For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาณาจักรอาหม.

อาณาจักรอาหม

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
อาณาจักรอาหม
আহোম ৰাজ্য
เมืองนุนสุนคำ
ค.ศ. 1228ค.ศ. 1826
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
แผนที่อาณาจักรอาหมประมาณ ค.ศ. 1826 (สีเขียว)
แผนที่อาณาจักรอาหมประมาณ ค.ศ. 1826 (สีเขียว)
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงเจ้รายดอย[1]
จรากุรา
เจ้หุง[2]
เจ้ม่วน[3]
ภาษาทั่วไปภาษาอัสสัม, ภาษาอาหม
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• 1228 - 1268
เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า
• 1648 - 1663
เจ้าฟ้าเสือดำมา
• 1811 - 1818, 1819 - 1821
เจ้าเสือเดือนฟ้า
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนาอาณาจักร
ค.ศ. 1228
• ดินแดนอาณัติของพม่า
ค.ศ. 1821
• ดินแดนอาณัติของสหราชอาณาจักร
ค.ศ. 1822
• รวมเข้ากับบริติชราช
ค.ศ. 1826
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย

อาณาจักรอาหม (อัสสัม: আহোম ৰাজ্য; อาโหมะ ราชยะ; อังกฤษ: Ahom Kingdom) บ้างเรียก อาณาจักรอัสสัม (Kingdom of Assam)[4] มีชื่อในภาษาอาหมว่า เมืองถ้วนสวนคำ[5] หรือ เมืองนุนสุนคำ (Mioung Dun Sun Kham)[6] ไทใหญ่เรียกว่า เวสาลีโหลง[5] เป็นรัฐรุ่นเดียวกับอาณาจักรสุโขทัย เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 1771 นำโดยเจ้าหลวงเสือก่าฟ้า ปฐมกษัตริย์ หลังจากที่ต้องอพยพเดินทางทั้งยังทำการต่อสู้และย้ายถิ่นตลอด 38 ปี จึงได้วางรากฐานอาณาจักรอาหม โดยตั้งราชธานีที่เจ้รายดอย (หรือ จรวยเทพ)[1] ในช่วงแรกที่ได้ตั้งอาณาจักรอาหมขึ้นมีการต่อสู้กับชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง

ยุคแรกของอาณาจักรอาหม

[แก้]

อาณาจักรอาหมที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ เพราะมักมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเวลาอพยพนั้นตำนานให้ตัวเลขเพียง 9,000 คน รวมผู้หญิงและเด็ก ซึ่งคาดได้ว่าอีก 38 ปีภายหลัง จำนวนประชากรทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นจากผู้อพยพเดิม ก็ยังคงไม่ถึง 20,000 คน

การต่อสู้ของชาวอาหม

[แก้]

อาณาจักรอาหมดำรงอยู่ได้มากว่า 260 ปี ซึ่งในช่วงเวลาระหว่างนี้มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากที่เป็นชาวป่าชาวเขาในท้องถิ่นเดิม และทั้งที่อพยพมาอีก นับได้ว่าอาณาจักรอาหมมีความมั่นคง แต่ประมาณปี พ.ศ. 2070 อาณาจักรอาหมได้พบกับศัตรูร้ายกาจ นั่นคือจักรวรรดิโมกุล ในเบื้องต้นอาหมทำการต่อสู้ต้านทาน การรุกรานจึงไม่รุนแรงนัก และได้เงียบหายไปเป็นครั้งคราว เมื่อ พ.ศ. 2150 การรุกรานเริ่มหนักหน่วงรุนแรงยิ่งขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ต่อเนื่องและยาวนานถึง 175 ปี ประวัติศาสตร์อาหมในตอนนี้ถือเป็นยุคของ สงครามโมกุล ในที่สุด สงครามได้สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2225 โดยที่พวกโมกุลไม่สามารถเอาชนะอาหมได้ จึงต้องมีการทำการตกลงปักปันดินแดนเป็นการแน่นอนแล้วเลิกรบกันไป

ความเจริญของอาณาจักรอาหม

[แก้]
พระราชวังเจ้หุง เมืองเจ้หุง

จากข้อเขียนของฟาติยะ อิบริยา ซึ่งติดตามไปกับกองทัพอิสลามเขียนบรรยายราชธานีครหคาออน ไว้ดังนี้

เมืองครหคาออน มีประตูเมือง 4 ประตู สร้างด้วยหินและปูนขาว มีถนนพูนดินสูง กว้าง และมั่นคงอยู่รอบเมือง สะดวกแก่การสัญจรไปมา สองฝั่งของแม่น้ำทิขุมีอาคารบ้านเรือนใหญ่โต ถนนที่ผ่านไปในตลาดแคบ และมีพ่อค้าขายหม้อขายกระทะเท่านั้น ไม่ขายของกินเช่นตลาดของเรา เพราะแต่ละบ้านตุนอาหารไว้กินตลอดปี

ตัวเมืองแออัดไปด้วยหมู่บ้าน ภายในเขตพระราชวังมีอาคารสูงและโอ่โถงอยู่หลายหลัง ท้องพระโรงยาว 120 ศอก (60 เมตร) กว้าง 30 ศอก (15 เมตร) มีเสา 66 ต้น แต่ละต้นหนา 4 ศอก เสาเหล่านี้แม้จะใหญ่แต่ก็เกลี้ยงเกลา เครื่องตกแต่งและความวิจิตรของท้องพระโรงนี้ อยู่เหนือคำบรรยายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีอาคารใดในโลกจะเปรียบได้ในเรื่องความมั่นคงแข็งแรง และความงดงามแห่งรูปภาพและของท้องพระโรง กล่าวกันว่าต้องใช้คนงานสองหมื่นสองพันคน

ความยุ่งยากและการล่มสลาย

[แก้]

ภายหลังต่อต้านการรุกรานของพวกโมกุลอย่างทรหด ก็ได้เกิดการขัดแย้งภายในเอง ข้างต้นเริ่มยุ่งยากกับหมู่ชนต่าง ๆ และการแตกสามัคคีกันภายใน จนต้องขออาศัยการช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรที่มาปกครองอินเดีย สหราชอาณาจักรไม่อยากเกี่ยวข้องกับอาณาจักรอาหม พยายามให้อาหมแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยสหราชอาณาจักรไม่ต้องไปเกี่ยวข้อง แต่อาหมก็ขอร้องให้สหราชอาณาจักรมาแทรกแซงอยู่เรื่อยมา

ภายใต้การปกครองอาณัติแห่งพม่า และการตกเป็นดินแดนบริติชอินเดีย

[แก้]

เมื่ออาหมอยู่ภายใต้การปกครองอาณัติแห่งพม่า สหราชอาณาจักรจึงต้องเข้าช่วยอาหมให้พ้นจากการปกครองของพม่า วิธีเดียวที่จะช่วยอาหมได้คือต้องให้อาหมเป็นอยู่ภายใต้การอารักขาของสหราชอาณาจักรโดยตรงตั้งแต่ พ.ศ. 2385 เมื่ออินเดียเป็นเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาหมก็ถูกรวมอยู่กับอินเดีย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 35
  2. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 81
  3. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 34
  4. Wade, Dr John Peter, (1805) "A Geographical Sketch of Assam" in Asiatic Annual Register, reprinted (Sharma 1972, p. 341)
  5. 5.0 5.1 จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 126
  6. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 66
  • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์, 2552 ISBN 978-974-9936-15-3

26°55′59″N 94°44′53″E / 26.93306°N 94.74806°E / 26.93306; 94.74806

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาณาจักรอาหม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?