For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หมึกกล้วย.

หมึกกล้วย

หมึกกล้วย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียส-ปัจจุบัน, 65–0Ma [1]
หมึกหอม หรือหมึกตะเภา (Sepioteuthis lessoniana)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
ชั้นย่อย: Coleoidea
อันดับใหญ่: Decapodiformes
อันดับ: Teuthida
Naef, 1916[2]
อันดับย่อย
  • Plesioteuthididae † (ไม่แน่นอน)
  • Myopsina
  • Oegopsina[2]
ภาพเคลื่อนไหวของหมึกหอม

หมึกกล้วย เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง อยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันดับ Teuthida

ลักษณะ

[แก้]
รูปแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของหมึกกล้วย 1. ท่อน้ำออก, 2. หนวดจับ, 3. ปาก 4. ระยางค์ครีบรูปสามเหลี่ยม 5. หนวด, 6. ตา, 7. ลำตัว

หมึกกล้วย นับเป็นหมึกที่มนุษย์คุ้นเคยมากที่สุด เป็นที่รู้จักมากที่สุด หมึกกล้วยมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม มีระยางค์เหมือนครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ทางด้านซ้ายและขวา มีหนวดทั้งหมด 10 หนวด และจะมีอยู่คู่หนึ่งที่ยาวกว่าหนวดอื่น ๆ ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร เรียกว่าเป็นหนวดล่าเหยื่อ หรือหนวดจับ โดยหนวดอื่น ๆ นั้นจะใช้สำหรับช่วยเพื่อไม่ให้อาหารหลุดไป ก่อนที่จะกัดกินเข้าปาก[3]

หมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีรูปร่างเพรียวยาว ภายในลำตัวมีแคลเซียมแข็งลักษณะโปร่งใส เรียกว่า เพน (Pen) ที่มีขนาดเล็กและบางกว่าลิ้นทะเลที่เป็นแคลเซียมแข็งเช่นเดียวกันในกลุ่มหมึกกระดอง[4][3]

การเปลี่ยนสี

[แก้]

หมึกกล้วย เป็นสัตว์ที่เปลี่ยนสีลำตัวได้อย่างรวดเร็วมาก โดยใช้การบีบรัดของเม็ดสี ตั้งแต่สีแดง น้ำเงิน และเขียว โดยทั่วไปแล้ว หมึกกล้วยเมื่ออยู่ในทะเลจะมีลำตัวสีน้ำเงินเพื่อให้กลมกลืนไปกับสภาพของน้ำทะเล แต่เมื่อถูกจับขึ้นมาแล้วหรือขึ้นมาใกล้ ๆ กับผิวน้ำ จะเปลี่ยนสีตัวเองเป็นสีแดงเข้ม อันเนื่องจากในท้องทะเล สเปคตรัมจากแสงอาทิตย์เมื่อผ่านทะลุไปยังท้องทะเล แสงสีแดงจะเป็นสีแรกที่ถูกดูดกลืนหายไป ดังนั้นด้วยทัศนวิสัยการมองเห็นรวมทั้งสายตาของมนุษย์ด้วย จึงจะเห็นสภาพทั่วไปของท้องทะเลเป็นสีน้ำเงินคราม หรือสีม่วงเข้ม เมื่อหมึกสายถูกนำตัวขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ การมองเห็นของตัวหมึกจะเห็นเป็นสีแดง จึงเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีแดงเพื่อการพรางตัว[3]

การพรางตัว

[แก้]

หมึกกล้วย ใช้วิธีการป้องกันด้วยการพ่นหมึก ซึ่งเป็นของเหลวสีดำคล้ำซึ่งประกอบด้วยเมลามีนและสารเคมีประเภทอื่น ใช้สำหรับการหลบหนี โดยการพ่นหมึกของหมึกกล้วยนั้น ส่วนมากจะใช้วิธีการพ่นแบบกลุ่มก้อนหมึกให้เป็นกลุ่มใหญ่ และตัวหมึกจะซ่อนตัวอยู่ในนั้น อันเนื่องจากหมึกกล้วยเป็นหมึกที่ว่ายอยู่ในระดับกลางน้ำรวมถึงสรีระที่มีแกนแข็งอยู่ภายใน จึงไม่สามารถหาที่หลบซ่อนหรือเข้าไปซ่อนในที่กำบังต่าง ๆ ได้เหมือนอย่างหมึกสาย[3]

พฤติกรรม

[แก้]

หมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มักว่ายและหากินอยู่บริเวณกลางน้ำ จับสัตว์น้ำทั่วไปกินเป็นอาหาร แม้กระทั่งหมึกพวกเดียวกันเองก็ตาม การว่ายน้ำของหมึกกล้วยเป็นไปอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เนื่องจากมีท่อสำหรับดูดน้ำทะเลที่มีออกซิเจนเข้าไปใช้ในการหายใจ และใช้พ่นน้ำออกมาโดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องยนต์เจ็ท ซึ่งหากหมึกกล้วยพ่นน้ำออกจากท่อนี้ด้วยความแรง ก็สามารถจะเป็นแรงผลักดันในการเคลื่อนที่ให้ลำตัวพุ่งไปในทางตรงกันข้ามได้อย่างรวดเร็ว[5]

ประสาทสัมผัสและการผสมพันธุ์

[แก้]

นอกจากนี้แล้ว หมึกกล้วย ยังเป็นสัตว์ที่ไม่มีประสาทรับรู้ความเจ็บปวด ดังนั้นแม้จะถูกตะขอของชาวประมงเกี่ยวขึ้นมาก็ไม่รับรู้ถึงความเจ็บปวด หากไม่ไปถูกอวัยวะสำคัญแล้ว เมื่อหมึกกล้วยสามารถหลุดออกมาหรือถูกปล่อยลงน้ำ ก็สามารถว่ายต่อไปได้อีกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หมึกกล้วยมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่ไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นใด เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้วจะไม่สนใจสิ่งใด ๆ เลย แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอันตรายต่อตนเองก็ตาม ตัวผู้จะจ้องดูตัวเมียแล้วพุ่งตัวเข้ากอดรัดโดยใช้หนวดมัดจนตัวเมียดิ้นไม่หลุด ขณะเดียวกันสีผิวของตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงจากนั้นตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปในตัวเมีย หลังจากนั้นตัวผู้และตัวเมียก็แยกย้ายจากกันโดยอาจไม่มีโอกาสมาพบกันอีกเลย ส่วนตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ตามก้อนหินไข่ที่วางไว้มีลักษณะเป็นวุ้นเหนียวแข็งห่อหุ้มไข่ไว้ ตัวเมียวางไข่ครั้งละประมาณ 1,500 ฟอง และจะปล่อยให้ลูกหมึกฟักออกมาเป็นตัวตามธรรมชาติโดยไม่ได้ดูแล หลังจากวางไข่แล้วหมึกตัวเมียจะมีสภาพร่างกายที่อ่อนเพลียและจะล้มตายลง ซึ่งในบางครั้งจะตายลงพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก จนเสมือนเป็นสุสานของหมึกกล้วยใต้ทะเล[6]

ออกหากิน

[แก้]

หมึกกล้วย มักจะออกหากินและจับคู่กันในเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงที่มีน้ำขึ้น ดังนั้น ชาวประมงจึงมักหาหมึกกล้วยในเวลานี้ โดยใช้แสงไฟเป็นตัวล่อ[6]

หมึกกล้วยขนาดอื่น ๆ

[แก้]

นอกจากนี้แล้ว หมึกกล้วย ยังถือได้ว่าเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยหมึกกล้วยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ หมึกมหึมา หรือหมึกโคลอสซัล ที่อาศัยอยู่ในระดับความลึกถึง 2,000 เมตร เป็นหมึกที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันถึงพฤติกรรมและข้อมูลต่าง ๆ มากนักในทางวิทยาศาสตร์ มีความยาวได้ถึง 14 เมตร[7] รวมถึงหมึกยักษ์ ที่ก็เหมือนกับหมึกมหึมาเช่นกัน จนกลายมาเป็นเรื่องเล่าหรือตำนานต่าง ๆ ของสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ใต้ท้องทะเล เช่น คราเคน หรือปรากฏในวัฒนธรรมร่วมสมัยประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ หรือนวนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น Twenty Thousand Leagues Under The Sea ที่เรือดำน้ำนอติลุส ถูกโจมตีโดยฝูงหมึกยักษ์ แห่งมหาสมุทรแอตแลนติก[8]

หมึกกล้วย ที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น หมึกฮัมโบลด์ แห่งมหาสมุทรแอตแลนติก หรือหมึกไดมอนด์ แห่งมหาสมุทรแปซิฟิก ก็เป็นหมึกที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยตัวโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 9 ฟุต หรือ 1 เมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 25 กิโลกรัม เป็นหมึกน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในระดับความลึกถึง 200 เมตร ซึ่งหมึกทั้งสองประเภทนี้เป็นหมึกที่มักถูกจับในทางประมง มีรสชาติดี และมีราคาซื้อขายกันสูง[3][9]

การจำแนก

[แก้]

ปัจจุบัน หมึกกล้วยถูกอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 300 ชนิด ในทั้งหมด 29 วงศ์

  • ชั้น Cephalopoda
    • ชั้นย่อย Nautiloidea: หอยงวงช้าง
    • ชั้นย่อย Coleoidea: หมึกกล้วย, หมึกสาย, หมึกกระดอง
      • อันดับใหญ่ Octopodiformes
      • อันดับใหญ่ Decapodiformes
        • ?อันดับ †Boletzkyida
        • อันดับ Spirulida: หมึกเขาแกะ
        • อันดับ Sepiida: หมึกกระดอง
        • อันดับ Sepiolida: หมึกบ็อบเทล
        • อันดับ Teuthida: หมึกกล้วย
          • วงศ์ †Plesioteuthididae (ไม่แน่นอน)
          • อันดับย่อย Myopsina
            • วงศ์ Australiteuthidae
            • วงศ์ Loliginidae: หมึกชายฝั่ง, หมึกต้นหญ้า
          • อันดับย่อย Oegopsina
            • วงศ์ Ancistrocheiridae: หมึกชาร์เพียร์ อีนอป
            • วงศ์ Architeuthidae: หมึกยักษ์
            • วงศ์ Bathyteuthidae
            • วงศ์ Batoteuthidae: หมึกบุช-คลับ
            • วงศ์ Brachioteuthidae
            • วงศ์ Chiroteuthidae
            • วงศ์ Chtenopterygidae: หมึกหวีคู่
            • วงศ์ Cranchiidae: หมึกแก้ว
            • วงศ์ Cycloteuthidae
            • วงศ์ Enoploteuthidae
            • วงศ์ Gonatidae: หมึกหนวดตะขอ
            • วงศ์ Histioteuthidae: หมึกอัญมณี
            • วงศ์ Joubiniteuthidae: หมึกจูบิน
            • วงศ์ Lepidoteuthidae: หมึกเกล็ดกริมาลดี
            • วงศ์ Lycoteuthidae
            • วงศ์ Magnapinnidae: หมึกบิ๊กฟิน
            • วงศ์ Mastigoteuthidae: หมึกแส้
            • วงศ์ Neoteuthidae
            • วงศ์ Octopoteuthidae
            • วงศ์ Ommastrephidae: หมึกบิน
            • วงศ์ Onychoteuthidae: หมึกตะขอ
            • วงศ์ Pholidoteuthidae
            • วงศ์ Promachoteuthidae
            • วงศ์ Psychroteuthidae: หมึกเกลเซีย
            • วงศ์ Pyroteuthidae: หมึกไฟ
            • วงศ์ Thysanoteuthidae: หมึกรอมบอยด์
            • วงศ์ Walvisteuthidae
            • Parateuthis tunicata (ไม่แน่นอน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. [0138:TCJFTU2.0.CO;2 Tanabe, K.; Hikida, Y.; Iba, Y. (2006). "Two Coleoid Jaws from the Upper Cretaceous of Hokkaido, Japan". Journal of Paleontology 80 (1): 138–145. doi:10.1666/0022-3360(2006)080[0138:TCJFTU]2.0.CO;2]
  2. 2.0 2.1 จาก itis.gov
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 การพัฒนา, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556
  4. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
  5. หมึกกล้วย / วินิจ รังผึ้ง จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 "พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการหนีภัย ของหมึกกล้วย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
  7. บพิธ จารุพันธุ์,รศ. นันทพร จารุพันธุ์,รศ. สัตววิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาสัตววิทยา, พิมพ์ครั้งที่4, 2547. หน้า171
  8. "ปลาหมึกยักษ์ (Giant Squid)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
  9. Squid, "Rouge Nature With Dave Salmoni" โดย อนิมอลพลาเน็ต สารคดีทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 25 ธันวาคม 2555

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หมึกกล้วย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?