For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อภิรดี ภวภูตานนท์.

อภิรดี ภวภูตานนท์

ดร.อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
เกิด23 กันยายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสโอภาส ทศพร
(2530–2549; หย่า)
วินธัย สุวารี
(2556–ปัจจุบัน)
บุตร3 คน
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นลำยองทองเนื้อเก้า (2530)
อีสา – อีสา (2531)
คุณนายลั่นทม – สุสานคนเป็น (2534)
เหมยหลิงลอดลายมังกร (2535)
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้แสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 – ภุมรีสีทอง
ดาราร้ายหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2531 – คนกลางเมือง
โทรทัศน์ทองคำดารานำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2530 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2531 – อีสา
เมขลาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2530 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2535 – ลอดลายมังกร
ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2541 – ดวงยิหวา

ดร.อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม [1][2](เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น แก้ว เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย

ประวัติ

[แก้]

อภิรดีมีชื่อเล่นว่า แก้ว เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร[3] เป็นบุตรของพันตำรวจเอก (พิเศษ) ทศพล และอำไพ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เธอมีเชื้อสายมอญ[4]อภิรดีเข้ารับการศึกษาระดับปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ, ระดับประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์, ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ[3] และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจาก ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกริก และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2560[5][6] หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า

เธอเข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกจากการเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา และต่อมาเธอก็ได้รับการสนับสนุนจากจีรวรรณ กัมปนาทแสนยากรให้เป็นนักแสดง[3] โดยภาพลักษณ์และบทบาทของอภิรดีถูกวางให้เป็นนางเอกบู๊ ก่อนที่จะหันมารับบทร้ายบทเซ็กซี่ในจอเงิน

ในปี พ.ศ. 2530 อภิรดีแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง ทองเนื้อเก้า ทางช่อง 7 ซึ่งเป็นผลงานละครชิ้นแรกของเธอ ละครประสบความสำร็จอย่างสูง ทำให้ชื่อเสียงของอภิรดีขึ้นมานักแสดงชั้นแนวหน้าที่มากฝีมือการแสดง อีกทั้งบทลำยองจากเรื่องนี้ก็เป็นภาพจำติดตัวอภิรดีมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากทองเนื้อเก้า ละครที่โด่งดังสุดๆ ของอภิรดีอีกเรื่อง คือ สุสานคนเป็น ซึ่งประชันบทบาทกับชไมพร นางเอกและนักแสดงมากฝีมือ ละครเรื่องนี้ทำคนเกลียดชีพรสสุคนธ์ ขณะเดียวกันก็หวาดกลัวผีคุณนายลั่นทมกันทั้งประเทศ ละครโด่งดังมากจนทำให้ชีพ ซึ่งรับบทโดยภาณุเดช ที่ถือเป็นหน้าใหม่ในวงการขณะนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

อภิรดีถือเป็นนักแสดงที่รับบทได้หลากหลาย ไม่ยึดติดกับภาพนางเอกเหมือนนางเอกร่วมรุ่นส่วนใหญ๋ เธอเป็นทั้งนางเอกนักบู๊ นางร้ายยั่วยวน นักแสดงบทชีวิตเข้มข้น หรือนางเอกกุ๊กกิ๊ก อย่างในละครเรื่อง แววมยุรา อภิรดีก็สามารถเล่นบทที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้ทั้งหมด

แม้บทบาทในจอเงินของอภิรดีมักเป็นบทร้ายบทรอง กระทั่งตอนที่โด่งดังสุดขีดจากทองเนื้อเก้าแล้วก็ตาม แต่ในทางจอแก้ว อภิรดีนับเป็นนักแสดงจากสายภาพยนตร์ในยุคนั้นที่ผันมารับงานละครโทรทัศน์ได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อภิรดีสมรสกับโอภาส ทศพร ตั้งแต่ปีประมาณ พ.ศ. 2530 และใช้ชีวิตคู่กันหลายปี มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ ปภณ (บูม), ภัสกร (แบงก์) และเลลาณี (เบลล์)[3] ก่อนจะหย่าเมื่อ พ.ศ. 2549[7] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากหนี้สินในการทำธุรกิจ [8]

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เธอรับว่าจดทะเบียนสมรสแล้วกับพันเอกวินธัย สุวารี (ยศในขณะนั้น)[9] หลังจากที่ทั้งคู่ได้คบหากันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี[10] แต่แยกกันอยู่[11]

ผลงานการแสดง

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2530 ทองเนื้อเก้า ลำยอง ช่อง 7
2531 อีสา อุษาวดี / อีสา
อาศรมสาง วาสิฏฐี ช่อง 3
สงครามเก้าทัพ คุณหญิงจันทร์
2532 กว่าจะถึง(ท่า)พระจันทร์ ช่อง 9
แววมยุรา แววมยุรา ช่อง 7
เมียหลวง อรอินทร์ (อร)
2533 ดวงตาสวรรค์ แพน ดั้นนา
2534 สุสานคนเป็น คุณนายลั่นทม
2535 ลอดลายมังกร เหมยหลิง
คุณหญิงนอกทำเนียบ คุณหญิงอรุณวตี
2536 หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น มาลีวรรณ
2537 ศิลามณี คุณหญิงอทิต
ไฟในทรวง ทิพย์ ช่อง 3
2538 เงาราหู มัลลิกา
แหวนทองเหลือง ดวงใจ / หทัยทิพย์ UTV
สัญญาณลวง เจ้าอินทราณี ช่อง 5
2539 ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก ร้อยตรีหญิง ไหมทอง
ก้านกฤษณา กฤติกา ช่อง 3
ปะการังสีดำ ปะการัง (สาหร่าย) ช่อง 7
2540 รอยไถ บัวเผื่อน
ชุมทางเขาชุมทอง เครือ ช่อง 5
ทานตะวัน บุณฑริกา ช่อง 3
2541 ดวงยิหวา วีนัส
สื่อสิเน่หา วดี ช่อง 7
2542 ตามรอยรัก วิภา
ใกล้ไกลหัวใจเดียวกัน เดือนฉาย ช่อง 5
2543 ม่านบังใจ สร้อยทอง ช่อง 7
มิติใหม่หัวใจเดิม รักร้อย
น้ำผึ้งขม จวงจันทร์ ช่อง 3
เวลาในขวดแก้ว ชุลีพร
2544 วังวารี จุฬาลักษณ์
เรือนนพเก้า สร้อยสน
เมียจำเป็น ยวนใจ อัครมนตรี ช่อง 7
เศรษฐีตีนเปล่า ลำไย
ต้นรัก รักเร่
เพชรตัดเพชร แองจี้
2545 รุ่งทิพย์ ราศี / รุ่ง
ตามรักตามล่า กรองทอง
ทายาทนิรนาม จุไร ช่อง 3
2546 เจ้านายวัยกระเตาะ นัญญา
กรงเพชร ลักขณา
ห้องหุ่น พิไล ช่อง 7
2547 อุ่นไอรัก พรระวี
ทัดดาวบุษยา เดือน ช่อง 5
เขยมะริกัน รัมภา ช่อง 3
2548 ปิ๊ง
บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย ปิ่นเกศ อัศวเกรียงไกร
หนึ่งตะวันพันดาว ลดา ช่อง 7
2549 ธิดาซาตาน มาลาตี
เงินปากผี มาลิน ไอทีวี
รังนกบนปลายไม้ เหมือนฝน ช่อง 3
2550 สุดแต่ฟ้ากำหนด พวงพยอม
เพียงผืนฟ้า เครือ ช่อง 7
2551 ศิลามณี คุณหญิงเสมอใจ
เสน่ห์นางงิ้ว วลี
2553 ตะวันยอแสง พริ้มเพรา เดชาบดินทร์
เพียงใจที่ผูกกัน มินตรา ช่อง 3
เจ้าสาวริมทาง สมร ช่อง 7
2555 ลูกผู้ชายไม้ตะพด เจ๊กี
เกิดเป็นหงส์ สุรัสวดี
ปิ่นอนงค์ ครองสุข
รักเกิดในตลาดสด รัศมี ช่อง 3
สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน คุณนายพรทรัพย์ ศิริรุ่งโรจน์
รากบุญ ชูจิต
2556 ตะวันบ้านทุ่ง ตับเต่า
มารกามเทพ ทับทิม ช่อง 5
มายาสีมุก ชลลดา ช่อง 7
2557 คู่ปรับตำรับเฮี้ยน อาม่าหยาอิน
เล่ห์นางหงส์ วิกานดา
ล่ารักสุดขอบฟ้า พระมเหสีสาวิตรี
ใยกัลยา วดี / สุรีย์
2558 คนละโลก คุณนายนิลสี
ตะพดโลกันตร์ เจ๊กี
ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด บุญหลาย ช่องวัน
สะใภ้สายลับ คุณหญิงเพียงแข ช่อง 3
ทางผ่านกามเทพ คุณหญิงปิ่นมณี
2559 วิมานเมขลา น้าไข่มุก
บุษบาหน้าตลาด กรจีบ เทวะประสิทธิ์
2560 เพชรกลางไฟ คุณหญิงไกรเพชรรัตน์
ละครคน แววนิล จีเอ็มเอ็ม 25
โซ่เสน่หา แสงระวี ช่อง 7
2561 เพชรร้อยรัก สบสมัย
ดาวจรัสฟ้า พิมพา เพชรมงคล (พิม) ช่องวัน
ข้ามสีทันดร รื่นเริง ช่อง 3
แก้วกุมภัณฑ์ ป้ามิ่งขวัญ
2562 ตุ๊กตาผี นางจัน
เรือมนุษย์ นางไส ช่อง7
เสียงเอื้อนสะเทือนดาว ป้าเจียม ช่องวัน
2563 นางฟ้าลำแคน พิมพา / ป้าสุข
ชีช้ำกะหล่ำพลอย งามจิตต์ ทรูโฟร์ยู
เงาบุญ รัตติยา ช่อง 7
Club Friday the Series 12 รักซ่อนเร้น ตอน แม่เลี้ยง แม่ จีเอ็มเอ็ม 25
2564 สะใภ้เจ้าสัว อาหลิว ช่อง 3
อีสาวอันตราย ศิณี
วานวาสนา คุณหญิงพจนิจ ช่องวัน
2565 เวลากามเทพ ญาดา
La cuisine เมนูลับฉบับแก้มยุ้ย ชมจันทร์ ช่อง 9
2566 18 มงกุฎสะดุดเลิฟ ปาริณี ช่อง 3
2567 ไลลาธิดายักษ์3 พีพหลิว ช่องวัน

ละครสั้น

[แก้]

งานเพลง

[แก้]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • อั้งยี่ (2526)
  • ลำพูนดำ (2526)
  • แม่หัวลำโพง (2526)
  • เงิน เงิน เงิน (2526)
  • นักเลงร้อยคม (2526)
  • แก้วขนเหล็ก (2526)
  • อีสาวเมืองสิงห์ (2526)
  • พยัคฆ์ทมิฬ (2526)
  • ข้าจะอยู่ค้ำฟ้า (2527)
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • สวนทางปืน (2527)
  • ไอ้โหด .357 (2527)
  • สาลิกาลิ้นทอง (2527)
  • เพชรตัดเพชร (2527)
  • พูดด้วยปืน (2527)
  • แม่สาวสุพรรณ (2527)
  • เพชรภูเรือ (2527)
  • ไอ้ชาติเหล็ก (2527)
  • ป่าเดือด (2527)
  • ผ่าโลกันต์ (2527)
  • ชุมแพ ภาค 2 (2527)
  • ดับเจ้าพ่อ (2527)
  • สาวบัวตอง (2527)
  • พลิกแผ่นดินล่า (2527)
  • มดตะนอย (2527)
  • พญาเหยี่ยวโกลก (2527)
  • ผ่าโลก 2 แผ่นดิน (2527)
  • เขี้ยวฉลาม (2527)
  • ปางรัก (2528)
  • ไอ้งูเห่า (2528)
  • ขุมทองแม่น้ำแคว (2528)
  • ไม่ใหญ่อย่าอยู่ (2528)
  • ฟ้ากำหนด (2528)
  • ฝน (2528)
  • สาวลมกรด (2528)
  • สู้สะท้านเมือง (2528)
  • นักเลงสิบล้อ (2528)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ดวลปืน (2529)
  • สะใภ้ (2529)
  • ท้ายิง (2529)
  • น.ส.กาเหว่า (2529)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • เหยื่อทรชน (2530)
  • นักฆ่าหน้าหยก (2530)
  • เมียหมายเลข 1 (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • เพชรสลัม (2530)
  • ฆ่าปิดปาก (2530)
  • ฆ่าด้วยเสน่หา (2530)
  • สะใภ้เถื่อน (2530)
  • นักสู้เทวดา (2530)
  • เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530)
  • วิญญาณรักคลั่งสวาท (2530)
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • รักสำรอง (2531)
  • แก่นแก้ว (2531)
  • ซอสามสาย (2531)
  • เพชรเหนือเพชร (2531)
  • กว่าจะได้เป็นเมีย (2531)
  • เรือมนุษย์ (2531)
  • คนกลางเมือง (2531)
  • คุณนายแจ๋วแหวว (2531)
  • พยัคฆ์ร้ายเดนตาย (2531)
  • สองตระกูลดิบ (2531)
  • ทอง 3 (2531)
  • คำพิพากษา (2533)
  • ทับเทวา (2533)
  • แม่เบี้ย (2533)
  • รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
  • ไฟกลางฝน (2534)
  • เร็วกว่าใจ ไกลเกินฝัน (2536)
  • กู๊ดบายซัมเมอร์ เอ้อเหอเทอมเดียว (2539)
  • รินลณี ผีถ้วยแก้ว (2547)
  • 7 ประจัญบาน 2 (2548)
  • ถึงเป็นถึงตาย (2548)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา (2550)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ (2550)
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553)

พิธีกร

[แก้]
  • รายการ เกมตั้งตัว
  • รายการ นี่สิ...ช่อง 9
  • รายการ แม่บ้านประจัญบาน

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""แก้ว อภิรดี" โต้จดทะเบียน "เสธ.ต๊อด" ยันยังใช้นามสกุลสามีเก่า" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 6 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. ((cite press release)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. กระปุกดอตคอม. แก้ว อภิรดี แก้ข่าวจดทะเบียนสมรส ผู้พันต๊อด รับไปอำเภอจริง. เรียกดูเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ดี
  4. แก้ว อภิรดี ภวภูตานนท์ อินสตาแกรม
  5. "ดร.ป้ายแดง! 'แก้ว อภิรดี'เรียนจบปริญญาเอก 'เสธ.ต๊อด'จัดเซอร์ไพรส์ใหญ่ให้". ข่าวสด. 20 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""แก้ว อภิรดี" คว้าปริญญาเอก หวานใจ "เสธ.ต๊อด" หอบตุ๊กตาตัวใหญ่ยินดี". Nation TV. 21 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ข่าว ผู้จัดการ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549[ลิงก์เสีย]
  8. ข่าว คมชัดลึก 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549
  9. "จดแล้ว "แก้ว อภิรดี" นอนกอดทะเบียนสมรส "ผู้พันต๊อด"" (Press release). มติชน. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. ((cite press release)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. กระปุกดอตคอม. แก้ว อภิรดี ยอมรับ จดทะเบียนสมรสกับ ผู้พันต๊อด. เรียกดูเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556
  11. สำนักข่าวไทย (20 กุมภาพันธ์ 2556). “แก้ว อภิรดี” รับจดทะเบียน “ผู้พันต๊อด” แต่แยกกันอยู่[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 11 เมษายน 2556
  12. "ดาวเมขลา ปี 59 มอบรางวัล ศิลปินคนดีศรีสังคมปีมหามงคล ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์". ข่าวสดออนไลน์. 30 มีนาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อภิรดี ภวภูตานนท์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?