For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อนิเมะ.

อนิเมะ

ดวงตาอนิเมะ

อนิเมะ (ญี่ปุ่น: アニメโรมาจิAnime; ราชบัณฑิตยสภา: อานิเมะ) หมายถึง สื่อเนื้อหาภาพเคลื่อนไหวที่วาดด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจากประเทศญี่ปุ่น คำว่า อนิเมะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่น ที่ดัดแปลงมาจากคำภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชัน (animation) ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ได้กลายความหมายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่น ที่ใช้สื่อถึงสื่อภาพยนตร์การ์ตูน (Animated media) ทุกรูปแบบ[1] ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มีลักษณะของเอกลักษณ์ทางศิลปะเหมือนกับภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตในญี่ปุ่น[2] อนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอนิเมะอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่แล้ว อนิเมะเป็นสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีเนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นนวนิยาย หรือจากสื่อหนังสือการ์ตูนมังงะ ซึ่งทำให้อนิเมะมีเนื้อเรื่องที่หลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกประเภท รวมไปถึงประเภทสื่อลามก อนิเมะมักถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์เป็นรายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ซึ่งเป็นการทำตอนเฉพาะที่ไม่ได้ออกอากาศ เรียกว่า โอวีเอ (Original Video Animation) และปัจจุบันก็มีเนื้อหาที่เผยแพร่โดยตรงผ่านอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ONA (Original Net Animation) ด้วย นอกจากนี้ยังมีอนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย ปัจจุบันมีจำนวนอนิเมะที่ถูกสร้างในประเทศญี่ปุ่นราว 500 เรื่องต่อปี

ประวัติ

[แก้]

ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917 แต่ภาพลักษณ์ในฐานะสื่อสำหรับเด็กของภาพยนตร์การ์ตูนทำให้การเผยแพร่ยังมีอยู่อย่างจำกัด และแผ่นดินไหวใหญ่ในที่ราบคันโตเมื่อ ปี 1923 ทำให้สตูดิโอและงานในยุคแรกเริ่มถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก. การ์ตูนอนิเมะเรื่องยาวเรื่องแรก คือ โมโมทาโร่ อุมิโนะชินเปอิ (桃太郎 海の神兵) หรือ โมโมทาโร่ ทหารเทพแห่งท้องทะเล ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยราชนาวีของจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1944 เพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อในระหว่างสงคราม. พอถึงยุคหลังสงครามความนิยมในภาพยนตร์แอนิเมชันก็ได้รับการฟื้นฟูเป็นลำดับ. จนกระทั่งในทศวรรศที่ 1960 นักสร้างแอนิเมชันอย่าง เทะซิกะ โอซามุ ได้บุกเบิกเทคนิคในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนในญี่ปุ่น โดยการศึกษาเลียนแบบเทคนิคของนักทำแอนิเมชันของดิสนีย์และคิดหาทางลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายลง. ผลงานของโอซามุได้รับความนิยมแพร่หลายไปนอกประเทศญี่ปุ่น และได้รับฉายทั้งในอเมริกาและประเทศในยุโรปหลายเรื่อง. พอถึงปลายปี 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน. ในทศวรรษที่ 1980 อนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อม ๆ กับการขยายตัวของตลาดอนิเมะนอกประเทศสำหรับคนที่ชื่นชอบ.

คำศัพท์

[แก้]

"อนิเมะ" (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคาตากานะ) "แอนิเมชัน" (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อเป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า "อนิเมะ" มีขอบเขตกว้างครอบคลุมภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใด ๆ

"เจแปนิเมชั่น" (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า "เจแปน" (Japan) กับ "แอนิเมชั่น" เป็นคำอีกคำที่มีความหมายเหมือน "อนิเมะ" คำนี้นิยมใช้กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990 และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่ว ๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวม ๆ ว่า "อนิเมะ") และภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตภายในประเทศ

แนว

[แก้]

อนิเมะมีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอ็กชั่น, ผจญภัย, ตลก, โศกนาฏกรรม, แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเร็ม, โรแมนติก,ทำอาหาร, นิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

อนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาจากแนวอนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอนิเมะเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อนิเมะแนวแอ็กชันส่วนใหญ่จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลก และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันอนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่องก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้อนิเมะแนวแอ็กชั่นเลย

แนวที่สามารถพบได้แค่ในอนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่น ๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)

  • บิโชโจะ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า "เด็กสาวหน้าตาดี") อนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาวหน้าตาสวยงาม เช่น เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ
  • บิโชเน็ง: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า "เด็กหนุ่มหน้าตาดี") อนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่น ฟูชิกิยูกิ
  • เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร "H" ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า "ทะลึ่ง" อนิเมะในแนวนี้จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวามแต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด
  • เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า "ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ" หรือ "วิตถาร") เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเรียกอนิเมะที่จัดได้ว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ  (อ่านว่า "จูฮาจิคินอนิเมะ"; อนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ  (อ่านว่า "เอโระอนิเมะ"; มาจาก "erotic anime" แปลว่า "อนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)
  • อนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน
  • โชเน็ง: อนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่น ดราก้อนบอล, นารูโตะนินจาจอมคาถา,เซนต์เซย์ย่า
  • โชโจะ: อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่น เซเลอร์มูน,ซินามอโรล,ฝากใจไปถึงเธอ
  • เซเน็ง: อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส,โอ้เทพธิดา
  • โจเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "ผู้หญิงอายุน้อย") อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ
  • มาโฮโชโจะ: แนวย่อยหนึ่งของอนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ
  • มาโฮโชเน็ง: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล
  • โชโจะไอ/ยูริ: อนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่น สตรอเบอรี่พานิก
  • โชเน็งไอ/ยาโออิ: อนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่น เลิฟเลส

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "What is Anime?". Lesley Aeschliman. Bellaonline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2007. สืบค้นเมื่อ October 28, 2007.
  2. "Anime". Merriam-Webster. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2012. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อนิเมะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?