For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สังฆราช.

สังฆราช

สังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล[1] ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก[2]) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสงฆ์

ประเทศไทย

[แก้]

พระสังฆราชของประเทศไทยเรียกว่า สมเด็จพระสังฆราช และมีตำแหน่งเป็นสกลมหาสังฆปริณายก เพราะทรงเป็นประมุขปกครองบัญชาการคณะสงฆ์ทุกนิกายในประเทศไทย และมีพระอิสริยยศเสมอด้วยพระองค์เจ้าต่างกรม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบันให้พระมหากษัตริย์ไทยเป็นผู้สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช[3]

สมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[4]

ประเทศกัมพูชา

[แก้]

ช่วง พ.ศ. 2398-2524 ประเทศกัมพูชามีสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์ คือฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการรวมคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายเป็นหนึ่งเดียว โดยมีสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) เป็นประมุข[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสถาปนาบัวร์ กรี เป็นสมเด็จพระอภิสิรีสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี สมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้คณะสงฆ์กัมพูชาแบ่งการปกครองเป็นสองนิกายอีกครั้ง[6] โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) เป็นประมุขเฉพาะฝ่ายมหานิกาย และในปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี และสมเด็จนนท์ แงด ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายมหานิกายสืบแทนมาจนปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาจึงมีสมเด็จพระมหาสังฆราช 2 พระองค์

อ้างอิง

[แก้]
  • Harris, Ian (August 2001), "Sangha Groupings in Cambodia", Buddhist Studies Review, UK Association for Buddhist Studies, 18 (I): 65–72
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 1160
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, หน้า 1110
  3. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช, ตอนที่ 5ข, เล่ม 134, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560, หน้า 1-3
  5. (Harris 2001, p. 75)
  6. (Harris 2001, p. 77)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สังฆราช
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?