For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อัลมุสตันศิรที่ 1.

อัลมุสตันศิรที่ 1

มันศูร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์
المنصور المستنصر بالله
เคาะลีฟะฮ์
อะมีรุลมุอ์มินีน
ดิรฮัมของอัลมุสตันศิร
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 36 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
เคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ในแบกแดด
ครองราชย์10 กรกฎาคม ค.ศ. 1226 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1242
ก่อนหน้าอัซซอฮิร
ถัดไปอัลมุสตะอ์ศิม
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1192[1]
แบกแดด รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก)
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 1242 (50 พรรษา)
แบกแดด รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
ฝังพระศพแบกแดด
พระมเหสีShahan
Hajir[2]
พระราชบุตรอัลมุสตะอ์ศิม
พระนามเต็ม
อะบู ญะอ์ฟัร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ อัลมันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร
ราชวงศ์อับบาซียะฮ์
พระราชบิดาอัซซอฮิร
พระราชมารดาZahra
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
พระนามเคาะลีฟะฮ์ อัลมุสตันศิรปรากฏในภาพวาดร่วมสมัย จาก folio 164v ของ มะกอมาตอัลฮะรีรี, ฉบับ ค.ศ. 1237 (BNF Arabe 5847).[3]

อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ (อาหรับ: المسنتصر بالله) พระนามเต็ม: อะบู ญะอ์ฟัร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ อัลมันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร (أبو جعفر المسنتصر بالله المنصور بن محمد الظاهر; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1192 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1242) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 1226 ถึง 1242 โดยขึ้นครองราชย์ถัดจากเคาะลีฟะฮ์ อัซซอฮิรใน ค.ศ. 1226 และเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์สุดท้ายที่ปกครองในแบกแดด

พระราชประวัติ

[แก้]

อัลมุสตันศิรเสด็จพระราชสมภพที่แบกแดดใน ค.ศ. 1192 โดยเป็นพระราชโอรสในอะบูนัศร์ มุฮัมมัด (เคาะลีฟะฮ์ อัซซอฮิรในอนาคต) กับพระราชมารดาที่เป็นอุมมุลวะลัดชาวเติร์ก[4][5] นาม Zahra พระนามเต็มของพระองค์คือ มันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร และมีกุนยะฮ์เป็น อะบู ญะอ์ฟัร ในช่วงที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ พระราชบิดาของพระองค์ยังเป็นเจ้าชาย เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1225 พระองค์ลดภาษีในอิรัก และสร้างกองทัพที่แข็งแกร่งเพื่อต่อต้านการรุกราน หลังขึ้นครองราชpN 9 เดือน พระองค์สวรรคตในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1226

หลังพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1226 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์องค์ที่ 36 ที่แบกแดด อัลมุสตันศิรมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในการก่อตั้งอัลมัดเราะซะฮ์ อัลมุสตันศิรียะฮ์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยอัลมุสตันศิรียะฮ์) ใน ค.ศ. 1227/32/34 มัดเราะซะฮ์ในขณะนั้นสอนวิชาต่าง ๆ มากมาย ทั้งการแพทย์ คณิตศาสตร์ วรรณคดี ไวยากรณ์ และอิสลามศึกษา โดยกลายเป็นศูนย์การศึกษาอิสลามที่โดดเด่นและอยู่ในระดับสูงที่แบกแดด[6]

ลานวิทยาลัยแพทย์อัลมุสตันศิรียะฮ์

มัดเราะซะฮ์ในสมัยอับบาซียะฮ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่แนวมคิดศาสนาอิสลามและเป็นแนวทางในการขยายอุดมการณ์ศรัทธาแรงกล้าของผู้ก่อตั้ง[7]

มุซ็อฟฟะรุดดีน เกิกเบอรี ผู้ปกครองอัรบีล ไม่มีทายาทเป็นผู้ชาย เกิกเบอรีจึงยกอัรบีลให้เป็นพินัยกรรมแก่เคาะลีฟะฮ์ อัลมุสตันศิร[8] หลังเกิกเบอรีเสียชีวิตใน ค.ศ. 1233 นครอัรบีลจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของอับบาซียะฮ์

อัลมุสตันศิรสวรรคตในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1242[9] อัลมุสตะอ์ศิมขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 37 และเป็นองค์สุดท้ายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ibn Kathir: Albidayah Wa-Nahaya, V. XIII. p. 147
  2. Al-Hawadith al-Jami'a . Ibn al-Fuwaṭi
  3. Contadini, Anna (1 January 2012). A World of Beasts: A Thirteenth-Century Illustrated Arabic Book on Animals (the Kitāb Na't al-Ḥayawān) in the Ibn Bakhtīshū' Tradition. Brill. p. 155. doi:10.1163/9789004222656_005.
  4. Rizvi, Sayyid Saeed Akhtar; Shou, Salman (2005). Utumwa: Mtazamo wa Kiislamu na wa Nchi za Magharibi. Al-Itrah Foundation. p. 64. ISBN 978-9987-9022-4-8.
  5. Hasan, M. (1998). History of Islam: Classical period, 571-1258 C.E. Islamic Publications. p. 304.
  6. Hillenbrand, Robert (1994). Islamic architecture : form, function, and meaning (Casebound ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0231101325. OCLC 30319450.
  7. Bloom, Jonathan M. (1997). Islamic arts. Blair, Sheila. London: Phaidon Press. ISBN 9780714831763. OCLC 37265778.
  8. Morray, p. 85
  9. 10 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 640

ข้อมูล

[แก้]
  • This text is adapted from William Muir's public domain, The Caliphate: Its Rise, Decline, and Fall.
  • Hasan, M. (1998). History of Islam: Classical period, 571-1258 C.E. History of Islam. Islamic Publications. p. 304
  • Al-Maqrizi, Al Selouk Leme'refatt Dewall al-Melouk, Dar al-kotob, 1997.
  • Morray D.W. (1994) An Ayyubid Notable and His World: Ibn Al-ʻAdīm and Aleppo as Portrayed in His Biographical Dictionary of People Associated with the City, Brill. Leiden. ISBN 9004099565
  • Al-Sāʿī, Ibn; Toorawa, Shawkat M.; Bray, Julia (2017). كتاب جهات الأئمة الخلفاء من الحرائر والإماء المسمى نساء الخلفاء: Women and the Court of Baghdad. Library of Arabic Literature.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อัลมุสตันศิรที่ 1
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?