For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ออตโต สเติร์น.

ออตโต สเติร์น

Otto Stern
ออทโท ชแตร์น
เกิด17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431
โซเรา ราชอาณาจักรปรัสเซีย
(ชอรือ ประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน)
เสียชีวิต17 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (81 ปี)
เบิร์กลีย์, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเบรสเลา
มหาวิทยาลัยเกอเทแห่งแฟรงค์เฟิร์ต
มีชื่อเสียงจากการทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค
การแบ่งส่วนของสปิน
ลำโมเลกุล
ความสัมพันธ์สเติร์น-วอลเมอร์
(Stern–Volmer relationship)
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (พ.ศ. 2486)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยรอสตอค
มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ค
มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์

ออตโต สเติร์น หรือออทโท ชแตร์น (Otto Stern, 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน-เยอรมัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2486[1] รู้จักกันในฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค ร่วมกับวัลเทอร์ แกร์ลัค

สเติร์นเกิดในครอบครัวชาวยิว เป็นบุตรของออสการ์ (Oskar Stern) ชแตร์น และยูเฌเนีย ชแตร์น (Eugenia Stern) (นามสกุลเดิม โรเซินทัล (Rosenthal)) ที่เมืองโซเรา ราชอาณาจักรปรัสเซีย (ปัจจุบันคือชอรือ ประเทศโปแลนด์) เขาศึกษาที่ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา และที่มหาวิทยาลัยเบร็สเลา โดยทำงานร่วมกับออทโท ซัคคัวร์ (Otto Sackur) ในหัวข้อทฤษฎีจลน์ของความดันออสโมติกในสารละลายเข้มข้น ต่อมาสเติร์นทำงานร่วมกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (หรืออัลแบร์ท ไอน์ชไตน์) ที่มหาวิทยาลัยคาร์ลอวา (หรือชาลส์) ณ กรุงปราก ครั้นปี พ.ศ. 2456 สเติร์นย้ายไปทำงานที่เอเทฮา ซือริช ณ เมืองซือริช (หรือซูริก) เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มต้น สเติร์นทำงานด้านอุตุนิยมวิทยาในแนวหน้าติดรัสเซีย ในขณะที่ศึกษาต่อ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2458 เขาเข้าเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยฟรังค์ฟวร์ท (หรือแฟรงก์เฟิร์ต) หกปีต่อมา เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยรอสตอคและทำงานเป็นเวลาสองปี ก่อนจะไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันเคมีเชิงฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ค

ชีวิตการงานของสเติร์นราบรื่นมาเป็นเวลาหลายปี ตราบจน พ.ศ. 2476 พรรคนาซีเข้ายึดอำนาจและพยายามสังหารชาวยิว เขาและไอน์สไตน์ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศเยอรมนี โดยสเติร์นปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์สาขาฟิสิกส์ที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เมืองพิตต์สเบิร์ก สหรัฐ) และได้มีโอกาสเป็นศาสตราภิชาน (อาจารย์รับเชิญ) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ด้วย[2] ครั้นลาออกจากสถาบันเทคโนโลยีฯ แล้ว ได้ย้ายไปพำนักที่เมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2512 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

สเติร์นเป็นนักฟิสิกส์สายทดลอง เข้าค้นพบการมีอยู่ของสปินโดยการทดลองซึ่งใช้แท่งแม่เหล็กรูปร่างไม่เหมือนกันเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอ กล่าวคือ ทิศทางไม่เป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อยิงลำอะตอมเงิน พบว่า อะตอมเงินชนกับฉากเป็นแนวเส้นสองเส้น เนื่องจากอะตอมมีสมบัติเป็นวงกระแสไฟฟ้าในตัว (นอกเหนือจากเป็นโมเมนตัมเชิงมุม) เมื่อมีสนามแม่เหล็กภายนอกมากระทำในทิศทางไม่ตั้งฉากกับวงกระแสไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดทอร์ก เบี่ยงทิศทางของการเอียงของอะตอมไป ฟิสิกส์แบบฉบับคาดการณ์ว่า อะตอมจะชนกับฉากในตำแหน่งใดก็ได้ แต่พบว่า อะตอมชนกับฉากเป็นสองเส้น ต่อมาจึงมีการกำหนดสมบัติความเป็นวงกระแสไฟฟ้าของอะตอมว่า สปิน โดยกำหนดให้โมเมนต์แม่เหล็ก (ซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์มีค่าเท่ากับผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับพื้นที่ของวงวนกระแส ทิศทางตามนิ้วหัวแม่มือขวาที่กำตามทิศของกระแส) ของอะตอม มีค่าเท่ากับโบร์แมกนีตอน[3][4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stern, Otto (1943). "The Nobel Prize in Physics 1943". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2018-05-23.
  2. "Otto Stern" (PDF). National Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  3. Stern-Gerlach Experiment
  4. Walther Gerlach & Otto Stern, "Das magnetische Moment des Silberatoms", Zeitschrift für Physik, V9, N1, pp. 353–355 (1922).
  5. Friedrich, Bretislav; Herschbach Dudley (December 2003). "Stern and Gerlach: How a Bad Cigar Helped Reorient Atomic Physics". Physics Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 7 October 2007.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ออตโต สเติร์น
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?