For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อาคารไปรษณีย์กลาง.

อาคารไปรษณีย์กลาง

อาคารไปรษณีย์กลาง
General Post Office
Grand Postal Building
อาคารไปรษณีย์กลาง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทที่ทำการไปรษณีย์
สถาปัตยกรรม
เมือง2 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°43′37″N 100°30′56″E / 13.72694°N 100.51556°E / 13.72694; 100.51556
เริ่มสร้าง24 มิถุนายน พ.ศ. 2483[1]
ผู้สร้างกรมไปรษณีย์โทรเลข
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างก่ออิฐถือปูน
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกจิตรเสน อภัยวงศ์
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
วิศวกรเอ็ช เฮอรมัน[2]

อาคารไปรษณีย์กลาง หรือ ไปรษณีย์กลาง บางรัก เป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เคยเป็นสถานกงสุลอังกฤษและที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข ตัวอาคารมีลักษณะแบบสถาปัตยกรรมสากลและอลังการศิลป์ (art deco) จิตรเสน อภัยวงศ์ และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) เป็นผู้ออกแบบ[3]

ปัจจุบัน อาคารใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของไปรษณีย์ไทย ไปรษณีย์เขตบางรัก และสำนักงานใหญ่ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

บุคคลทั่วไปสามารถชมภายในอาคารส่วนโถงตรงกลางซึ่งใช้จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนของไปรษณีย์ไทย และสามารถเข้าชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในส่วนสาธารณะ ได้แก่ ห้องจัดนิทรรศการบริเวณด้านหลังของอาคาร และสวนดาดฟ้าสาธารณะ (public rooftop garden) ส่วนที่เหลือนั้นสงวนไว้สำหรับสมาชิกของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเท่านั้น[4]

ลักษณะของอาคาร

[แก้]

ด้านบนของอาคารประดับด้วยรูปสลักครุฑสีชมพูอิฐห้อยพวงมาลาเท้างุ้ม ขนาด 2 เท่าคนจริง ซึ่งเป็นผลงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2486 เชื่อกันว่า ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา อาคารแห่งนี้รอดพ้นจากการถูกการระเบิดทำลายได้อย่างปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิฤทธิ์ของครุฑดังกล่าว[5]

ด้านหน้าอาคารมีลานกว้างสาธารณะที่ผู้คนในพื้นที่นิยมมาออกกำลังกายและพักผ่อนช่วงเย็น ตรงกลางของลานประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ก่อกำเนิดกิจการไปรษณีย์โทรเลขของไทย

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]

ในปัจจุบันอาคารไปรษณีย์กลางมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้งานดังนี้ (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561)[ต้องการอ้างอิง]

ไปรษณีย์ไทย

[แก้]
  • ส่วนตรงกลางของอาคารเป็นโถงจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนของไปรษณีย์ไทย
  • อาคารปีกทิศเหนือ ชั้น 1 เป็นที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์ เขตบางรัก

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

[แก้]
  • อาคารปีกทิศใต้
    • ชั้น 1: ทางเข้าหลักของศูนย์ และร้านค้าของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 2: ห้องประชุม ห้องประชุมเชิงปฏิบัติการ ห้องจัดนิทรรศการ
    • ชั้น 3-4: สำนักงานของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 5: สวนดาดฟ้าสาธารณะ และส่วนเชื่อมต่อกับอาคารด้านหลัง
  • อาคารด้านหลัง
    • ชั้น 1: ทางเข้าด้านหลังของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และห้องจัดนิทรรศการ
    • ชั้น 2: แมตทีเรียลคอนเน็กซ์ซันเซ็นเตอร์ (Material ConneXion® Centre) ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 3: แฟ็บคาเฟ่ (Fab Cafe) และพื้นที่จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    • ชั้น 4: ทีซีดีซีรีซอร์ซเซ็นเตอร์ (TCDC Resource Centre) ห้องสมุดด้านการออกแบบ และ โค-เวิร์กกิงสเปซ (Co-Working space)
    • ชั้น 5: ทีซีดีซีรีซอร์ซเซ็นเตอร์ (TCDC Resource Centre) ห้องสมุดด้านการออกแบบ, โค-เวิร์กกิงสเปซ (Co-Working space), และสวนดาดฟ้าสำหรับสมาชิก (private rooftop garden)

นอกจากนี้ ด้านหลังของอาคารยังมีท่าเรือสำหรับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปไอคอนสยาม อีกด้วย

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กาลครั้งนั้น ณ วันนี้...70 ปี ไปรษณีย์กลาง
  2. "ประวัติความเป็นมาของไปรษณีย์กลาง บางรัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  3. "อาคารไปรษณีย์กลาง (Grand Postal Office)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  4. PROGRAM.com
  5. ตึกงามแห่งประวัติศาสตร์ไปรษณีย์ไทย ไปรษณีย์กลาง-ไปรษณีย์นฤมิตร

13°43′37″N 100°30′56″E / 13.72694°N 100.51556°E / 13.72694; 100.51556

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อาคารไปรษณีย์กลาง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?