For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อำเภอระแงะ.

อำเภอระแงะ

อำเภอระแงะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ra-ngae
คำขวัญ: 
ระแงะเมืองพระยา
ลองกองล้ำค่า ประชามีน้ำใจ
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอระแงะ
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอระแงะ
พิกัด: 6°17′47″N 101°43′42″E / 6.29639°N 101.72833°E / 6.29639; 101.72833
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด435.6 ตร.กม. (168.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด94,050 คน
 • ความหนาแน่น215.91 คน/ตร.กม. (559.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96130,
96220 (เฉพาะตำบลบองอ)
รหัสภูมิศาสตร์9605
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอระแงะ ถนนระแงะมรรคา ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 96130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

ประวัติ

[แก้]

อำเภอระแงะ ตามประวัติศาสตร์เป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลทางการเมือง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา ( เถียนจ๋อง ) ออกไปทำการแยก เมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง พร้อมอัญเชิญตราตั้ง ออกไปพระราชทานแก่เมืองทั้งเจ็ดเรียกว่า “บริเวณ 7 หัวเมือง” ประกอบด้วยเมืองปัตตานีเมืองยะลา เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะโดยมีการแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองแต่ละเมือง เรียกว่าพระยาเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2355

  พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระปิยมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามบรรดาศักดิ์แก่เจ้าเมืองพระยาระแงะว่าพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา และเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย พ.ศ. 2444 ได้ประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ในการปกครองมอบหมายให้เจ้าเมืองปกครองดูแล โดยมีกองบัญชาการงานเมือง มีปลัดเมือง ยกกระบัตรผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง โดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ควบคุมดูแล ตรวจตรา แนะนำ ข้าราชการ และข้าราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการส่วนกลาง โดยยกเลิกการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง

เมืองระแงะจึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส และทรงโปรดเล้าฯแต่งตั้งนายหนิเดะ เป็นพระยาเมืองปกครอง และเมื่อนายหนิเดะได้ถึงแก่กรรม ตำแหน่งว่างลง จึงทรงโปรดแต่งตั้งให้นายหนิบอสูเป็นผู้รักษาราชการแทนสืบต่อเนื่องมาจนกระทั่งมีการโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 หัวเมืองโดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล  และให้ 7 หัวเมืองอยู่ในความ ปกครองของเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือแค่เพียง 4 หัวเมือง และให้ขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี คือ (1) เมืองปัตตานี  ประกอบด้วย หนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี  (2) เมืองยะลา  ประกอบด้วย  รามัน  และเมืองยะลา  (3) เมืองสายบุรี  (4) เมืองระแงะ

พ.ศ. 2450 ได้ย้ายที่ว่าการเมืองระแงะ ที่ตำบลบ้านตันหยงมัสไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านมะนารออำเภอบางนรา  และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา ส่วนเมืองระแงะเดิมนั้นให้เป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา โดยยกฐานะ “บ้านตันหยงมัส” เป็น “อำเภอเมืองระแงะ”

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ชุมชนตันหยงมัส ได้เจริญและขยายตัวเมือง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก“ อำเภอเมืองระแงะ” เป็น “อำเภอตันหยงมัส” และในปี พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอตันหยงมัส” เป็น “อำเภอระแงะ” จนถึงปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 21 เมษายน 2450 โอนอำเภอบางนรา แขวงเมืองสายบุรี มาขึ้นกับแขวงเมืองระแงะ[2]
  • วันที่ 28 กันยายน 2456 แยกพื้นที่ตำบลเรียง ตำบลบาตง ตำบลสาคอ ตำบลต่อหลัง ตำบลมะยูง ตำบลรือเสาะ ตำบลลาเมาะ และตำบลลาโละ อำเภอเมืองระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอตำมะหงัน ตั้งที่ว่าการกิ่งที่บ้านตำมะหงัน และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองระแงะ[3]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็น อำเภอตันหยงมัส และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอตำมะหงัน อำเภอเมืองระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็น กิ่งอำเภอรือเสาะ[4]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดยะลา กับจังหวัดนราธิวาส โอนพื้นที่ตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง และตำบลสาวอ อำเภอโกตาบารู จังหวัดยะลา ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอรือเสาะ อำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส[5]
  • วันที่ 16 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในตอนนั้น) จากตำบลบูกิต ไปขึ้นกับตำบลจวบ และโอนพื้นที่หมู่ 1-4 (ในตอนนั้น) จากตำบลกานัวะ ไปขึ้นกับตำบลกาลิซา และยุบพื้นที่ตำบลกานัวะ[6]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส เป็น อำเภอระแงะ[7]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2482 ยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ เป็น อำเภอรือเสาะ ให้มีเขตการปกครองได้แก่ ตำบลรือเสาะ ตำบลลาโละ ตำบลบาตง ตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง ตำบลซากอ ตำบลตะมะยูง ตำบลเรียง และตำบลสาวอ[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลจวบ แยกออกจากตำบลบูกิต ตำบลมะรือโบออก และตำบลตันหยงลิมอ ตั้งตำบลเฉลิม แยกออกจากตำบลมะรือโบตก และตำบลบาโงสะโต[9]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลตันหยงมัส ในท้องที่บางส่วนของตำบลตันหยงมัส[10]
  • วันที่ 16 กันยายน 2501 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลตันหยงมัส[11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2518 ตั้งตำบลดุซงญอ แยกออกจากตำบลจะแนะ[12]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 แยกพื้นที่ตำบลจะแนะ และตำบลดุซงญอ อำเภอระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอจะแนะ[13] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอระแงะ
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลผดุงมาตร แยกออกจากตำบลดุซงญอ[14]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ เป็น อำเภอจะแนะ[15]
  • วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลมะรือโบตก ในท้องที่บางส่วนของตำบลมะรือโบตก[16]
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลจวบ ตำบลบูกิต และตำบลมะรือโบออก อำเภอระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเจาะไอร้อง[17] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอระแงะ
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ เป็น อำเภอเจาะไอร้อง[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลตันหยงมัส และสุขาภิบาลมะรือโบตก เป็นเทศบาลตำบลตันหยงมัส และเทศบาลตำบลมะรือโบตก ตามลำดับ[19] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอระแงะตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอระแงะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตันหยงมัส (Tanyong Mat) 13 หมู่บ้าน
2. ตันหยงลิมอ (Tanyong Limo) 8 หมู่บ้าน
3. บองอ (Bo-ngo) 10 หมู่บ้าน
4. กาลิซา (Kalisa) 6 หมู่บ้าน
5. บาโงสะโต (Ba-ngo Sato) 8 หมู่บ้าน
6. เฉลิม (Chaloem) 7 หมู่บ้าน
7. มะรือโบตก (Maruebo Tok) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอระแงะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลตันหยงมัส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตันหยงมัส
  • เทศบาลตำบลมะรือโบตก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมะรือโบตก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงมัส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตันหยงมัส (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตันหยงมัส)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตันหยงลิมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบองอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาลิซาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโงสะโตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเฉลิมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรือโบตก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก)

รายนามเจ้าเมืองระแงะ

[แก้]
  1. พระยาระแงะ (หนิเดะ) Nik Dah
  2. พระยาระแงะ (หนิบอสู หรือตวันบอสู) Nik Bongsu
  3. พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังศา พระยาระแงะ (ตวันโหนะ) Tuan Nong
  4. พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังศา พระยาระแงะ (ตวันเหงาะ) Tuan Tengah [20] ลูกชายต่วนสุหลง พี่ชายต่างมารดาของต่วนโน๊ะ (ตวันโหนะ)
  5. พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา พระยาระแงะ (เต็งกูเงาะซำซูดิน) Tengku Ngah Shamsuddin

อ้างอิง

[แก้]
  1. อำเภอระแงะ - ประวัติอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกอำเภอกลาพอขึ้นเมืองสายบุรี และยกเขตอำเภอบางนราไปขึ้นเมืองระแงะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (3): 51–52. 21 เมษายน 2450.
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในเขตแขวงเมืองระแงะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1381–1382. 28 กันยายน 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3396–3397. 16 มกราคม 2481.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. 14 พฤศจิกายน 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะ ขึ้นอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอรือเสาะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 2075. 9 ตุลาคม 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ)152-153. 17 กันยายน 2498.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (72 ง): 2547–2548. 16 กันยายน 2501.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2482–2484. 7 ตุลาคม 2518.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งเป็นกิ่งอำเภอจะแนะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (114 ง): 2233. 12 กรกฎาคม 2526. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (118 ง): 4225–4229. 23 มิถุนายน 2530.
  15. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. 31 ธันวาคม 2530.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (43 ง): 5–7. 9 เมษายน 2536.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเจาะไอร้อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (74 ง): 15. 8 มิถุนายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  18. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  19. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  20. พงศาวดารเมืองปัตตานี พระยาวิเชียรคิรี(ชม) เมื่อยังเป็นพระยาสุนทรานุรักษ์ แต่ง
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อำเภอระแงะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?