For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาณานิคมอวกาศ.

อาณานิคมอวกาศ

สเปซโคโลนี

อาณานิคมอวกาศ หรือ สเปซโคโลนี (อังกฤษ: Space colony) คือ สภาวะแวดล้อม (สิ่งแวดล้อม) ที่เปรียบเสมือนถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ในอนาคต โดยภายในโคโลนีจะมีระบบต่างๆ เอื้อให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาทิ ระบบสร้างชั้นบรรยากาศเทียม ระบบสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม ระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถดื่มได้ ระบบรีไซเคิลขยะหรือเผาทำลายขยะ 100% เพื่อให้ไม่มีปัญหาขยะสะสมในโคโลนี ระบบรวบรวมทรัพยากรสำคัญจากอวกาศ ระบบผลิตพลังงานที่มีกำลังสูงเพื่อเป็นพลังงานให้ทั้งโคโลนี

สเปซโคโลนีมักถูกกล่าวถึงอยู่เสมอในนวนิยายและการ์ตูนแนววิทยาศาสตร์ แต่สำหรับโลกวิทยาศาสตร์แล้วมีการพัฒนาแนวคิด และวิจัยอย่างเป็นทางการเมื่อสตีเฟ่น ฮอว์คิง ได้กล่าวเอาไว้ในปี ค.ศ. 2001 ว่าวิธีที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ได้อย่างยั่งยืน คือ การสร้างสเปซโคโลนี[1]

ณ ปัจจุบันหลายประเทศได้ผลักดันแนวคิดนี้ทั้งทางด้านแนวคิด และการวิจัย ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน

ผู้สนับสนุนความคิดในการสร้างสเปซโคโลนี

[แก้]

แนวคิดในเรื่องนี้ คือ การที่มีหลักประกันว่ามนุษย์จะอยู่รอดในอวกาศได้ โดยปลอดภัยทั้งในด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม

ในอดีตได้มีนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีทางด้านจักรวาลชื่อ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ได้กล่าวสนับสนุนเอาไว้ โดยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2001 ค.ศ. 2006 และในปี ค.ศ. 2011 ไว้ว่าวิธีที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ได้คือการสร้างโคโลนี โดยมนุษย์อาจสูญพันธ์ได้ในอีก 1,000 ข้างหน้า ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างโคโลนีโดยเร็วเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[1] และมีเนื้อหาสำคัญที่กล่าวไว้ใน ค.ศ. 2006 ด้วยว่าเราอาจต้องสูญเสียเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปในอีก 200 ปีข้างหน้านี้หากไม่สร้างโคโลนี[2]

Louis J. Halle ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Foreign Affairs ในฤดูร้อน ค.ศ. 1980 ว่าอาจเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจึงนับเป็นความคิดที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[3] Paul Davies นักฟิสิกส์ท่านหนึ่งได้เสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งรกรากในอวกาศไว้ว่า หากโลกเผชิญกับภัยพิบัติครั้งใหญ่จริง โคโลนีจะเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เอาไว้ เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึงมนุษย์จะได้มีโอกาสกลับไปโลกเพื่อฟื้นฟูอารยธรรมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมบนโลกหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไป นอกจากนี้นักประพันธุ์และนักเขียนชื่อ William E. Burrows รวมถึงนักชีววิทยาชื่อ Robert Shapiro ได้กล่าวสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมโครงการรักษาเผ่าพันธ์มนุษย์โดยการตั้งรกรากในอวกาศอีกด้วย[4]

J. Richard Gott ผู้มีพื้นฐานความคิดในแนวทางของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Copernican principle) โดย J. Richard Gott ได้คาดการณ์ว่าอารยธรรมมนุษย์น่าจะอยู่ได้อีก 7.8 ล้านปี แต่เขาก็คิดว่าน่าจะมีอารยธรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ในอวกาศด้วย เพราะหากพวกเขามาเยือนอาจมีสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจะเป็นช่วยรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้ได้[5]

สเปซโคโลนีในการ์ตูน

[แก้]

สเปซโคโลนีเป็นที่อยู่ของมนุษย์ในอวกาศในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกันดั้ม ภายในโคโลนี่จะคล้ายกับโลกให้มนุษย์อยู่อาศัย ส่วนภายนอกจะเป็นโลหะล้อมรอบ และมีระบบการจัดการให้บรรยากาศภายในโคโลนี่เหมือนกับโลก รูปร่างไม่แน่นอน

เนื่องจากปัญหาประชากรล้นโลก จึงได้มีการสร้างอาณานิยมกลางอวกาศเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี U.C. 0050 ประชากรมนุษย์กว่า 80% นั้นอาศัยอยู่ในอาณานิคมกลางอวกาศนี้ โดยโคโลนีแต่ละอันสามารถจุคนได้นับล้านคน ต่อมาได้มีการจัดกลุ่มโคโลนีเป็นไซด์ต่างๆ โดยที่ 1 ไซด์จะมีโคโลนีประมาณ 35-40 แห่ง จุคนเป็นพันๆล้านคน โคโลนีนั้นจะเป็นลักษณะทรงกระบอก ยาวประมาณ 20 ไมล์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ไมล์ มีการหมุนรอบตัวเองทุกสองนาทีเพื่อสร้างแรงดึงดูดจำลอง โคโลนีส่วนมากจะถูกสร้างเป็นลักษณะเปิด และมีการติดตั้งกระจกเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์สำหรับความสว่างในโคโลนี แต่ก็มีโคโลนีบางแห่งเช่นไซด์ 3 ที่มีการสร้างแบบปิด โดยที่มีระบบสร้างแสงด้วยตนเอง รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่วนเรื่องวัตถุดิบในการนำมาสร้างโคโลนีนั้นมาจากดวงจันทร์ การสร้างโคโลนีจะขุดแร่ต่างๆ ที่จำเป็นจากดวงจันทร์ และนำมาที่เขตก่อสร้างเคลื่อนที่ เช่น ลูน่า II, 5th ลูน่า และ โซโลม่อน เป็นต้น

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการสร้างสเปซโคโลนี

[แก้]
  • ทรัพยากร เพราะทรัพยากรในโคโลนีมีทรัพยากรจำกัดจำเป็นต้องซื้อจากโลก หรือขุดจากอุกกาบาตุและดาวหางที่เคลื่อนที่ผ่านด้วยหุ่นยนต์หรือโดรน
  • พลังงาน เพราะโคโลนีไม่มีแหล่งพลังงานมากมายและหลากหลายเหมือนบนโลก ดังนั้นทางเลือกที่เหมาะสมคือการสร้างแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่หากอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ หรือสร้างพลังงานด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หากอยู่ไกลจากดาวฤกษ์
  • การขนส่งทางไกล การขนส่งทางไกลสำหรับโคโลนีนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ทั้งการขนส่งทรัพยากรต่างๆ สินค้า หรือแม้แต่บุคคล เช่น บุคคลทางการเมือง (นักการทูต นักการเมือง) เพื่อความร่วมมือระหว่างโลกกับโคโลนีหรือระหว่างโคโลนีกับโคโลนีด้วยกันเอง ต่อมาคือนักธุรกิจเพราะจำเป็นต้องมีการเจรจาซื้อขายทรัพยากรและสินค้าที่พบได้ยากบนโคโลนี เป็นต้น
  • สังคมและกฎระเบียบบนโคโลนี เพราะรูปแบบถิ่นที่อยู่อาศัยบนโคโลนีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากโลกพอสมควร โดยอาจมีผลต่อสภาวะจิตใจของประชากรได้ รวมทั้งความปลอดภัยบนโคโลนีก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อสภาวะจิตใจ และออกกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • ระบบที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต บนโคโลนีนั้นมีสภาวะที่แตกต่างจากโลก เช่น ไม่มีชั้นบรรยากาศจึงต้องมีระบบสร้างชั้นบรรยากาศเทียม และไม่มีแรงโน้มถ่วงจึงต้องมีระบบสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม เป็นต้น รวมถึงไม่มีพื้นที่ทิ้งน้ำเสียที่มากเหมือนบนโลก จึงจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถนำไปอุปโภคและบริโภคได้ โดยทำให้วัฏจักรของน้ำสมบูรณ์
  • การป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศ เพราะในอวกาศมีรังสีอันตรายมากมาย เช่น รังสีคอสมิก รังสีเอ็กซ์ซึ่งส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ดังนั้นโคโลนีจึงต้องออกแบบให้สามารถป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศได้[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Highfield, Roger (16 October 2001). "Colonies in space may be only hope, says Hawking". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  2. "Mankind must colonize other planets to survive, says Hawking". Daily Mail(London). 2006-12-01. Retrieved March 11, 2013
  3. Halle, Louis J. (Summer 1980). "A Hopeful Future for Mankind". Foreign Affairs. 58 (5): 1129. doi:10.2307/20040585. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-04.
  4. Morgan, Richard (2006-08-01). "Life After Earth: Imagining Survival Beyond This Terra Firma". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
  5. Tierney, John (July 17, 2007). "A Survival Imperative for Space Colonization". The New York Times.
  6. Nasa. "Space Settlement Basics from NASA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-21. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาณานิคมอวกาศ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?