For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สถูปสาญจี.

สถูปสาญจี

กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
File:Sanchi_Great_Stupa_Torana.jpg
ประตูโตรณะด้านทิศตะวันออกของสถูปสาญจี
สาญจีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สาญจี
สาญจี
สาญจี (ประเทศอินเดีย)
ที่ตั้งของสถูปสาญจี ประเทศอินเดีย
พิกัด23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°E / 23.480656; 77.736300
ประเทศรัฐมัธยประเทศ อินเดีย ประเทศอินเดีย
ภูมิภาค **เอเชีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i)(ii)(iii)(iv)(vi)
อ้างอิง524
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนพ.ศ. 2532 (คณะกรรมการสมัยที่ 13)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สถูปสาญจี (ฮินดี: साँची का स्तूप ; อังกฤษ: Sanchi) คำว่าสาญจี คือชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเขตรายเสน ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมืองโภปาล และ 10 กิโลเมตรจากเมืองวิทิศา ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 –17.00 น.[1]

มหาสถูปสาญจี คือโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือโครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูโตรณะทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป

ประตูโตรณะ

[แก้]
ประตูโตรณะ

สถูปสาญจีมีซุ้มประตูอยู่โดยรอบ เรียกว่าโตรณะ ลวดลายของซุ้มประตูเหล่านี้นำเสนอแนวคิดเรื่องความรัก สันติ ความจริง ความกล้า[2] ประตูและระเบียงรอบสถูปสร้างโดยราชวงศ์สาตวาหนะ ซึ่งมีศิลาจารึกปรากฏอยู่ตรงขอบบนสุดของประตูโตรณะทางทิศใต้ โดยช่างฝีมือของกษัตริย์ศาตกณี [en] กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สาตวาหนะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Buddhist Monuments at Sanchi". UNESCO World Heritage Centre.
  2. Parul Pandya Dhar (1 ธันวาคม 2010). The Torana in Indian and Southeast Asian Architecture. New Delhi: D K Print World. ISBN 978-8124605349.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สถูปสาญจี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?