For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ฮาร์ปซิคอร์ด.

ฮาร์ปซิคอร์ด

เครื่อง "ฮาร์ปซิคอร์ด" ผลิตโดยช่างฝีมือฝรั่งเศสชื่อ Dumont

ฮาร์ปซิคอร์ด หรือ คลาวิเชมบาโล (อิตาลี: Clavicembalo, ฝรั่งเศส: Clavecin, เยอรมัน: Cembalo, อังกฤษ: harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตกประเภทแป้นดีดหรือคีย์บอร์ด ซึ่งได้รับความนิยมจนถึงสมัยปลายยุคบาโรค ก่อนที่เปียโนจะเข้ามาได้รับความนิยมแทนที่ ฮาร์ปซิคอร์ดถูกจัดให้เป็นเครื่องดีดสาย (plucked-string instrument) ที่คาดว่าได้รับการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณและกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้ตัวเดือย (plectrum) เกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาดและความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่าง ๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้แป้นดีดหรือคีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่นเปียโน (Piano) เพียงแต่ฮาร์ปซิคอร์ดสามารถติดตั้งคีย์บอร์ดได้มากกว่า 1 ชั้น เหมือนกับออร์แกน (Organ) โดยมีกลไกที่สามารถทำให้คีย์บอร์ดทั้งสองชั้นเล่นประสานเสียงพร้อมกันได้ ทำให้แม้ว่าผู้เล่นไม่สามารถควบคุมความดัง-ค่อยของเสียง (dynamics) ได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่ก็สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง

ฮาร์ปซิคอร์ดปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกราวปลายศตวรรษที่ 14 และได้รับความนิยมต่อมาอีกตลอดสามศตวรรษ จนกระทั่งเปียโนได้รับความนิยมแทนที่ในฐานะอุปกรณ์คีย์บอร์มาตรฐานในราวช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ด้วยเหตุผลที่เปียโนมีขนาดใหญ่และมีเสียดังกังวานกว่า (เพราะมีกระดานเสียงหรือซาวน์บอร์ดที่หนากว่า) ทั้งยังสามารถควบคุมความหนัก-เบาของเสียงได้เพราะเปียโนใช้กลไกแบบค้อน (hammer) ที่ถูกดีดให้ไปกระทบกับสายโลหะ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของการแสดงคอนเสิร์ตในห้องโถงขนาดใหญ่

เนื่องจากฮาร์ปซิดคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ศตวรรษ คีตกวีผู้เลื่องชื่อนับตั้งแต่สมัยก่อนยุคบาโรคจนถึงต้นสมัยของยุคคลาสสิคต่างก็ได้ประพันธ์ผลงานอมตะไว้ให้แก่ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นจำนวนมาก ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องฮาร์ปซิคอร์ดอย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวมีคีตกวีและประพันธ์กรผู้เรืองนามจำนวนมากได้รจนาเพลงไว้ให้บรรเลงด้วยฮาร์ปซิคอร์ดโดยเฉพาะ เช่น บัค แฮนเดิล สกาลัตติ คูโน โดยแต่ละท่านได้รจนาบทเพลงไว้มากมาย โดยเฉพาะสกาลัตตีได้แต่เพลงประเภท โซนาตา ไว้เป็นจำนวนมากกว่าห้าร้อยบทเพลง และเป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคการเล่นอย่างสูง สำหรับประเภทวง เครื่องดนตรีนี้สามารถเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้ โดยวงมโหรีหรือออเครสตราในยุคนั้นได้กำหนดให้มีการเล่นดนตรีประกอบจังหวะประเภท "บาสโซคอนทินิวโอ" (Basso Continuo) ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเครื่องดนตรีเบสอย่างเดียว แต่รวมถึงการเล่นคอร์ดเสริมทำนองเพลงด้วย และได้มีการใส่สัญลักษณ์เป็นตัวเลขเอาไว้เพื่อให้ฮาร์ปซิคอร์ดเล่นประกอบด้วย ถ้าจะเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรีในปัจจุบันแล้ว ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเหมือนกับเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ซึ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะของผู้เล่นเครื่องดนตรีอื่น และที่สำคัญที่สุด ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ในสมัยบาโรค ก็มักจะนั่งประจำที่ฮาร์ปซิคอร์ดด้วย ตัวอย่างเพลงที่สำคัญของเครื่องดนตรีนี้ได้แก่ บทเพลงประเภท ออเครสตราสวิท (Orchestra Suite) ของบาค และ เฮนเดล บราเดนบวกคอนแซโต (Brandenburg Concerto) โดยเฉพาะหมายเลขห้า มีความพิเศษที่บาคนำฮาร์ปซิคอร์ดมาเป็นเครื่องดนตรีโซโลเพื่อฉลองให้กับฮาร์ปซิคอร์ดตัวใหม่ของเขาด้วย

ฮาร์ปซิคอร์ดเรื่อมเสื่อมความนิยมไป และถูกแทนที่โดยฟอร์เต้-เปียโน (เปียโนสมัยแรก) ตั้งแต่ราวต้นศตวรรษที่ 19 เพราะห้องโถงแสดงคอนเสิร์ตในยุดนั้นต้องการเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังกว่า ทำให้ผู้คนหลงลืมเครื่องดนตรีนี้ไปจนเกือบหมดสิ้น เพราะเมื่อมีการสร้างสื่อบันทึกเสียงขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ก็ไม่มีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดแล้ว ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินเสียงเครื่องดนตรีชนิดนี้ จนกระทั่งเกิดกระแสปลุกความนิยมในเครื่องดนตรีประวัติศาสตร์ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 ทำให้พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาฮาร์ปซิคอร์ดไว้นำเครื่องดนตรีเหล่านี้มาบูรณะใหม่ และมีการบันทึกเสียงการแสดงของศิลปินที่นำบทเพลงของคีตกวีชื่อดังเช่น บัค หรือสกาลัตติ มาบรรเลงด้วยเครื่องฮาร์ปซิคอร์ด ในปัจจุบันก็ยังมีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดกันอยู่เมื่อมีการเล่นดนตรีบาโรคเพราะเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และเทคนิคการเล่นที่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีอื่นมาทดแทนได้

อ้างอิง

[แก้]
  • Boalch, Donald H. (1995) Makers of the Harpsichord and Clavichord, 1440-1840, 3rd ed., with updates by Andreas H. Roth and Charles Mould, Oxford University Press, ISBN 0-19-318429-X. A catalogue, originating with work by Boalch in the 1950's, of all extant historical instruments.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ฮาร์ปซิคอร์ด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?