For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี.

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี

นโรดม บุปผาเทวี
สมเด็จราชบุตรีพระเรียม[ก]
ประสูติ8 มกราคม พ.ศ. 2486
พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (76 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระสวามีหม่อมเจ้านโรดม นรินรติวงศ์ (2502)
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชีวัน (2502–2505)
บรูโน ฌัก ฟอร์ซินแน็ตตี (2507–2510)
สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ (2510–2532)
แขก วันดี (?–2555)[1]
พระบุตรหม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีกุสุมะ
หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ กัลยาณเทวี
แกว จินสิตา ฟอร์ซินแน็ตตี
หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ชีวันฤทธิ์
หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ วชิราวุธ
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
(สายราชสกุลนโรดม)
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระมารดาพาต กาญล
ศาสนาพุทธ

สมเด็จราชบุตรี พระเรียม นโรดม บุปผาเทวี[2] (เขมร: នរោត្ដម បុប្ផាទេវី นโรตฺฎม บุบฺผาเทวี; 8 มกราคม พ.ศ. 2486 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับนักนางพาต กาญล ซึ่งเป็นนางรำหลวง มีพระอนุชาร่วมพระมารดาคือสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ และเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระมารดากับพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

พระประวัติ

[แก้]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประสูติแต่พาต กาญล (เขมร: ផាត់-កាញ៉ុល ผาต่ กาญุ่ล) นางรำสามัญชนผู้มีชื่อเสียงในราชสำนัก[3] มีพระอนุชาร่วมพระชนนีคือสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ภายหลังพระชนกและชนนีได้เลิกรากัน พาต กาญลสมรสใหม่กับจาบ ฮวด (Chap Huot) พระองค์จึงมีพี่น้องต่างบิดาอีก 5 คน[4]

สำเร็จการศึกษาจากลีเซพระนโรดม (Lycée Preah Norodom) ในพนมเปญขณะมีพระชันษา 15 ปี พระองค์ถูกส่งไปอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิรีวัฒนา พระอัยยิกา ที่ทรงอุปถัมภ์ระบำเทพอัปสรและคัดเลือกให้พระองค์เป็นนางละครหลวง และได้เป็นตัวชูโรงของคณะ Prima ballerina เมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา[5] ถือเป็นการแหวกพระราชประเพณีอย่างยิ่ง ที่นำพระราชนัดดานารีมาเป็นนางละคร[6] ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางกุสุมะได้พยายามสร้างอัตลักษณ์ทางนาฏศิลป์คือระบำอัปสรา มีการดัดแปลงชุดตามอย่างภาพเทวดาและอัปสรในนครวัด เพื่อปลดเปลื้องอิทธิพลนาฏศิลป์ไทยออก[7]

หลังจากนั้นพระองค์ก็นำคณะละครออกแสดงไปทั่วโลกจนเป็นที่จดจำ[8] และทรงรำหน้าพระที่นั่งในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งแสดงภาพยนตร์เรื่อง "อัปสรา" ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ[9]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวีสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สิริพระชันษา 76 ปี[10] หลังพระองค์ทรงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรนานกว่าสองสัปดาห์[11] ต่อมาได้มีการอัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ วัดปทุมวดีราชวราราม พนมเปญ[12] วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี และพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี ณ พระเมรุ วัดปทุมวดีราชวราราม[13]

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์น แสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ความว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา กรุงพนมเปญ หม่อมฉันและพระราชินีรู้สึกเศร้าสลดใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่า สมเด็จราชบุตรี พระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระเชษฐภคินีของฝ่าพระบาท สิ้นพระชนม์ หม่อมฉันและพระราชินีขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังฝ่าพระบาท และพระราชวงศ์ ในการสูญเสียครั้งนี้"[14]

พระโอรส-ธิดา

[แก้]
สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี และพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระอนุชาต่างพระชนนี ทรงรับดอกไม้จากไมค์ แมนส์ฟิลด์ อดีตวุฒิสมาชิกสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2512
รับบทเป็นนางรอง

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เสกสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 เมื่อมีพระชนมายุ 15 พรรษา โดยพระองค์เสกสมรสทั้งหมด 5 ครั้ง มีพระโอรส-ธิดาทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่[15]

  1. หม่อมเจ้านโรดม นรินรติวงศ์ แต่ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน
  2. พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชีวัน มีพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
    • หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีกุสุมะ (ประสูติ พ.ศ. 2503)
    • หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ กัลยาณเทวี (ประสูติ พ.ศ. 2504)
  3. บรูโน ฌัก ฟอร์ซินแน็ตตี มีธิดา 1 คน คือ
    • แกว จินสิตา ฟอร์ซินแน็ตตี (เกิด พ.ศ. 2508)
  4. สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่[16]
    • หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ชีวันฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2511) อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศ[17]
    • หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ วชิราวุธ (ประสูติ พ.ศ. 2516)
  5. แขก วันดี ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน

การทรงงาน

[แก้]

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวีเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรมของกัมพูชาในรัฐบาลสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์[18][19] นอกจากนี้ยังทรงเปิดโรงเรียนฝึกโขนละครแก่เยาวชนกัมพูชาที่สนใจ[9]

เชิงอรรถ

[แก้]
หมายเหตุ

ลำดับสกุลยศของราชสำนักกัมพูชา "สมเด็จพระราชบุตร/บุตรี" คือพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดินกับพระอัครชายา เทียบได้กับ "เจ้าฟ้าชั้นโท หรือชั้นสมเด็จ" ของราชสำนักไทย[20] และ "พระเรียม" เป็นราชาศัพท์เขมร แปลว่า "พี่"[21]

อ้างอิง
  1. CPAFFC Vice President Wang Yunze and His Party in Cambodia and Thailand[ลิงก์เสีย]
  2. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 218.
  3. สุภัตรา ภูมิประภาส (20 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1): เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สุภัตรา ภูมิประภาส (30 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (2): ชายาของพ่อ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Milton Osborne, Sihanouk, Prince of Light, Prince of Darkness. Silkworm 1994
  6. อภิญญา ตะวันออก (4 มกราคม 2560). "สมเด็จพระพี่นาง-ดอกไม้ของทวยเทพ ในรักที่สังเวยแด่…ความอาดูร". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "อัตลักษณ์ 'อัปสรา' ในนาฏศิลป์เขมร". มติชนสุดสัปดาห์. 26 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ศิลปวัฒนธรรม และการแสดงของชาติสมาชิกอาเซียน". ASIAN FOCUS. 23 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 พรรณิการ์ วานิช (18 ตุลาคม 2556). "โขนเขมร สืบสายนาฏศิลป์ถิ่นสุวรรณภูมิ". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ""เจ้าหญิงนโรดม บุปผา เทวี" สิ้นพระชนม์แล้ว พระชนมายุ 76 พรรษา". มติชนออนไลน์. 18 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาสมเด็จสีหนุ สิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพ". ข่าวสด. 18 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "อัญเชิญพระศพ สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาสมเด็จสีหนุ ถึงพนมเปญ". ข่าวสด. 20 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "กษัตริย์กัมพูชาเสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ "พระเชษฐภคินี"". ผู้จัดการออนไลน์. 25 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "ในหลวงทรงมีข้อความพระราชสาส์นเสียพระราชหฤทัย "เจ้าหญิงนโรดมบุปผาเทวี" แห่งกัมพูชาสิ้นพระชนม์". ผู้จัดการออนไลน์. 21 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. Samdech Reach Botrei Preah Ream Norodom Bopha Devi
  16. อภิญญ ตะวันออก (1 กุมภาพันธ์ 2560). "อัญเจียแขฺมร์ : อลวนบุปผารัก "สีโสวัตถิ์-นโรดม"". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "เชื้อพระวงศ์เขมรลงสนามฟาดแข้งดาราไทย". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 10 มกราคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "ดร.สุรินทร์ฯ หารือข้อราชการกับรัฐมนตรีวัฒนธรรมกัมพูชา". อาร์ทีวายไนน์. 4 กุมภาพันธ์ 2543. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ""หนึ่งธรรมะ" สองประเทศ ที่ "พนมเปญ"". มติชนออนไลน์. 19 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  20. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 395.
  21. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 171.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?