัซ, ปาเล็มบัง, เรอจัง, จีน, อินเดีย, ชวา, ซุนดา ฯลฯ
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

สุมาตรา หรือ ซูมาเตอรา (อินโดนีเซีย: Sumatra)[a] เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะซุนดาของอินโดนีเซียตะวันตก ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 475,807.63 km2) ซึ่งรวมเกาะรอบข้างอย่างซีเมอลูเวอ, นียัซ, เมินตาไว, เอิงกาโน, หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง และกลุ่มเกาะกรากาตัว

การทำลายป่าบนเกาะนี้ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบปกคลุมประเทศเพื่อนบ้าน อย่างฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2556 ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างอินโดนีเซียกับประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์[2] นักวิชาการมักอธิบายถึงการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวางและการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในเกาะสุมาตราและส่วนอื่นของอินโดนีเซียเป็นอีโคไซด์ (ecocide)[3][4][5][6][7]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ในสมัยโบราณ เกาะสุมาตรามีชื่อเรียกในภาษาสันสกฤตว่า สุวรรณทวีป (Suwarnadwīpa; 'เกาะทอง') และสุวรรณภูมิ (Suwarnabhūmi; 'ดินแดนทอง') ทั้งนี้เพราะมีการพบทองคำบนที่ราบสูงของเกาะแห่งนี้[8] ส่วนรูปปัจจุบันของ "Sumatra" แบบแรกสุดปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1017 เมื่อกษัตริย์ท้องถิ่น ฮาจีซูมาตราบูมี ("กษัตริย์แห่งดินแดนสุมาตรา")[9]ส่งทูตไปจีน ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับระบุถึงเกาะนี้เป็น ลัมรี ลามูรี ลัมบรี และรัมนี (Lamri, Lamuri, Lambri หรือ Ramni) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10-13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้กับบันดาร์อาเจะฮ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาขึ้นฝั่ง เกาะนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ อันดาลัซ (Andalas)[10] หรือ เกาะเปอร์จา (Percha Island)[11]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาร์โก โปโลกล่าวถึงอาณาจักรนี้เป็น Samara ในขณะที่ Odoric of Pordenone นักเดินทางชาวอิตาลีร่วมสมัยของเขา ใช้รูปเขียน Sumoltra ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 รูป "Sumatra" กลายเป็นที่นิยมในต่างประเทศ เนื่องจากราชอาณาจักรซามูเดอราปาไซกับรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ในยุคหลัง เรืองอำนาจ[12][13]

นับตั้งแต่นั้นมา นักเขียนชาวยุโรปยุคหลังส่วนใหญ่เขียนชื่อเกาะในรูป Sumatra หรือรูปคล้ายกัน[14][15]

ประชากร

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1971 20,808,148—    
1980 28,016,160+34.6%
1990 36,506,703+30.3%
1995 40,830,334+11.8%
2000 42,616,164+4.4%
2005 45,839,041+7.6%
2010 50,613,947+10.4%
2015 55,198,752+9.1%
2020 58,557,211+6.1%
2022 59,977,300+2.4%
ข้อมูล:[16][17]

เกาะสุมาตราไม่ได้มีประชากรหนาแน่นเป็นพิเศษ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมแล้วมีประมาณ 59,977,300 คน (รายงานจากจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงปลาง ค.ศ. 2022)[18] ถึงกระนั้น เนื่องด้วยขนาดของเกาะ ทำให้เกาะสุมาตราเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก[19]

หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี
หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี 
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ 

ภูมิศาสตร์

[แก้]

แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง พื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน (Barisan Mountains) ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก

ทางตะวันออกเฉียงใต้คือเกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมลายู แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือเกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาตา (Karimata Strait) ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดีย

สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบารีซัน ภูเขาไฟในภูมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพอันสวยงามเช่น รอบ ๆ ทะเลสาบโตบา (Lake Toba) นอกจากนี้ ยังมีแร่ถ่านหินและทองคำด้วย

ทางตะวันออก แม่น้ำใหญ่พัดพาเอาตะกอนดินจากภูเขา ทำให้เกิดลุ่มกว้างขวาง พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร อย่างไรก็ดี พื้นที่นี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก สุมาตราผลิตน้ำมันทั้งจากบนดินและใต้ดิน ("from above the soil and underneath") กล่าวคือ ผลิตทั้งน้ำมันปาล์มและปิโตรเลียม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสุมาตราเคยปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงอุรังอุตัง สมเสร็จ และ เสือสุมาตรา และพืชพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แรฟเฟิลเซีย (Rafflesia) อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการคอร์รัปชันและการทำไม้ผิดกฎหมาย ทำให้มีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พื้นที่อนุรักษ์ยังถูกทำลายด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • เกาะของอินโดนีเซีย
  • เกาะเรียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. กามุซเบอซาร์บาฮาซาอินโดเนซียาระบุว่า Sumatra เป็นรูปสะกดที่ถูกต้องในภาษาอินโดนีเซีย[1] แต่นิยมสะกดในภาษาอินโดนีเซียว่า Sumatera
  1. "Hasil Pencarian – KBBI Daring" [Entry for "Sumatra" in the online version of the Kamus Besar Bahasa Indonesia]. kbbi.kemdikbud.go.id (ภาษาอินโดนีเซีย). Ministry of Education, Culture, Research, and Technology.
  2. Shadbolt, Peter (21 June 2013). "Singapore Chokes on Haze as Sumatran Forest Fires Rage". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2017.
  3. "Forensic Architecture". forensic-architecture.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  4. "Explainer: What is ecocide?". Eco-Business (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  5. Aida, Melly; Tahar, Abdul Muthalib; Davey, Orima (2023), Perdana, Ryzal; Putrawan, Gede Eka; Saputra, Bayu; Septiawan, Trio Yuda (บ.ก.), "Ecocide in the International Law: Integration Between Environmental Rights and International Crime and Its Implementation in Indonesia", Proceedings of the 3rd Universitas Lampung International Conference on Social Sciences (ULICoSS 2022) (ภาษาอังกฤษ), Paris: Atlantis Press SARL, vol. 740, pp. 572–584, doi:10.2991/978-2-38476-046-6_57, ISBN 978-2-38476-045-9, สืบค้นเมื่อ 2023-07-05
  6. Alberro, Heather; Daniele, Luigi (2021-06-29). "Ecocide: why establishing a new international crime would be a step towards interspecies justice". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  7. Setiyono, Joko; Natalis, Aga (2021-12-30). "Ecocides as a Serious Human Rights Violation: A Study on the Case of River Pollution by the Palm Oil Industry in Indonesia". International Journal of Sustainable Development and Planning (ภาษาอังกฤษ). 16 (8): 1465–1471. doi:10.18280/ijsdp.160807. ISSN 1743-7601.
  8. Drakard, Jane (1999). A Kingdom of Words: Language and Power in Sumatra. Oxford University Press. ISBN 983-56-0035-X.
  9. Munoz, Paul Michel (2006). Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula (ภาษาอังกฤษ). Continental Sales, Incorporated. ISBN 978-981-4155-67-0.
  10. Marsden, William (1783). The History of Sumatra. Dutch: Longman. p. 5.
  11. Cribb, Robert (2013). Historical Atlas of Indonesia. Routledge. p. 249.
  12. Sneddon, James N. (2003). The Indonesian language: its history and role in modern society. UNSW Press. p. 65. ISBN 9780868405988. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  13. Macdonell, Arthur Anthony (1924). A Practical Sanskrit Dictionary with Transliteration, Accentuation, and Etymological Analysis. Motilal Banarsidass Publications. p. 347. ISBN 9788120820005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  14. Sir Henry Yule, บ.ก. (1866). Cathay and the Way Thither: Being a Collection of Medieval Notices of China, Issue 36. pp. 86–87. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 February 2017.
  15. Marsden, William (1811). The History of Sumatra: Containing an Account of the Government, Laws, Customs and Manners of the Native Inhabitants, with a Description of the Natural Productions, and a Relation of the Ancient Political State of That Island. pp. 4–10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 February 2017.
  16. "Penduduk Indonesia menurut Provinsi 1971, 1980, 1990, 1995, 2000 - 2023" [Indonesian Population by Provinces 1971, 1980, 1990, 1995, 2000 and 2010]. Badan Pusat Statistik (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  17. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  18. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  19. "Population Statistics". GeoHive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เกาะสุมาตรา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?