For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สกุลศิลปะอูตางาวะ.

สกุลศิลปะอูตางาวะ

“เป็ดแมนดาริน” โดยฮิโรชิเงะ

สกุลศิลปะอูตางาวะ (ญี่ปุ่น: 歌川派 อังกฤษ: Utagawa school) คือกลุ่มศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้อูกิโยะชาวญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยโทโยฮารุ โดยมีลูกศิษย์ชื่อโทโยกูนิที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อมาหลังจากโทโยฮารุเสียชีวิตไปแล้ว และยกระดับงานของกลุ่มจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มศิลปินที่มีอำนาจและมีชื่อเสียงมากที่สุดในการสร้างงานภาพพิมพ์แกะไม้มาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19

ลูกศิษย์ของอูตางาวะก็ได้แก่ฮิโรชิเงะ คูนิซาดะ คูนิโยชิ และโยชิโตชิ

สำนักศิลปินอูตางาวะได้รับความสำเร็จและเป็นที่รู้จักจนกระทั่งว่ากว่าครึ่งหนึ่งของภาพอูกิโยะที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากตระกูลการพิมพ์ที่ว่านี้

โทโยฮารุผู้ก่อตั้งตระกูลการพิมพ์นำเอาวิธีการเขียนแบบทัศนมิติของตะวันตกมาใช้ในงานเขียนซึ่งเป็นแนวใหม่ในการสร้างงานศิลปะของญี่ปุ่น ผู้ดำเนินตามรอยของโทโยฮารุคนต่อมาที่รวมทั้งอูตางาวะ โทโยฮิโระ และอูตางาวะ โทโยกูนิเขียนในลักษณะที่เป็นการแสดงออกมากขึ้น และยวนอารมณ์ (sensuous style) มากขึ้นกว่างานของโทโยฮารุ และมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทต่าง ๆ โทโยฮิโระในการออกแบบภูมิทัศน์ และโทโยกูนิในการออกแบบภาพพิมพ์ของดาราคาบูกิ ต่อมาจิตรกรของสำนักศิลปินอูตางาวะก็มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทอื่น ๆ เช่นภาพพิมพ์ของนักรบ และ งานล้อเรื่องปริศนา (mythic parodies)[1]

สำนักศิลปินอูตางาวะและชื่อศิลปินสืบทอด

[แก้]

ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นผู้ฝึกงานผู้ประสบความสำเร็จจะได้รับชื่อศิลปิน (“gō” (“โก”)) บางส่วนจากปรมาจารย์[1]โก” ของสำนักศิลปินอูตางาวะมีตั้งแต่อันดับอาวุโสที่สุดไปจนถึงอันดับที่ต่ำที่สุด เมื่อผู้ที่มีอาวุโสที่สุดเสียชีวิตไป ศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ต่างก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาตามลำดับ

ผู้เป็นหัวหน้าสำนักศิลปินอูตางาวะโดยทั่วไปแล้วก็จะใช้ “โก” (และลงชื่อในภาพเขียน) ว่า “โทโยกูนิ” เมื่อคูนิซาดะที่ 1 ประกาศตนเป็นหัวหน้าของตระกูลอูตางาวะราวปี ค.ศ. 1842) ก็เริ่มลงชื่อว่า “โทโยกูนิ” และผู้อาวุโสรองลงมา โคโจโระ ซึ่งเป็นชื่อเดิมที่คูนิซาดะที่ 1 ใช้ก็ลงชื่อตนเองว่า “คูนิซาดะ” หรือในกรณีก็เป็นคูนิซาดะที่ 2

ผู้อาวุโสรองลงมาก็เริ่มลงชื่อว่า “คูนิมาซะ” หรือในกรณีก็เป็นคูนิมาซะที่ 4 ซึ่งเป็น “โก” เดิมของโคโจโระก่อนที่จะมาใช้ชื่อ “คูนิซาดะที่ 2” (คูนิมาซะเดิมเป็นลูกศิษย์ของโทโยกูนิที่ 1)

รายชื่อสมาชิกบางท่านของสำนักศิลปินอูตางาวะ:

  • โทโยกูนิ (ที่ 1)
  • โทโยชิเงะ -> โทโยกูนิ (ที่ 2)
  • คูนิซาดะ (ที่ 1) -> โทโยกูนิ (ที่ 3)
  • โคโจโระ -> คูนิมาซะ (ที่ 3) -> คูนิซาดะ (ที่ 2) -> โทโยกูนิ (ที่ 4)
  • โคโจโระ (ที่ 2) -> คูนิมาซะ (ที่ 4) -> คูนิซาดะ (III) -> โทโยกูนิ (ที่ 5)

โทโยกูนิที่ 2 สองคน

[แก้]

ปัญหาที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อมีศิลปินสองคนที่ต่างก็ใช้ชื่อ “โทโยกูนิที่ 2” ด้วยกันทั้งสองคน

“โทโยกูนิที่ 2” คนแรกคือโทโยชิเงะ ลูกศิษย์ผู้มีฝีมือปานกลางและลูกเขยของโทโยกูนิที่ 1 ผู้กลายมาเป็นหัวหน้าของสำนักอูตางาวะหลังจากการเสียชีวิตของโทโยกูนิที่ 1

คูนิซาดะที่ 1 (โทโยกูนิที่ 3) ผู้ไม่ลงรอยกับโทโยชิเงะ จึงไม่ยอมรับโทโยชิเงะว่าเป็นหัวหน้าของสำนัก เพราะคูนิซาดะมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นลูกศิษย์เอก และเป็นผู้ที่สมควรจะได้รับชื่อของอาจารย์หลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว และมีความรู้สึกว่าโทโยชิเงะได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักเพราะความเกี่ยวพันทางครอบครัวมิใช่ด้วยความสามารถ

เมื่อคูนิซาดะที่ 1 ใช้ชื่อ “โทโยกูนิ” (ราวปี ค.ศ. 1842) ก็กำจัดชื่อ “โทโยกูนิที่ 2” จากประวัติของสำนัก และลงชื่อตนเองว่า “โทโยกูนิที่ 2” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ในปัจจุบันคูนิซาดะที่ 1 ถือว่าเป็น “โทโยกูนิที่ 3”

การที่คูนิซาดะที่ 1 ลงชื่อว่า “โทโยกูนิที่ 2” เป็นผลทำให้โคโจโระผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักต่อมาใช้ชื่อ “โทโยกูนิที่ 3” ที่ควรจะเป็น “โทโยกูนิที่ 4” และ โคโจโระที่ 2 ต่อมาก็ลงชื่อว่า “โทโยกูนิที่ 4” แต่ในปัจจุบันโคโจโระที่ 2 ลำดับใหม่เป็น “โทโยกูนิที่ 5”

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Johnson, Ken, [http://www.nytimes.com/2008/03/22/arts/design/22prin.html?_r=1&ref=design&oref=slogin "Fleeting Pleasures of Life In Vibrant Woodcut Prints", art review in The New York Times, 22 March 2008. Retrieved 26 March 2008

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สำนักศิลปินอูตางาวะ

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สกุลศิลปะอูตางาวะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?