For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี.

อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี

“ภาพเหมือนตนเอง” (ราว ค.ศ. 1630)

อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ (ภาษาอังกฤษ: Artemisia Gentileschi) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1593 - ค.ศ. 1651/1653) เป็นจิตรกรบาโรกสมัยต้นของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาร์เทมิเซียเกิดที่กรุงโรมและเสียชีวิตที่เนเปิลส์มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรคนสำคัญคนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ และเป็นจิตรกรในสมัยที่ผู้หญิงยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักเขียนภาพ อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรหญิงคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti Firenze) และเป็นสตรีคนแรกที่เขียนภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และศาสนาในสมัยที่หัวข้อเช่นนี้เชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่เกินกว่าผู้หญิงจะเข้าใจได้

ชีวิต

[แก้]
“จูดิธตัดหัวโฮโลเฟอร์เนส”
“ซูซานนากับผู้สูงอายุ” (Susanna and the Elders) พิพิธภัณฑ์เชินบอร์น, พอมเมอร์สเฟลเด็น

อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิเกิดที่โรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1593 เป็นลูกคนแรกของจิตรกร โอราซิโอ เจ็นทิเลสชิ (Orazio Gentileschi) ผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญของตระกูลการเขียนแบบคาราวัจโจ อาร์เทมิเซียได้รับการฝึกการเขียนเบื้องต้นภายในเวิร์คช็อพของพ่อ และมีฝีมือดีกว่าน้องชายที่ฝึกงานด้วยกัน ในเมื่อพ่อของอาร์เทมิเซียได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ เธอเองจึงได้รับอิทธิพลตามไปด้วย และวิธีการเขียนของเธอต่างกับพ่อ

งานชิ้นแรกของอาร์เทมิเซียเขียนเมื่ออายุ 17 ปึ (ซึ่งเป็นที่สงสัยกันว่าได้รับความช่วยเหลือจากพ่อ) คือ “ซูซานนากับผู้สูงอายุ” (Susanna e i Vecchioni) ที่เขียนเมื่อ ปี ค.ศ. 1610 เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าอาร์เทมิเซียใช้ความเหมือนจริงเช่นคาราวัจโจแต่ก็มิได้ละทิ้งแบบการเขียนของโบโลนยาที่รวมทั้งจิตรกรอันนิบาเล คารัคชีไปเสียทั้งหมด

ในปี ค.ศ. 1612 แม้ว่าอาร์เทมิเซียจะแสดงความสามารถในการเขียนภาพมาตั้งแต่ต้น แต่สถาบันศิลปะที่มีแต่ศิลปินผู้ชายก็ยังไม่ยอมรับอาร์เทมิเซีย ขณะนั้นพ่อของอาร์เทมิเซียทำงานกับอากอสติโน ทาสซีเพื่อตกแต่งเพดานของคาสิโนเดลลาโรเซภายในวังพาลลารอสพิกลิโอซิ (Pallavicini Rospigliosi Palace) โอราซิโอจึงจ้างช่างเขียนชาวทัสเคนีให้ฝึกลูกสาว ระหว่างที่ฝึกทาสซีก็ข่มขืนอาร์เทมิเซีย แม้ว่าเริ่มแรกทาสซีสัญญาว่าจะแต่งงานกับอาร์เทมิเซียเพื่อรักษาชื่อเสียงแต่ตอนหลังทาสซีก็บิดเบือนจากสัญญา โอราซิโอจึงฟ้องร้องเจ้าหน้าที่

ระหว่าง 7 เดือนที่ฟ้องร้องกัน ก็พบว่าทาสซีมีแผนที่จะฆ่าภรรยา, ข่มขืนน้องภรรยา, และมีแผนที่จะขโมยภาพเขียนของโอราซิโอ ระหว่างนั้นอาร์เทมิเซียเองก็ถูกทรมานเพื่อเป็นการเค้นความจริงและเพื่อป้องกันการแจ้งความเท็จ ซึ่งทางการขณะนั้นเชื่อว่าถ้าผู้ถูกทรมานยังยืนยันเรื่องเดิมก็แปลว่าพูดความจริง เมื่อเสร็จศาลก็ตัดสินให้จำคุกทาสซีปึหนึ่ง การขึ้นศาลครั้งนี้มีผลต่อการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของสิทธิสตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นที่เชื่อกันว่าภาพเขียน “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟอร์เนส” (Giuditta che decapita Oloferne) ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1612 ถึงปี ค.ศ. 1613 เป็นภาพเขียนที่แสดงความรุนแรง ซึ่งตีความหมายกันว่าเป็นภาพเขียนที่มาจากความรู้สึกในจิตใต้สำนึกของอาร์เทมิเซียเองที่ต้องการแก้แค้นในสิ่งที่เกิดขึ้น

หลังจากศาลตัดสินได้เดือนหนึ่งโอราซิโอก็จัดการให้ลูกสาวแต่งงานกับเปียร์อันโตนิโอ สเตียเทซิ (Pierantonio Stiattesi) ศิลปินชั้นรองจากฟลอเรนซ์ เพื่อเป็นการกู้ชื่อเสียง หลังจากนั้นไม่นานอาร์เทมิเซียและเปียร์อันโตนิโอก็ย้ายไปฟลอเรนซ์ซึ่งอาร์เทมิเซียได้รับสัญญาให้วาดภาพที่วังบวยนาร์โรติและกลายเป็นช่างเขึยนประจำราชสำนักผู้มีชื่อเสียงและได้รับการอุปถัมป์จากตระกูลเมดิชิและพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นที่เชื่อกันว่าช่วงเวลานี้อาร์เทมิเซียเขียนภาพ “พระแม่มารีและพระบุตร” ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่แกลเลอรีสปาดาที่กรุงโรม

ขณะที่พำนักอยู่ที่ฟลอเรนซ์อาร์เทมิเซียและเปียร์อันโตนิโอมีบุตรธิดาด้วยกันห้าคนผู้ชายสี่ผู้หญิงหนึ่ง แต่พรูเด็นเซียเป็นลูกสาวคนเดียวเท่านั้นที่มีชีวิตรอดมาจนโตและย้ายกลับโรมตามอาร์เทมิเซียเมื่อปี ค.ศ. 1621 และต่อมาเนเปิลส์ หลังจากที่อาร์เทมิเซียเสียชีวิตก็ไม่มีใครทราบความเป็นไปของพรูเด็นเซีย

สมัยฟลอเรนซ์ (ค.ศ. 1614-ค.ศ. 1620)

[แก้]

อาร์เทมิเซียได้รับความสำเร็จเมื่อไปทำงานอยู่ที่ฟลอเรนซ์ เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเข้าสมาชิกของสถาบันการวาดภาพ (Academy of Drawing) และมีความสัมพันธ์อันดีกับศิลปินสำคัญๆ ร่วมสมัยเช่น คริสโตฟาโน อัลลอริ (Cristofano Allori) และได้รับการอุปถัมภ์จากผู้มีอิทธิพลเช่นแกรนดยุคโคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิและโดยเฉพาะแกรนดัชเชสคริสตีนา นอกจากนั้นอาร์เทมิเซียก็ยังมีความสัมพันธ์เป็นอันดีกับกาลิเลโอ กาลิเลอีโดยได้เขียนจดหมายติดต่อกันอยู่ระยะหนึ่ง และกับหลานไมเคิล แอนเจโลชื่อเดียวกันที่กำลังก่อสร้างบ้านบวยนาร์โรติและได้ขอให้อาร์เทมิเซียมาวาดภาพบนเพดานของห้องภาพเขียน

ภาพที่อาร์เทมิเซียเขียนเป็นภาพสัญลักษณ์แฝงคติของความสามารถ (Allegoria dell'Inclinazione) ซึ่งเป็นภาพเปลือยของสตรีผู้ถือเข็มทิศและเชื่อกันว่าสตรึในรูปละม้ายตัวอาร์เทมิเซียเอง และอันที่จริงแล้ววีรสตรีในภาพเขียนทั้งหลายที่อาร์เทมิเซียเขียนต่างก็มีหน้าตาคล้ายอาร์เทมิเซีย ความสำเร็จและเพศขออาร์เทมิเซียทำให้มีข่าวลือต่างๆ ถึงชีวิตส่วนตัวของอาร์เทมิเซียเอง งานที่สำคัญในช่วงเวลานี้ก็ได้แก่ “การสนทนาของแมรี แม็กดาเลน” (La Conversione della Maddalena) และ “จูดิธกับสาวใช้” (Giuditta con la sua ancella) ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พิตติที่ฟลอเรนซ์ อาร์เทมิเซียเขียนภาพ “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟอร์เนส” อีกครั้ง ครั้งนี้ใหญ่กว่าภาพเดิมที่เขียนที่เนเปิลส์ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูฟิซิที่ฟลอเรนซ์

แม้ว่าจะได้รับความสำเร็จระหว่างที่อยู่ฟลอเรนซ์แต่อาร์เทมิเซียก็มีปัญหามากมายกับเจ้าหนี้เพราะความฟุ่มเฟือยของสามี ปัญหาเรื่องเงินทำให้อาร์เทมิเซียตัดสินใจกลับไปโรมในปี ค.ศ. 1621

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ


สมุดภาพ

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?