For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อิเหนา.

อิเหนา

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม
บุษบา ตัวละครจากอิเหนา ภาพโดยเหม เวชกร

เรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนาของชวาถวาย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเป็นบทละครสำหรับใช้แสดงละครรำ ในตอนท้ายของบทพระราชนิพนธ์ได้อ้างถึงเรื่องอิเหนาในสมัยอยุธยาว่า

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง        สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ

นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้

ร้องเรื่องระเด่นโดย        บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรรณ- พตร่วมฤดีโลม ฯ

เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่

เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20–21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี

ตอนในเรื่องอิเหนา

[แก้]
นักแสดงโขนสวมปันจุเหร็จ เข้าใจว่าเป็นการแสดงอิเหนา

ตามสมุดภาพ มี 20 ตอน

  1. อิเหนาพบจินตะหราวาตี
  2. อิเหนารบกับท้าวบุศสิหนา
  3. อิเหนาได้นางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี
  4. ช่างเขียนลอบวาดรูปบุษบา
  5. วิหยาสะกำสลบบนหลังม้า
  6. ท้าวกะหมังกุหนิงเคลื่อนทัพ
  7. อิเหนาจากจินตะหราวาตี
  8. อิเหนายกทัพจากหมันหยา
  9. อิเหนารบท้าวกระหมังกุหนิง
  10. อิเหนาพบบุษบา
  11. อิเหนาไม่ยอมกลับเมือง
  12. อิเหนาทำเหตุในวิหารพระปฏิมา
  13. อิเหนาแต่งถ้ำ
  14. อิเหนาเผาเมือง
  15. อิเหนาได้บุษบา
  16. อิเหนาแก้สงสัย
  17. ลมหอบ
  18. อิเหนามะงุมมะหงาหราเข้ามะละกา
  19. อิเหนาบวช
  20. อิเหนาพบบุษบา

อิเหนาในภาษาไทย

[แก้]

นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยก็ได้แต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาหลายสำนวนด้วยกัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก และน่าแปลกใจที่พบว่ามีอิเหนาในภาษาไทยกว่าสิบสำนวน ดังนี้

  1. บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มีอยู่ตอนเดียว เข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า
  2. อิเหนาคำฉันท์. งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
  3. บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  4. บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  5. บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  6. บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2
  7. นิราศอิเหนา. ของสุนทรภู่ ตอนลมหอบ
  8. บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัยรัชกาลที่ 3
  9. อิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนอุณากรรณ
  10. อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา
  11. บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท
  12. บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอนศึกกระหมังกุหนิง
  13. บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน
  14. บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี
  15. หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู
  16. อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล
  17. ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง
  18. เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม

อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมาก แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย นิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

จากเนื้อเรื่อง อิเหนามีความเห็นเกี่ยวกับการกระทำของจรกาและวิหยาสะกำเกี่ยวกับการหลงรัก และแย่งชิงนางบุษบา ว่าเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ แต่เมื่ออิเหนาเห็นนางบุษบาหลังจากเสร็จศึกกะหมังกุหนิงก็หลงรักนางบุษบาไม่ต่างจากจรกาและวิหยาสะกำ เมื่อผู้คนเสพวรรณคดีเรื่องอิเหนา ก็นำมาสร้างเป็นสำนวนไทยว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง หมายถึงการกระทำของบุคคลหนึ่ง ที่ตำหนิ สั่งสอนผู้อื่นว่าการกระทำของผู้นั้นเป็นสิ่งที่ผิด แต่ตนก็กลับทำเองในภายหลัง ซึ่งมาจากการกระทำของอิเหนานั้นเอง เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสพวรรณคดีกับวรรณคดีไทย ทั้งด้านการซึมซับเนื้อหาในเรื่อง และการนำเนื้อหานั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสารความคิดในชีวิตประจำวัน

เอกสารอ่านเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อิเหนา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?