For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อำเภอทองแสนขัน.

อำเภอทองแสนขัน

อำเภอทองแสนขัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thong Saen Khan
บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นแหล่งแร่เหล็กทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ และเป็นสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้
บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นแหล่งแร่เหล็กทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ และเป็นสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้
คำขวัญ: 
เหล็กน้ำพี้กล้าแกร่ง แหล่งถ้ำค้างคาว
ภูเขาหินอ่อน ลือกระฉ่อนผ้าทอ
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอทองแสนขัน
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอทองแสนขัน
พิกัด: 17°28′31″N 100°20′1″E / 17.47528°N 100.33361°E / 17.47528; 100.33361
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุตรดิตถ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด745.4 ตร.กม. (287.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด31,130 คน
 • ความหนาแน่น41.76 คน/ตร.กม. (108.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 53230
รหัสภูมิศาสตร์5309
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทองแสนขัน หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ 53230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทองแสนขัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของบ่อเหล็กน้ำพี้ซึ่งเป็นแหล่งแร่เหล็กที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศไทย เพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งเหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ในตัว[1] โดยจัดให้เหล็กน้ำพี้อยู่ในโลหะธาตุตระกูลเดียวกับ เหล็กไหล[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอทองแสนขันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้
บ่อพระแสง เป็นบ่อดินขนาดใหญ่ ลึก 10 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร เป็นบ่อที่มีคุณภาพของสินแร่ดีกว่าบ่ออื่นๆ ในบริเวณแหล่งแร่น้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อนี้สงวนไว้สำหรับทำพระแสงดาบถวายสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น จึงได้ชื่อว่า "บ่อพระแสง"

ประวัติ

[แก้]

จากตำนานพื้นบ้านเล่าว่า เคยมีชาวมอญมาตั้งรกรากอยู่ใกล้ ๆ บ้านแสนขัน ได้หนีมาจากขอมที่บุกรุก จากนั้นมาขอมก็ตามมารบกับมอญอีก ชาวมอญจึงมาหลบอยู่ที่บ้านแสนขัน เพราะว่าก่อนหน้านี้เขตบ้านแสนขันจะเป็นป่าทั้งหมด แต่ทั้งขอมและมอญก็อยู่ไม่ได้จึงได้หนีไป ปล่อยให้ที่บริเวณนี้เป็นที่ร้างอีก จากนั้นมาก็มีชาวไทยเดิมจากเวียงจันทน์ ได้ผ่านมาและเห็นว่าที่ดินบริเวณแห่งนี้มีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน ทำเลดี เหมาะที่จะตั้งรกรากทำมาหากิน จึงกลับไปชวนเพื่อนบ้าน 6–7 ครอบครัวเพื่อมาตั้งรกรากอยู่ที่นั่น โดยขณะนั้นยังไม่มีการเรียกชื่อหมู่บ้าน

หลังจากนั้นชาวหล่มสัก (เพชรบูรณ์) เลย นครไทย (พิษณุโลก) ทราบข่าวว่าที่อุตรดิตถ์จะมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ จึงได้เก็บเงินเรี่ยไรจากชาวบ้านได้เงินเป็นจำนวนแสนขัน แล้วจึงได้บรรทุกเงินแสนขันนั้นแบกใส่หลังช้าง ม้า วัว ควายมาตาม ๆ กัน และในขบวนนี้ก็จะมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคน เดินทางล่วงหน้าไปก่อนถึงบ้านบ่อทอง และทราบว่าวัดพระแท่นศิลาอาสน์นั้นได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้กลับไปบอกพรรคพวกที่บรรทุกทองมาให้นำไปฝังไว้ที่บ้านบ่อทอง ปัจจุบันได้ตั้งชื่อว่า "ทองแสนขัน" แต่ชาวบ้านได้เรียกสั้น ๆ ว่า "บ้านแสนขัน" มาจนถึงปัจจุบันนี้

เดิมท้องที่ที่เป็นอำเภอทองแสนขันรวมอยู่กับอำเภอตรอน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2517 ทางอำเภอตรอนต้องการที่จะแยกท้องที่ดังกล่าวเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอีกแห่งหนึ่ง จึงขอแยกท้องที่ตำบลป่าคายซึ่งเป็นตำบลใหญ่ออกเป็น 2 ตำบล โดยเรียกชื่อตำบลที่แยกออกมาว่า "ตำบลบ่อทอง"[3] เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้แยกตำบลได้แล้ว ทำให้อำเภอตรอนซึ่งเดิมประกอบด้วยเขตการปกครองตำบล 7 ตำบล คือ ตำบลบ้านแก่ง ตำบลหาดสองแคว ตำบลน้ำอ่าง ตำบลวังแดง ตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง ตำบลป่าคาย เพิ่มขึ้นเป็น 8 ตำบล เข้าหลักเกณฑ์ที่ขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2523 จึงได้รายงานขอแยกท้องที่ คือ ตำบลผักขวง ตำบลน้ำพี้ ตำบลป่าคาย และตำบลบ่อทอง ออกจากอำเภอตรอนขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอ และกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอทองแสนขัน[4] และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า กิ่งอำเภอทองแสนขันมีท้องที่กว้างขวางมีชุมชนการค้าหนาแน่น มีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมากสมควรยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครองการให้บริการของรัฐบาลและความสะดวกของประชาชนและส่งเสริมท้องที่ให้เจริญยิ่งขึ้นจึงตราพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 จัดตั้ง อำเภอทองแสนขัน[5] โดยให้มีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่วันถัดไป

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอทองแสนขันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[6]
1. ผักขวง Phak Khuang
16
8,556
2. บ่อทอง Bo Thong
15
11,470
3. ป่าคาย Pa Khai
9
5,487
4. น้ำพี้ Nam Phi
9
5,362

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอทองแสนขันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลทองแสนขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 9–10, 12
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผักขวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักขวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง เฉพาะหมู่ที่ 4–8, 11, 13–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 9–10, 12
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำพี้ทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมิธ, เฮอร์เบิร์ท วาริงตัน. (2544). บันทึกการเดินทางสู่แม่น้ำโขงตอนบนประเทศสยาม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. หน้า 21-22
  2. ประภาพร พูลสุข. รายงานฐานข้อมูลท้องถิ่นอุตสาหกรรมเหล็กน้ำพี้และแหล่งท่องเที่ยวบ่อเหล็กน้ำพี้ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, ๒๕๕๐
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (189 ง): 4166–4169. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทองแสนขัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (109 ง): 2134. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก พิเศษ): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
  6. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อำเภอทองแสนขัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?