For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาลากาชู.

อาลากาชู

หญิงคนหนึ่ง (คนแรกจากด้านขวา) และชายสี่คนบนหลังม้าซึ่งเตรียมจะ "ลักพาตัว" เธอในทุ่งหญ้าสเตปป์คีร์กีซระหว่าง ค.ศ. 1871–1872

อาลากาชู (คีร์กีซ: ала качуу; แปลว่า รวบแล้วหนี) เป็นรูปแบบหนึ่งของการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในประเทศคีร์กีซสถาน[1] ศัพท์นี้สามารถใช้ได้กับการกระทำที่หลากหลายตั้งแต่การพากันหนีโดยยินยอมไปจนถึงการลักพาตัวโดยไม่ได้รับความยินยอม[2] และระดับหรือขนาดของ "การลักพาตัว" ที่เกิดขึ้นจริงนั้นยังเป็นที่โต้เถียง แหล่งข้อมูลบางแห่งชี้ว่า ปัจจุบันเจ้าสาวจำนวนอย่างน้อยหนึ่งในสามของคีร์กีซสถานมาจากการพาตัวไปโดยไม่เต็มใจ[3]

วิธีการแบบฉบับของอาลากาชูที่ไม่ได้เกิดจากความยินยอมได้แก่การที่ชายหนุ่มลักพาตัวหญิงสาวไปไม่ว่าจะด้วยการใช้กำลังหรือด้วยกลอุบาย โดยมักมีเพื่อนหรือญาติผู้ชายติดตามไปด้วย พวกเขาจะพาเธอไปที่บ้านของครอบครัวชายคนนั้นแล้วขังเธอไว้ในห้อง ญาติผู้หญิงของชายคนนั้นจะโน้มน้าวให้เธอสวมผ้าคลุมศีรษะของหญิงที่แต่งงานแล้วเพื่อเป็นเครื่องแสดงการยอมรับ บางครั้งถ้าหญิงคนนั้นไม่ฟังคำเกลี้ยกล่อมและยืนยันความปรารถนาที่จะกลับบ้าน ญาติของเธอเองก็จะพยายามโน้มน้าวให้เธอเห็นด้วยกับการแต่งงาน

อาลากาชูถูกระงับไปในสมัยโซเวียต แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต วิถีปฏิบัตินี้ก็เริ่มกลับมาอีกครั้ง มีรายงานที่ขัดแย้งกันว่าอาลากาชูยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบดั้งเดิมหรือไม่ แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่า วิถีปฏิบัตินี้แต่เดิมเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการพากันหนี ไม่ใช่การขโมยตัวหญิงสาว บางครั้งการลักพาตัวอาจเป็นเพียงธรรมเนียมการแต่งงานอย่างหนึ่งซึ่งหญิงคนนั้นร่วมปฏิบัติด้วยความเต็มใจ บางคนถือว่าการถูกลักพาตัวนั้นเป็นเกียรติเพราะแสดงให้เห็นว่าหญิงคนนั้นมีค่าพอที่จะเป็นภรรยา[4]

แม้ว่าการลักพาตัวเจ้าสาวจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในคีร์กีซสถาน แต่รัฐบาลคีร์กีซสถานก็ถูกกล่าวหาว่าไม่ดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อปกป้องผู้หญิงจากวิถีปฏิบัตินี้[5][6]

ความเป็นมา

[แก้]

ความเป็นมาของการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวในคีร์กีซสถานยังคงเป็นประเด็นโต้เถียง อำนาจปกครองของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมาทำให้วิถีปฏิบัติโบราณของชนร่อนเร่ต่าง ๆ กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตซึ่งตามมาด้วยการประกาศเอกราชของชาติในเอเชียกลาง หลายชาติได้รื้อฟื้นขนบธรรมเนียมเก่า ๆ เพื่อยืนยันเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตน[7] การปฏิเสธการลักพาตัวมักถูกมองว่าเป็นการปฏิเสธเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมคีร์กีซ[8] วิถีปฏิบัตินี้ยังเกี่ยวข้องกับการแสดงความเป็นชาย[9] การศึกษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ท้าทายคำกล่าวอ้างที่ว่าการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวเป็นที่แพร่หลายในสมัยโบราณ การศึกษาของบรรดานักประวัติศาสตร์คีร์กีซและรัสเซิล ไคลน์บาก นักวิชาการฟุลไบรต์ ชี้ให้เห็นว่า การลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวพบได้น้อยในสมัยก่อนโซเวียตและมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 20[10] อัตราการลักพาตัวเจ้าสาวที่เพิ่มขึ้นนี้อาจเกี่ยวโยงกับความขัดสนในการจ่ายสินสอด[11]

ความชุก

[แก้]

ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งคือคำถามว่าอาลากาชูเกิดขึ้นบ่อยเพียงใด การสํารวจข้อมูลเหยื่ออาชญากรรมครั้งล่าสุดในคีร์กีซสถาน (ค.ศ. 2015) ได้รวมความผิดอาญาฐานลักพาตัวหญิงสาวไปแต่งงานไว้ด้วย ร้อยละ 14 ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วตอบว่าพวกเธอถูกลักพาตัวมาในขณะนั้น และสองในสามของกรณีเหล่านี้เกิดจากความยินยอม โดยฝ่ายหญิงรู้จักฝ่ายชายมาก่อนและตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้ว หมายความว่าประมาณร้อยละ 5 ของการแต่งงานในคีร์กีซสถานปัจจุบันเป็นกรณีอาลากาชู[12] การศึกษาด้วยระเบียบวิธีเดียวกันนี้ในคาซัคสถานเมื่อ ค.ศ. 2018 พบว่าประมาณร้อยละ 1–1.5 ของการแต่งงานในคาซัคสถานปัจจุบันเป็นผลมาจากอาลากาชู[13]

การศึกษาโดยนักวิจัยรัสเซิล ไคลน์บาก พบตัวเลขสูงกว่านั้น กล่าวคือ ประมาณครึ่งหนึ่งของการแต่งงานทั้งหมดของชาวคีร์กีซเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาว และสองในสามของการลักพาตัวเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความยินยอม[14]

ค่าสินสอด

[แก้]

จากการศึกษาใน ค.ศ. 1992 ค่าสินสอดของเจ้าสาวชาวดุงกานอยู่ระหว่าง 240–400 รูเบิล ชายชาวดุงกานที่ยากจนจึงหาเจ้าสาวที่เป็นชาวคีร์กีซ หรือแต่งงานกับหญิงชาวตาตาร์หรือชาวซาร์ต (หมายถึงผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์ใดก็ตามที่ตั้งรกรากในเมืองแทนที่จะร่อนเร่อย่างบรรพชน) นอกจากนี้ ชาวดุงกานยังแอบลักพาตัวหญิงสาวชาวคีร์กีซไปเป็นเจ้าสาวอีกด้วย[15]

ความถูกต้องตามกฎหมาย

[แก้]

แม้จะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[16] แต่อาลากาชูก็เป็นวิธีหาคู่ครองวิธีหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในพื้นที่ชนบทหลายแห่งของคีร์กีซสถาน[17] ประเด็นนี้ค่อนข้างเป็นที่สับสนจากการใช้ศัพท์ "ลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาว" ของคนในท้องถิ่นเพื่อหมายถึงวิธีปฏิบัติในหลายระดับตั้งแต่การลักพาตัวโดยใช้กำลังและการข่มขืน ไปจนถึงลักษณะที่คล้ายกับการพากันหนีซึ่งมาจากความร่วมมือของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และพ่อแม่ของทั้งสองจำต้องยินยอมหลังเกิดเหตุ

ผู้ลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวมักไม่ค่อยถูกดำเนินคดี ความไม่เต็มใจที่จะบังคับใช้กฎหมายในประเด็นนี้ส่วนหนึ่งมาจากระบบกฎหมายแบบพหุนิยมในคีร์กีซสถาน กล่าวคือ หมู่บ้านหลายแห่งมีสภาผู้อาวุโสปกครองตามกฎหมายจารีตประเพณีโดยพฤตินัยและอยู่ห่างไกลจากระบบกฎหมายของรัฐ[18] ศาลของสภาผู้อาวุโสซึ่งได้รับมอบหมายให้ชี้ขาดตัดสินคดีครอบครัว ทรัพย์สิน และการละเมิดมักไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวอย่างจริงจัง ในหลายกรณี สมาชิกสภาได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานแต่งงานของเจ้าสาวที่ถูกลักพาตัวและยังสนับสนุนให้ครอบครัวของเจ้าสาวยอมรับการแต่งงาน[19]

ตัวอย่าง

[แก้]

ในรูปแบบหนึ่งของการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวในคีร์กีซสถาน ฝ่ายชายตัดสินใจว่าเขาต้องการแต่งงานและขอให้พ่อแม่ของเขาเลือกเจ้าสาวที่เหมาะสมให้ หรือพ่อแม่บอกกับเขาว่าถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องลงหลักปักฐานและพวกเขาได้พบคนที่มีภูมิหลังและคุณลักษณะเหมาะสม (การลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวอาจคล้ายกับการคลุมถุงชนในแง่นี้ แต่การเตรียมการเกิดขึ้นจากฝ่ายเดียว) ฝ่ายชายและญาติหรือเพื่อนผู้ชายของเขาจะร่วมกันลักพาตัวฝ่ายหญิง (ในสมัยร่อนเร่กระทำบนหลังม้า ปัจจุบันมักใช้รถยนต์) และพาเธอไปที่บ้านของครอบครัว เมื่อถึงที่นั่น ญาติผู้หญิงของฝ่ายชายจะพยายามโน้มน้าวให้ฝ่ายหญิงยอมรับการแต่งงานและพยายามโพกผ้าสีขาวบนศีรษะของเธอเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงการตกลงยินยอม[20] พวกเขาอาจเกลี้ยกล่อมโดยชี้ให้เห็นข้อดีต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตฉันผัวเมียเพื่อแสดงให้เห็นว่าเธอจะได้อะไรบ้างจากการเข้าเป็นสมาชิกครอบครัว หลายครอบครัวอาจใช้กำลังหรือขู่ว่าจะสาปแช่งฝ่ายหญิงหากเธอไม่ยินยอม ซึ่งเป็นการขู่ที่มักได้ผลในประเทศที่มีความเชื่อเรื่องโชคลาง[21] บางครอบครัวจะกักขังเธอเป็นเวลาหลายวันเพื่อให้เริ่มใจอ่อน ในขณะที่บางครอบครัวจะปล่อยเธอไปหากเธอยังคงต่อต้าน ตัวอย่างเช่น เธออาจไม่ยอมนั่งลงหรือไม่ยอมกินอาหารซึ่งเป็นสัญญาณว่าเธอกำลังปฏิเสธการต้อนรับของพวกเขา ในช่วงเวลานี้ ฝ่ายชายมักไม่ได้พบฝ่ายหญิงจนกว่าเธอจะตกลงแต่งงานหรืออย่างน้อยก็ตกลงที่จะอยู่ในบ้านต่อไป ครอบครัวของหญิงที่ถูกลักพาตัวอาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน โดยอาจขอให้ฝ่ายหญิงอยู่ในบ้านของฝ่ายชายต่อไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาเชื่อว่าการแต่งงานครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายหญิงและครอบครัวของเธอ) หรือคัดค้านการแต่งงานด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานาและช่วยปลดปล่อยฝ่ายหญิง[22]

ในรูปแบบอื่น ๆ ของการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวในคีร์กีซสถานและพื้นที่อื่น ๆ ของเอเชียกลาง ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอาจไม่ได้รู้จักกันมาก่อนที่จะมีการลักพาตัว[23] บางครั้งแทนที่เจ้าบ่าวและครอบครัวจะเลือกหญิงคนใดคนหนึ่งเป็นเป้าหมายเฉพาะ พวกเขากลับตัดสินใจเลือกครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งแทน ด้วยวิธีนี้ทำให้พวกเขาสามารถลักพาตัวพี่สาวหรือน้องสาวมาแทนได้หากหญิงที่พวกเขาต้องการไม่อยู่บ้านในขณะนั้น[24] เช่นเดียวกับในสังคมอื่น ๆ ชายที่ต้องพึ่งการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวมักไม่เป็นที่พึงปรารถนาทางสังคมด้วยเหตุผลหลายประการ พวกเขาอาจมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง มีประวัติอาชญากรรม หรือเป็นผู้ใช้สารเสพติด[25]

ในกระบวนการลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวบางครั้งอาจมีการข่มขืนด้วย[26] และแม้ว่าจะไม่มีการร่วมเพศเกิดขึ้นจริง แต่เมื่อฝ่ายหญิงถูกขังค้างคืนแม้เพียงคืนเดียว ความบริสุทธิ์ของเธอก็จะตกเป็นที่เคลือบแคลง เมื่อเกียรติของเธอเสื่อมเสียไปแล้วตามความเชื่อในวัฒนธรรมนั้น เธอก็จะเหลือทางเลือกอื่น ๆ น้อยมากสำหรับการแต่งงาน ดังนั้นหลังจากถูกขังไว้หนึ่งคืน ฝ่ายหญิงจึงมักถูกกดดันจากวัฒนธรรมให้แต่งงานกับฝ่ายชาย[21] มลลักษณ์ทางสังคมผูกติดอยู่กับการปฏิเสธที่จะแต่งงานหลังจากถูกลักพาตัวแนบแน่นเสียจนทำให้หญิงที่ถูกลักพาตัวมักรู้สึกว่าเธอไม่มีทางเลือกนอกจากการยินยอม และบางคนที่ไม่ยอมรับก็ถึงกับฆ่าตัวตายหลังการลักพาตัว[27]

ตามข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ณ กรุงบิชเคก มีหญิงชาวอเมริกันสองคนถูกลักพาตัวไปเป็นเจ้าสาวในชนบทของคีร์กีซสถานเมื่อ ค.ศ. 2007 หนึ่งในสองคนนี้ถูกขังไว้เป็นเวลาหลายวันก่อนจะหนีออกมาได้[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Noriko Hayahi (November 4, 2013). "Grab and Run: Kyrgyzstan's Bride Kidnappings". newsweek.com.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2013-09-11.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. Smith, Craig S. (April 30, 2005). "Abduction, Often Violent, a Kyrgyz Wedding Rite". The New York Times.
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. [1]
  7. Human Rights Watch, Reconciled to Violence: State Failure to Stop Domestic Abuse and Abduction of Women in Kyrgyzstan, pp. 87-88, http://hrw.org/reports/2006/kyrgyzstan0906/kyrgyzstan0906webwcover.pdf; Handrahan, pp. 212-213.
  8. Hanrahan, p. 222.
  9. International Human Rights Law and Bride Kidnapping in Kyrgyzstan, http://www.eurasianet.org/departments/insight/articles/eav012400.shtml เก็บถาวร 2016-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Handrahan, p. 222.
  10. Russ Kleinbach & Lilly Salimjanova, Kyz ala kachuu and adat: Non-consensual bride kidnapping and tradition in Kyrgyzstan, Central Asian Survey, (June 2007) 26:2, 217 - 233, at 230, available at "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-18.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์).
  11. Aijan Rakhimdinova, Kyrgyz Bride Price Controversy, Institute of War and Peace Reporting, Dec. 22, 2005, http://www.iwpr.net/?p=wpr&s=f&o=258820&apc_state=henpwpr
  12. Gorby, Kyrgyzstan Public Safety Survey, Civil Union “For Reforms and Results” (2015) page 30-31 http://wp.unil.ch/icvs/news/information-and-data-from-kyrgyzstan/ เก็บถาวร 2019-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Van Dijk, J.J.M., Van Kesteren, J.N., Trochev, A. & Slade, G. (2018 final draft) Criminal Victimization in Kazakhstan in an international perspective; new findings from the International Crime Victims Survey. NI-CO, Astana, Belfast. https://sites.google.com/view/icvs-crime/homepage/recentadditions/kazakhstan[ลิงก์เสีย]
  14. Kleinbach & Salimjanova, Kyz ala kachuu and adat: Non-consensual bride kidnapping and tradition in Kyrgyzstan, Central Asian Survey, (June 2007) 26:2, 217 - 233.
  15. Asian Folklore Institute, Society for Asian Folklore, Nanzan Daigaku. Jinruigaku Kenkyūjo, Nanzan Shūkyō Bunka Kenkyūjo (1992). Asian folklore studies, Volume 51. Nanzan University Institute of Anthropology. p. 256. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.((cite book)): CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Bride kidnapping is criminalized in Article 155 of the Criminal code. See Russ Kleinbach & Lilly Salimjanova, Kyz ala kachuu and adat: Non-consensual bride kidnapping and tradition in Kyrgyzstan, Central Asian Survey, (June 2007) 26:2, 217 - 233, available at "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-18.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์).
  17. United States State Department, Kyrgyz Republic: Country Reports on Human Rights Practices - 2007, March 11, 2008.
  18. See Judith Beyer, Kyrgyz Aksakal Courts: Pluralistic Accounts of History, Journal of Legal Pluralism, 2006; Handrahan, pp. 212-213.
  19. Human Rights Watch, Reconciled to Violence, p. 106
  20. PBS, Kyrgyzstan: The Kidnapped Bride, https://www.pbs.org/frontlineworld/stories/kyrgyzstan/thestory.html; Handrahan, Lori, Hunting for Women, International Feminist Journal of Politics, 6:2,(2004) pp. 207 — 233, at 209; Alex Rodriguez, Kidnapping a Bride Practice Embraced in Kyrgyzstan, Augusta Chronicle, July 24, 2005.
  21. 21.0 21.1 Craig S. Smith, Abduction, Often Violent, a Kyrgyz Wedding Rite, N.Y. Times, April 30, 2005.
  22. Human Rights Watch, Reconciled to Violence: State Failure to Stop Domestic Abuse and Abduction of Women in Kyrgyzstan, p. 86, http://hrw.org/reports/2006/kyrgyzstan0906/kyrgyzstan0906webwcover.pdf
  23. Human Rights Watch, Reconciled to Violence: State Failure to Stop Domestic Abuse and Abduction of Women in Kyrgyzstan, p. 91, http://hrw.org/reports/2006/kyrgyzstan0906/kyrgyzstan0906webwcover.pdf; Craig S. Smith, Abduction, Often Violent, a Kyrgyz Wedding Rite, N.Y. Times, April 30, 2005.
  24. Luong, Pauline Jones. The transformation of Central Asia : states and societies from Soviet rule to independence. Ithaca: Cornell University Press, 2004.
  25. See Rodriguez, Kidnapping a Bride Practice Embraced in Kyrgyzstan.
  26. Human Rights Watch, Reconciled to Violence: State Failure to Stop Domestic Abuse and Abduction of Women in Kyrgyzstan
  27. Burulai Pusurmankulova, Bride Kidnapping: Benign Custom Or Savage Tradition?, June 15, 2004, Voice Of Freedom Initiative Of The Human Rights Working Group, "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-23. สืบค้นเมื่อ 2007-02-25.((cite web)): CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  28. Warden Message, United States Embassy, Kyrgyzstan, http://bishkek.usembassy.gov/december_10_2007.html เก็บถาวร 2010-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาลากาชู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?