For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาชญากรรมสงคราม.

อาชญากรรมสงคราม

ภาพถ่ายที่เมืองSuzhou, จีน, ปีค.ศ.1938. ในภาพซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ ของประชาชนชาวจีนที่ถูกฆ่าโดยทหารญี่ปุ่น
หลุ่มศพจำนวนมากของเฉลยศึกชาวโซเวียต ส่วนมากถูกฆ่าโดยทหารเยอรมัน ราวๆสาม 3.3ล้านคน

อาชญากรรมสงคราม (อังกฤษ: war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว[1] เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์[2]

แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1863 และในระดับนานาชาติ เช่น การตกลงรับสนธิสัญญาในอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907 นอกจากนี้ การพิจารณาคดีในศาลระดับชาติ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ยังช่วยสร้างความกระจ่างให้แก่กฎหมายเหล่านี้[1] ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามยิ่งมีพัฒนาการสำคัญ การพิจารณาคดีมากมายเกี่ยวกับอาชญากรสงครามของฝ่ายอักษะนั้นส่งผลให้เกิดหลักการเนือร์นแบร์กซึ่งวางข้อความคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามอย่างใดจะกลายเป็นความผิดอาญาในระดับโลก นอกจากนี้ เมื่อมีอนุสัญญาเจนีวาใน ค.ศ. 1949 สนธิสัญญาฉบับบนี้ได้ให้นิยามใหม่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงคราม และกำหนดให้รัฐทั้งหลายมีเขตอำนาจสากลในการดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าว[1] ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการกำหนดรูปแบบอาชญากรรมสงครามเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการขัดกันด้วยอาวุธประเภทอื่น ๆ เช่น สงครามกลางเมือง นอกเหนือไปจากการสู้รบกันระหว่างรัฐกับรัฐ[1]

ประวัติ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อาชญากรสงครามในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีคดีอาชญากรสงครามที่สำคัญ โดยเกิดขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองร้อนระอุ และสงครามโลกครั้งที่ 2กำลังจบ โดยมีการจับกุมและฟ้องร้อง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตผู้นำทางการทหารและการเมืองกับพวก ในข้อหาอาชญากรสงครามต่อศาลฎีกา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรสงคราม ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายไปได้โดยอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังให้การกระทำก่อนวันใช้กฎหมายเป็นความผิดนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ จอมพล ป. พิบูลสงครามกับพวก จึงได้รับการปล่อยตัวพ้นข้อหา จึงนับได้ว่าบทบาทในทางการเมืองของศาลยุติธรรมในฐานะเป็นสถาบันทางการเมืองด้วย[3]

ในขณะที่กำลังเกิดสงคราม และญี่ปุ่นกำลังบุกเข้ามาที่ไทย จอมพล ป พิบูลสงครามเพิ่งกำลังขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้ยอมแพ้ลงในเดือนธันวาคม 2484[4] โดยฝ่ายไทยแสดงที่ท่าสัมพันธไมตรีและให้ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในทุกด้าน เพื่อทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และสุดท้ายอเมริกาได้ทิ้งปรมาณูและเป็นการประกาศการยอมแพ้ญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์ว่า “...การประกาศสงครามกับประเทศอเมริกาของประเทศไทยเป็นการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นปฏิปักษ์ต่อเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และประเทศไทยมีความตั้งใจมั่นที่จะฟื้นความสัมพันธ์ทางไมตรีกับสหประชาชาติเหมือนดังที่มีก่อนถูกญี่ปุ่นเข้าครอบครอง มีคำมั่นสัญญาว่ากฎหมายใดที่ได้ออกมาเป็นปฏิปักษ์ต่อส่วนได้เสียของเราจะได้มีการพิจารณายกเลิก มีคำรับรองว่าถ้ากฎหมายเช่นว่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและประกาศปฏิญญาว่าประเทศไทยจะได้ให้ความร่วมมือทุกอย่างแก่สหประชาชาติในการสร้างเสถียรภาพโลก...”

ปลายเดือนสิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ได้โทรเลขไปถึง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขอให้กลับประเทศไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีการตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488[5] หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นเพื่อพิจารณาความผิดของฝ่ายอักษะได้ทำไป ที่เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ทหารนาซีของประเทศเยอรมนีถูกแขวนคอ จำนวน 12 คน และทหารญี่ปุ่นถูกแขวนคอ จำนวน 7 คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีโตโจ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงที่กรุงเดลลี ประเทศอินเดีย และที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกข่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรจะนำเอาอาชญากรสงครามในประเทศไทยไปขึ้นศาลต่างประเทศโดยมีอาชญากรสงคราม จำนวน 4 คน คือ แปลก พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ประยูร ภมรมนตรี และสังข์ พัธโนทัย โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้สั่งให้พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)ร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามขึ้นและเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประกาศใช้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า อาชญากรสงครามเป็นภัยอันร้ายแรงต่อความสงบของโลก สมควรที่จะจัดให้บุคคลที่ประกอบได้สนองกรรมชั่วที่ตนได้กระทำตามโทษานุโทษ [6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Cassese, Antonio (2013). Cassese's International Criminal Law (3rd ed.). Oxford University Press. pp. 63–66. ISBN 978-0-19-969492-1.
  2. See generally, Article 8 of the Rome Statute of the International Criminal Court.
  3. วิชา มหาคุณ, ศาลยุติธรรมและการพิพากษาคดี, (บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2536), หน้า 88.
  4. ปัญญา อุดชาชน, “พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม : รากฐานการกำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ”, รัฐสภาสาร, ปีที่ 61 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2556, หน้า 35-45.
  5. อาชญากรสงคราม..
  6. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีพิเศษ 27 กันยายน 2488.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาชญากรรมสงคราม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?