For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1.

สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1

สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก

شەرقىي تۈركىستان ئىسلام جۇمھۇرىيىتى
1933-1934
ธงชาติเตอร์กิสถานตะวันออก
ธงชาติ
Location map of the First ETR
แผนที่ของเขตปกครองกัชการ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกัชการ์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐ
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงกัชการ์
ภาษาทั่วไปภาษาอุยกูร์ (สำเนียงกัชการ์และโคตาน)
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี
การปกครองสาธารณรัฐอิสลาม
ประธานาธิบดี 
• พ.ศ. 2476 - 2477
โคยา นิยาซ
• พ.ศ. 2476 - 2477
ซาบิต มามุลลอ อับดุลบากี
เอมีร์ 
• พ.ศ. 2476 - 2477
มูฮัมหมัด อามิน บูครา
• พ.ศ. 2476 - 2477
อับดุลลอห์ บูครา
• พ.ศ. 2476 - 2477
นูร์ อะห์หมัด ยาน บูครา
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
• ก่อตั้ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
• สิ้นสุด
16 เมษายน พ.ศ. 2477
สกุลเงินเหรียญทองแดง (pul) เหรียญเงิน (tanga) และเหรียญทอง (tilla) ที่ได้จากการทำเหมืองในกัชการ์เมื่อ พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1 (First Eastern Turkestan Republic; ETR) หรือ สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (Islamic Republic of East Turkestan; TIRET; ภาษาอุยกูร์: شەرقىي تۈركىستان ئىسلام جۇمھۇرىيىتى‎‎ Sherqiy Türkistan Islam Jumhuriyiti) เป็นสาธารณรัฐอิสลามอายุสั้น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 ศูนย์กลางอยู่ที่กัชการ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผลจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวอุยกูร์ที่อยู่ในบริเวณนั้น สาธารณรัฐนี้ประกอบด้วยประชากรที่เป็นชาวคีร์กิซและกลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลเตอร์กิกอื่นๆ

จุดกำเนิดของขบวนการเตอร์กิสถานตะวันออก

[แก้]

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 25 โดยได้รับอิทธิพลจากขบวนการยาดิดิสต์ที่แพร่หลายในหมู่ชาวอุยกูร์ โดยเป็นแรงบันดาลใจจากการสร้างชาติตุรกีที่ยิ่งใหญ่ มีการจัดระบบการศึกษาในซินเจียง มีการจัดโรงเรียนแบบตะวันตกที่กัชการ์ เน้นการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาและคณิตศาสตร์ ซึ่งการเคลื่อนไหวของขบวนการนี้ส่งผลต่อสถานะดั้งเดิมในซินเจียง ผู้ปกครองซินเจียง หยาง เจินซิน (楊增新) ได้สั่งปิดโรงเรียนเหล่านี้

การเกิดขึ้นของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐเอเชียกลางที่เน้นสังคมนิยมส่งผลต่ออุยกูร์ เพิ่มกลุ่มของขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาตินิยมและการแพร่กระจายของคอมมิวนิสต์ องค์กรปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นในซินเจียงตั้งแต่ พ.ศ. 2464 พื้นที่นี้มีปัญญาชนที่มีความรู้ด้านคอมมิวนิสต์จากเอเชียกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมเตอร์กิกซินเจียง

สถานการณ์ในซินเจียงเลวลงเมื่อเกิดการลอบสังหารหยาง เจินซินในพ.ศ. 2471 และการขึ้นสู่อำนาจของจิน ชู่เหริน (金樹仁) ผู้ประกาศตนเป็นผู้ปกครองหลังจับกุมและประหารชีวิตผู้ลอบสังหารหยาง เจินซิน ซึ่งคือฝานเย่าหนาน (樊耀南) จินได้ใช้นโยบายทำให้เป็นจีน เพิ่มภาษี นำเจ้าหน้าที่ชาวฮั่นเข้ามาแทนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

การกบฏ

[แก้]
ทหารปฏิวัติอุยกูร์
นายพลหม่า จ้งยิง ผู้บัญชาการกองพลที่ 36 (พ.ศ. 2475 - 2477)
นายพลเชิ่ง ชี่ไข ผู้บัญชาการทหารในซินเจียง (พ.ศ. 2476 - 2487)

สถานการณ์วุ่นวายขึ้นใน พ.ศ. 2473 เมื่อข่านแห่งกุมุลหรือฮามีในซินเจียงตะวันออกนามชาห์ เมกซุตเสียชีวิต ตามนโยบายของราชวงศ์ชิง ข่านสามารถปกครองโดยสืบทอดทายาทจามระบบศักดินาได้ ความสำคัญของฮามีคืออยู่บนเส้นทางหลักที่จะไปยังจีนตะวันออก และมีที่นาที่ยังไม่พัฒนาอยู่มาก และความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการกำจัดอำนาจดั้งเดิมออกไป ทำให้จนสั่งยุบตำแหน่งข่านและเข้าปกครองโดยตรงทันทีหลังชาห์ เมกซุตเสียชีวิต

จิน ชู่เหรินเพิ่มภาษีการเกษตรเป็นสองเท่าสำหรับชาวอุยกูร์ท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ผู้อพยพชาวฮั่นจากมณฑลใกล้เคียงอพยพเข้ามา ทำให้ชาวอุยกูร์ต้องไปรวมตัวในที่ดินคุณภาพต่ำใกล้ทะเลทราย ต้องเพิ่มทหารในฮามี และใน พ.ศ. 2473 การประท้วงของขบวนการต่อต้านเริ่มขึ้น และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วบริเวณ ฟางเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เมื่อเจ้าหน้าที่ชาวจีนชื่อเชียงต้องการแต่งงานกับเด็กหญิงชาวอุยกูร์จากหมู่บ้านด้านนอกฮามี ชาวอุยกูร์กล่าวอ้างว่าเด็กหญิงถูกข่มขืนหรือถูกบังคับ แต่กฎหมายมุสลิมห้ามไม่ให้หญิงมุสลิมแต่งงานกับชายที่ไม่ใช่มุสลิม จึงถูกต่อต้านจากสังคมอุยกูร์

การกบฏเกิดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เมื่อเกิดการสังหารหมู่ฆ่าเชียงและทหารของเขา 33 คนในงานแต่งงาน ผู้อพยพชาวจีนจากมณฑลกานซู 120 คนถูกฆ่าด้วย การต่อต้านการปกครองของจินไม่ได้มีเฉพาะชาวอุยกูร์ แต่มีชาวคาซัก ชาวคีร์กิซและชาวหุยเข้าร่วมด้วย

สหภาพโซเวียตได้ส่งกองทหารเข้ามาช่วยจินและผู้บัญชาการของเขาคือเชิ่ง ชี่ไข (盛世才) เช่นเดียวกับผู้อพยพรัสเซียขาวจากสหภาพโซเวียตและอาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำอีลี การต่อสู้มีศูนย์กลางอยู่ที่อูรุมชี กองทัพหุยภายใต้การนำของเชิ่ง ชี่ไขและการสนับสนุนของทหารโซเวียตและทหารแมนจูเรียที่อพยพหนีการรุกรานของญี่ปุ่นมาจากจีนตอนเหนือ ต่อมา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 จินถูกกองทัพเหล่านี้ปลดและเชิ่งที่สหภาพโซเวียตสนับสนุนขึ้นสืบทอดอำนาจแทน เชิ่งได้แยกกองกำลังของฝ่ายตรงข้ามในบริเวณอูรุมชี โดยให้ทหารชาวอุยกูร์ นำโดย โซยา นิยาซ ฮัจญี ไปอยู่ซินเจียงตอนใต้ และทหารชาวหุย นำโดยหม่า จ้งยิง (馬仲英) ไปอยู่ซินเจียงตอนเหนือ

ทหารชาวหุยอื่นๆในซินเจียงตอนใต้ได้เข้าเป็นพันธมิตรกับทหารอุยกูร์นำโดยติมูร์ เบก และยกทัพเข้ามายังกัชการ์ กองกำลังร่วมระหว่างชาวหุยและอุยกูร์แตกแยกกันอีกครั้ง กองกำลังชาวหุยภายใต้การนำของหม่า จั้นคัง (馬占倉) เข้าเป็นพันธมิตรกับหม่า เช่าอู่ (馬紹武) โจมตีทหารอุยกูร์และฆ่าติมูร์ เบก ต่อมา เกิดกบฏชาวคีร์กิซในซินเจียง หม่า เช่าอู่ ปราบกบฏได้สำเร็จ โดยสหภาพโซเวียตเข้ามามีบทบาทด้วย

การสถาปนาสาธารณรัฐ

[แก้]
การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในกัชการ์

สมาคมเอกราชเตอร์กิสถานตะวันออกได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "เอกราช"(Istqlāl)[1]

ในทางใต้ของที่ราบตาริมแห่งโคตาน สามพี่น้องจากตระกูลบูคราคือ มูฮัมหมัด อามิน บูครา อับดุลลอห์ บูครา และนูร์ อะหมัด ยาน บูครา ซึ่งได้รับการศึกษาเกี่ยวกับลัทธิยาดิดิสต์ ได้เป็นผู้นำก่อกบฏในเหมืองทองใกล้เมืองเกริยา และได้ตั้งตนเองเป็นเอมีร์แห่งเอมิเรตส์โคตานและประกาศเอกราชจากจีนเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2475 ผู้นำเหมืองทองแห่งการากัชได้แจ้งข่าวนี้ไปยังจิน ชู่เหริน ผู้ปกครองและทหารชาวจีนถูกทำลายล้าง ชาวจีนส่วนน้อยในบริเวณนั้นถูกบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม มิฉะนั้นจะถูกประหารชีวิต ต่อมา มูฮัมหมัด อามีน บูคราได้ตั้งสำนักงานกิจการกัชการ์แห่งรัฐบาลโคตานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2476 และในปลายปีนั้นได้เปลี่ยนเป็นสมาคมเอกราชเตอร์กิสถาน โดยมีแนวคิดหลักคือปฏิรูปศาสนาอิสลาม ชาตินิยม และลัทธิยาดิดิสต์

ผู้นำของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ซาบิต ดาโมลลอ ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกโดยมีโฮยา-นิยาซเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพของเชิ่ง ชี่ไขในซินเจียงเหนือ คำประกาศแถลงการณ์จัดตั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าต่อต้านคนจีนและจีนมุสลิม

โฮยา-นิยาซ (พ.ศ. 2432 - 2484?) ประธานาธิบดีของสาธารณัฐเตอร์กิสถานตะวันออก (พ.ศ. 2476 - 2477) รองผู้ว่าการจังหวัดซินเจียง (พ.ศ. 2477 - 2480)

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 สาธารณรัฐเอกราช (สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กีซแห่งเตอร์กิสถานตะวันออกหรือสาธารณรัฐอุยกูร์สถาน) ได้ประกาศก่อตั้งขึ้นในวันนี้ โดยการประกาศจัดตั้งขึ้นในตอนเช้าวันอาทิตย์ที่บริเวณแม่น้ำตูมัน นอกเมืองกัชการ์ มีผู้เข้าร่วมเป็นทหาร 7,000 คน และพลเรือน 13,000 คน รวมทั้งครูและนักเรียน จากนั้นได้มีปาฐกถาที่มัสยิดอิดกะห์ โดยมีซาบิด ซามุลลอห์เป็นผู้พูดหลัก การจัดตั้งนี้แตกต่างจากเอมิเรตส์โคตาน สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกอ้างสิทธิในพื้นที่จากอักซูตามแนวขอบเขตของที่ราบทาริม ไปถึงโคตานทางทิศใต้ ที่จริงแล้ว รัฐบาลกัชคาร์ขาดแคลนทรัพยากร มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และถูกล้อมรอบด้วยกองกำลังที่ไม่เป็นมิตร ทั้งกองกำลังของชาวหุย นำโดย หม่า จั้นคัง แม้จะประกาศจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐหลายเชื้อชาติ สะท้อนให้เห็นจากชื่อเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลชุดแรกได้สร้างเหรียญกษาปต์ ซึ่งสลักชื่อสาธารณรัฐอุยกูร์สถาน (Uyghurstan Jumhuriyiti) ในเอกสารบางแห่งใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งเน้นถึงภาพลักษณ์อิสลาม แต่ในรัฐธรรมนูญระบุว่าชะรีอะห์เป็นกฎหมายที่แนะนำ รูปแบบการค้าเน้นการปฏิรูปและพัฒนา ในรัฐธรรมนูญเน้นการปฏิรูปด้านสุขภาพ การศึกษา และเศรษฐกิจ การประกาศเอกราชของเตอร์กิสถาน ได้วางรูปแบบทางการเมืองภายใต้หลักการ 9 ข้อคือ

  1. สิ้นสุดการปกครองแบบเผด็จการของจีนในแผ่นดินเตอร์กิสถานตะวันออก
  2. ก่อตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่เป็นอิสระและเป็นเอกราช ตั้งอยู่บนความเท่าเทียมกันของทุกเชื้อชาติ
  3. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของเตอร์กิสถานอย่างเต็มที่ สนับสนุนอุตสาหกรรม การเกษตร ปศุสัตว์ และธุรกิจเอกชน เพิ่มมาตรฐานการครองชีพของประชาชน
  4. เพราะประชากรส่วนใหญ่ของเตอร์กิสถานเชื่อในศาสนาอิสลาม รัฐบาลจะสนับสนุนศาสนานี้ แต่ให้เสรีภาพทางศาสนาสำหรับผู้นับถือศาสนาอื่น
  5. พัฒนามาตรฐานทางการศึกษา วัฒนธรรม และสุขภาพในเตอร์กิสถานตะวันออก
  6. พัฒนาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในโลกและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะสหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต ตุรกีและจีน
  7. เพื่อปกป้องสันติภาพในเตอร์กิสถานตะวันออก จะเกณฑ์ประชาชนจากทุกเชื้อชาติเพื่อก่อตั้งกองทัพที่แข็งแกร่ง
  8. ธนาคาร บริการไปรษณีย์ โทรศัพท์และโทรเลข ป่าไม้และทรัพยากรที่มีค่าเป็นของชาติ
  9. สิ้นสุดแนวคิดปัจเจกนิยม แนวคิดเจ้าขุนมูลนาย ชาตินิยมและฉ้อราษฎร์บังหลวงในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐบาล

ความพยายามของเตอร์กิสถานตะวันออกให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติล้มเหลว สาธารณรัฐได้ส่งคณะทูตนำโดยนายกรัฐมนตรี ซาอิต ดาโมลลา ไปเยือนสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกีและบริติชอินเดีย สหภาพโซเวียตปฏิเสธที่จะทำงานกับกลุ่มนิยมอิสลาม ในคาบูล ตัวแทนจากกัชคาร์เข้าพบพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอัฟกานิสถาน โมฮัมหมัด ซาอีร ชาห์ และนายกรัฐมนตรี ซาร์ดาร์ โมฮัมเหม็ด ฮาซิม ข่าน เพื่อขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านอาวุธ แต่ทั้งสองต้องการรักษาความเป็นกลางและไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของจีน ประเทศอื่นๆแสดงปฏิกิริยาในลักษณะเดียวกัน ปฏิเสธที่จะต้อนรับคณะทูตในฐานะตัวแทนจากประเทศเอกราช ไม่มีอำนาจใดในบริเวณนั้นต้องการท้าทายกับสหภาพโซเวียตและจีนในทางการเมืองและไปพัวพันกับการสู้รบที่นองเลือดในซินเจียง ทำให้สาธารณรัฐใหม่มีโอกาสน้อยที่จะอยู่รอด

กองทัพแห่งชาติ

[แก้]

กองทัพแห่งชาติของสาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก ก่อตั้งเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เริ่มต้นประกอบด้วยสองแผนก มีทหารแผนกละประมาณ 22,000 คน คือแผนกเกวชเกวอร์ และแผนกโคตาน แต่ขนาดที่แท้จริงของกองทัพแห่งชาตินั้นไม่ทราบ โดยเอกสารของสหภาพโซเวียตระบุว่ามีราว 40,000 - 60,000 คน

การสิ้นสุด

[แก้]

ในทางเหนือ ความช่วยเหลือได้มาถึงกองทัพ เชิ่ง ชี่ไข่ เมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2477 ในรูปแบบของกองพลสหภาพโซเวียต 2 กองพลคืออัลไตสกายาและตาร์บาคาไตสกายา ซึ่งเรียกว่ากองพลอาสาอัลไตรัสเซียขาว และกองทัพแดงของนายพลโวลกิน (ต่อมาตือมาร์แชล เรียบัลโก) ในการรุกรานซินเจียงของสหภาพโซเวียต การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น และสนับสนุนกองกำลังชาวหุยของหม่า จงยิง เป็นสาเหตุทำให้โจเซฟ สตาลินเกิดความกังวลและเกรงว่าการเกิดกบฏในซินเจียงจะแพร่กระจายมาสู่สาธารณรัฐโซเวียตในเอเชียกลางและกบฏบัสมาชีของชาวมุสลิมเติร์ก ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างซินเจียงและสหภาพโซเวียตทำให้โซเวียตมีเหตุผลที่จะสนับสนุนเชิ่ง กาเรกิน อาเปรซอฟ นายพลที่ปรึกษาของโซเวียตในอูรุมชีได้กล่าวต่อเชิ่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 ว่า “คุณสามารถพัฒนามณฑลและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีเชื้อชาติต่างกัน พัฒนาวัฒนธรรมของพวกเขา แต่ถ้าคุณปล่อยกบฏมุสลิมให้สร้างรัฐเอกราชทางใต้ของมณฑล เปลี่ยนเป็นแมนจูเรียแห่งที่สองหลังบ้านของโซเวียต เราจะไม่มองอยู่ด้านนอก แต่เราต้องเริ่มที่จะทำ” การร้องขอความช่วยเหลือทางทหารของเชิ่งเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 เชิ่งได้จับกุมนายพลปาเปนกุตของฝ่ายรัสเซียขาวซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านโซเวียต และประหารชีวิตตามคำขอของอาเปรชอพและให้นายพลเบกเตเยฟที่เป็นกลางขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียขาวในซินเจียง ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ซินเจียงรุกรานเข้ามาในซินเจียง

จาง เปยยวน นายพลของชาวจีนฮั่นซึ่งบัญชาการทหารจีนฮั่นในอีลีเสนอให้มีการเจรจากับ หม่า จ้งยิ้งและวางแผนที่จะร่วมมือกับหม่าเพื่อโจมตีอุรุมชีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 ในตอนแรก จางยึดถนนระหว่างตาเชิงและอูรุมชี แต่ตัดสินใจกลับสู่คุลยาหลังจากได้รับข้อความเกี่ยวกับการเข้ายึดเมืองโดยกองพลอาสาอัลไตจากรัสเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหภาพโซเวียตเข้าเมืองได้ หลังจากมาถึงคุลยา เขาถูกล้อมที่ภูเขา กองทัพของเขาถูกล้อมปราบที่ช่องมูซาร์ตที่เทือกเขาเทียนซาน และหนีไปยังซินเจียงใต้ใกล้กับอักซู จาง เปยยวนฆ่าตัวตาย หม่า จ้งยิ้งโจมตีอูรุมชีตามแผนทำให้เชิ่งประหลาดใจ หม่าเข้ายึดสถานีโทรเลขและล้อมเมืองไว้ แต่ไม่ได้รับสัญญาณว่าจะมาช่วยจากกองทัพอีลีของจาง เปยยวน ทำให้หม่าไม่สามารถยึดเมืองได้ในสัปดาห์แรก การสู้รบของหม่าที่อูรุมชีทำให้เขาได้รับการจดจำจากรัฐบาลนานกิงว่าเป็นผู้ปกครองซินเจียงโดยสมบูรณ์ ทหารโซเวียตที่มีกองกำลังทางอากาศสนับสนุนได้บีบให้ทหารของหม่าต้องออกจากอูรุมชีและหนีลงไปทางใต้ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 การยึดครองอูรุมชีล้มเหลว เชิ่งถูกปล่อยตัวพร้อมทั้งทหารรัสเซียและแมนจูเรียของเขาที่ถูกหม่าปิดล้อมตั้งแต่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476

โคยา นิยาซ ฮัจญีมาถึงกัชการ์พร้อมด้วยทหาร 1,500 นาย ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ต่อต้านสิ่งท่เราทำร่วมกับเชิ่ง โดยมาถึงพร้อมกับผู้นำชาวอุยกูร์อื่นๆจากตะวันออก มะห์มุต มูฮีตีมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ซาบิต ดาโมลลอ เป็นนายกรัฐมนตรี ดาโมลลอให้นิยาซอยู่อย่างเป็นอิสระในเมืองเก่าของกัชการ์ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของผู้บริหารชาวจีนในซินเจียงใต้ และร้องขอให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ในจดหมายที่เขียนถึงรัฐบาลกลางที่นานกิง นิยาซอธิบายการตัดสินใจโดยเน้นข้อเท็จจริงว่าเขายอมรับการตัดสินใจของสภาประชาชนแห่งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกและเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พ.ศ. 2455 ที่ให้สิทธิห้าชนชาติในจีนปกครองตนเอง เขาได้เสนอหลักการ 5 ข้อในการปกครองตนเองของสาธารณรัฐ ได้แก่

  1. ซินเจียงทั้งหมดเป็นของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก
  2. การปกครองและเศรษฐกิจดำเนินการโดยคนท้องถิ่น
  3. ประชาชนที่อยู่ในสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกมีสิทธิ์จะได้รับการศึกษา การค้า และการสร้างชาติใหม่
  4. ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ โคยา นิยาซจะสร้างรัฐบาลเพื่อความสุขของประชาชน
  5. สาธารณรัฐจะดำเนินการตามแบบสังคมสมัยใหม่

โคยา นิยาซเสนอธงชาติของสาธารณรัฐ ลักษณะคล้ายธงชาติตุรกีแต่พื้นเป็นสีฟ้า แทนธงเดิมที่เป็นธงพื้นขาวมีดาวเดือนเสี้ยวสีฟ้าและชาฮาดาห์ อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกจัดเป็นรัฐอายุสั้น กองทัพหุยยกมาจากทางเหนือโดยร่วมมือกับหม่า จั้นคังในกัชการ์และก๊กมินตั๋งในนานกิงโจมตีสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก นิยาซ ดาโมลลอและคณะรัฐบาลคนอื่นๆลี้ภัยออกไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ไปยังเยวี ฮิซซาร์ที่อยู่ทางใต้ กองทัพหุยฆ่าคนที่ยังเหลือและจับกุมคนที่รอดชีวิตทำให้สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกสิ้นสุดลง กองทัพหุยโจมตีกองทัพชาวอุยกูร์และคีร์กิซของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในการทัพกัชการ์เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2476 การทัพยาร์คานในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2477 และการทัพยันกี ฮิซซาร์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 หม่า จ้งยิงได้ทำลายสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกอย่างสมบูรณ์

มะห์มุต มูฮีตีได้นำกองทัพที่เหลือไปยังยาร์คานและโฮตัน ขณะที่นิยาซได้เดินทางไปยังชายแดนระหว่างสหภาพโซเวียดกับจีน เขาขอลี้ภัยในโซเวียตและร่วมมือกับโซเวียต ต่อมา เขาไปพบคณะรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในเมืองเยวี ฮิซซาร์เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในวันถัดมา เขาถูกปฏิเสธจากจากคณะรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกและถูกหาว่าเป็นผู้ทรยศต่อชาติ

กองทัพของหุยและก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้แก่กองทัพของเชิ่ง ทำให้เชิ่งมีอำนาจในซินเจียงเหนือโดยมีโซเวียดสนับสนุน นิยาซได้ปกครองรัฐบาลปกครองตนเองในซินเจียงใต้ซึ่งเดิมมีที่มั่นในอักซู ต่อมาย้ายไปอูรุมชี การปกครองระบบใหม่ของเชิ่งเกิดขึ้นในซินเจียงที่ถือเป็นประตูหลังของจีน โดยสตาลินถือว่าดินแดนนี้เป็นประตูหลังของโซเวียตด้วย เขาได้บริหารซินเจียงโดยเน้นนโยบายแปดจุดและนโยบายยิ่งใหญ่หกประการ ได้แก่ ต่อต้านจักรวรรดินิยม เป็นมิตรกับโซเวียต ความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ รัฐบาลที่สะอาดและต่อต้านคอรัปชัน รักษาสันติภาพ สร้างซินเจียงใหม่ นโยบายนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ในธงใหม่ของมณฑลซินเจียง ที่มีดาวสีเหลือง 6 ดวง บนพื้นสีแดง ที่ใช้เป็นทางการระหว่าง พ.ศ. 2476 - 2486

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dudolgnon, (5 November 2013). Islam In Politics In Russia. Routledge. pp. 362–. ISBN 978-1-136-88878-6.((cite book)): CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  • James A. Millward and Nabijan Tursun, "Political History and Strategies of Control, 1884–1978" in Xinjiang: China's Muslim Borderland (ISBN 0-7656-1318-2).
  • Michael Zrazhevsky, "Russian Cossacks in Sinkiang". Almanach "The Third Rome", Russia, Moscow, 2001
  • Sven Hedin, "The flight of Big Horse". New York, 1936.
  • Burhan Shahidi 包尔汗, Xinjiang wushi nian 新疆五十年 [Fifty Years in Xinjiang], (Beijing, Wenshi ziliao, 1984).
  • Clubb, O. E., China and Russia: The "Great Game". (NY, Columbia, 1971).
  • Forbes, A. D. W. Warlords and Muslims in Chinese Central Asia: A Political History of Republic Sinkiang, 1911–1949 (Cambridge, Cambridge University Press, 1986).
  • Hasiotis, A. C. Jr. Soviet Political, Economic and Military Involvement in Sinkiang from 1928 to 1949 (NY, Garland, 1987).
  • Khakimbaev A. A., "Nekotorye Osobennosti Natsional’no-Osvoboditel’nogo Dvizheniya Narodov Sin’tszyana v 30-kh i 40-kh godakh XX veka" [Some Characters of the National-Liberation Movement of the Xinjiang Peoples in 1930s and 1940s], in Materialy Mezhdunarodnoi Konferentsii po Problemam Istorii Kitaya v Noveishchee Vremya, Aprel’ 1977, Problemy Kitaya (Moscow, 1978) pp. 113–118.
  • Lattimore, O., Pivot of Asia: Sinkiang and the Inner Asian Frontiers of China (Boston, Little, Brown & Co., 1950).
  • Rakhimov, T. R. "Mesto Bostochno-Turkestanskoi Respubliki (VTR) v Natsional’no-Osvoboditel’noi Bor’be Narodov Kitaya" [Role of the Eastern Turkestan Republic (ETR) in the National Liberation Struggle of the Peoples in China], A paper presented at 2-ya Nauchnaya Konferentsiya po Problemam Istorii Kitaya v Noveishchee Vremya, (Moscow, 1977), pp. 68–70.
  • Wang, D., "The USSR and the Establishment of the Eastern Turkestan Republic in Xinjiang", Journal of Institute of Modern History, Academia Sinica, Taipei, vol. 25 (1996) pp. 337–378.
  • Whiting, A. S., and Sheng Shih-ts’ai, Sinkiang: Pawn or Pivot? (Michigan, East Lansing, 1958).
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?