For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาราม.

อาราม

อาราม[1] (อังกฤษ: monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit)

ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios”[2] (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง[3]) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล

ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย

ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน

อารามในพุทธศาสนา

[แก้]
ป่าไผ่ร่มรื่นในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร

อารามในพุทธศาสนา ในภาษาบาลีเรียกว่าวิหาร ส่วนในประเทศไทย ลาว และกัมพูชาเรียกว่าวัด เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและสามเณร ภิกษุณีและสามเณรีก็อาศัยในอารามเดียวกับภิกษุแต่ต้องจัดพื้นที่อาศัยแยกต่างหาก[4]

ตามพุทธประวัติระบุว่าวัดเวฬุวันมหาวิหาร[5] เป็นอารามแห่งแรกในพุทธศาสนา เกิดจากพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าแล้วมีพระราชศรัทธาจึงอุทิศป่าไผ่นอกพระนครราชคฤห์ถวายเป็นพุทธบูชา[6] ต่อมายังมีกษัตริย์และคหบดีนิยมสร้างวัดถวายในพุทธศาสนาอีก เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวันมหาวิหาร นางอัมพปาลีหญิงโสเภณีสร้างวัดอัมพปาลีวัน นางวิสาขาสร้างวัดบุพพาราม เป็นต้น

อารามในคริสต์ศาสนา

[แก้]
อารามนักบุญแคเธอริน

สำหรับอารามในคริสต์ศาสนามีขนาดแตกต่างกันไป ทั้งที่อยู่อาศัยขนาดเล็กของฤๅษีผู้อยู่โดดเดียว (hermit) หรือเป็นอารามของชุมชนนักพรต (Cenobium) ก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลังเดียวที่เป็นที่พำนักของนักพรตอาวุโสรูปหนึ่งกับนักพรตอีกสองสามรูปหรือชี ไปจนถึงกลุ่มสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นที่พำนักของนักพรตเป็นจำนวนร้อยก็ได้ เช่น อารามออคเซนเฮาเซิน ประเทศเยอรมนี

ในภาษาอังกฤษคำว่า Monastery โดยทั่วไปแล้วใช้สำหรับกลุ่มสิ่งก่อสร้างของชุมนุมนักพรต และ “คอนแวนต์” มักจะใช้สำหรับกลุ่มสิ่งก่อสร้างของคณะนักบวชหญิงหรือชี ศาสนาอื่นๆ อาจจะใช้คำอื่นในการเรียกอารามตามแต่จะเหมาะสม

อารามคริสต์ศาสนาอาจจะมีวิธีหารายได้เลี้ยงตัวเองหลายวิธี เช่น การสร้างหรือผลิตและขายสินค้าที่มักจะเป็นสินค้าทางการเกษตรกรรมเช่นเนยแข็ง ไวน์ เหล้า เบียร์ หรือผลิตผลจากผลไม้เช่นแยม หรืออาจจะจากเงินบริจาค, จากรายได้ค่าเช่า, จากการลงทุน ในปัจจุบันอารามก็ปรับวิถีการดำเนินการให้เข้ากับโลกสมัยใหม่เช่นในการให้เช่าสถานที่สำหรับการสัมมนา ฝึกสมาธิ หรือโรงแรม หรือขายบริหารคอมพิวเตอร์ การบัญชี หรือการบริหารโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Monasticism [1]
  2. Monasterios, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, at Perseus
  3. Online Etymology Dictionary
  4. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค วักกลิสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  6. สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา , เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาราม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?