For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์.

สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์

สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์

ภาพวาดการเข้ายึดเมืองกูฟอร์เดิน (Coevorden) โดยทหารดัชต์ภายใต้การบังคับบัญชาของคาร์ล ฟ็อน ราเบนแฮ็ปพ์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1672
วันที่6 เมษายน ค.ศ. 1672 – 17 กันยายน ค.ศ. 1678
(6 ปี 5 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผล สนธิสัญญาสันติภาพไนเมเคิน
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส วีกงต์เดอตูว์แรน 
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เจ้าชายแห่งกงเด
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดุกเดอลุกซ็องบูร์
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส วิว็องเน
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เดอเคร์กีร
  • ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดุกเดอช็อมแบรกเกอร์
กำลัง
สูงสุด 253,000 นาย [1] สาธารณรัฐดัตช์ 80,000 นาย
60,000 นาย
25,000 นาย
สูงสุด 30,000 นาย [1]
ความสูญเสีย
เสียชีวิตและบาดเจ็บ 120,000 นาย [1] เสียชีวิตและบาดเจ็บ 100,000 นาย [1]

สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1672 ถึง 1678 หรือรู้จักกันในนาม สงครามดัชต์, (ฝรั่งเศส: Guerre de Hollande; ดัตช์: Hollandse Oorlog) เป็นสงครามที่มีฝรั่งเศสและสาธารณรัฐดัตช์ เป็นคู่ขัดแย้งหลัก โดยมีจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สเปน บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย และเดนมาร์ก–นอร์เวย์เป็นผู้ร่วมรบด้วย พันธมิตรฝ่ายฝรั่งเศสประกอบด้วย ราชรัฐอัครมุขนายกมึนส์เทอร์ รัฐผู้คัดเลือกโคโลญ ซึ่งถอนตัวออกไปใน ค.ศ. 1673 และราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งถอนตัวออกจากสงครามในอีกหนึ่งปีให้หลัง ก่อนที่จะกลับมาเข้าร่วมใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1678 ในฐานะพันธมิตรของเนเธอร์แลนด์

สงครามเริ่มดุเดือดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1672 เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสสามารถบดขยี้กองกำลังของสาธารณรัฐดัตช์ได้เกือบทั้งหมด ซึ่งในภายหลัง เหตุการณ์นี้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รัมยาลล์ (Rampjaar) หรือ "ปีมหาวิบัติ"[2] การรุกคืบของฝรั่งเศสมาหยุดชะงักลงที่แนวแม่น้ำไอเซล (IJssel) ในเดือนมิถุนายน และเมื่อถึงปลายเดือนกรกฎาคม ฝ่ายดัชต์ก็สามารถกลับมาตั้งหลักได้อีกครั้ง ความกังวลถึงผลเสียที่จะตามมาหากฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะสงครามนำไปสู่การลงนามพันธมิตรทางทหารระหว่างเนเธอร์แลนด์ จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 สเปน และบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1683 โดยมีดัชชีลอแรนและเดนมาร์ก–นอร์เวย์เข้าร่วมด้วยในภายหลัง ในขณะที่อังกฤษลงนามสงบศึกและถอนตัวออกไปในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1674 เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสเห็นว่าตนกำลังเผชิญสงครามหลายแนวรบจึงถอนกำลังออกจากสาธารณรัฐดัตช์ และคงกำลังไว้ในเมืองกราฟ (Grave) และมาสทริชท์ เท่านั้น

เมื่อเห็นดังนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงเบนเป้าหมายไปยังเนเธอร์แลนด์ของสเปนและไรน์ลันท์ ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยเจ้าชายวิลเลมแห่งออเรนจ์ ต้องการจำกัดการตักตวงผลประโยชน์ทางดินแดนของฝรั่งเศสจากสงครามครั้งนี้ หลังจากค.ศ. 1674 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองแคว้นฟร็องช์-กงเต และพื้นที่ตามแนวชายแดนที่ติดกับเนเธอร์แลนด์ของสเปน รวมไปถึงแคว้นอาลซัส แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดสามารถเอาชนะกันได้อย่างเด็ดขาด สงครามมายุติลงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1678 ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพไนเมเคิน ถึงแม้เงื่อนไขในสนธิสัญญาดังกล่าวจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าข้อเสนอสงบศึกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1672 แต่ก็ถือกันว่าสงครามครั้งนี้เป็นจุดสูงสุดของความสำเร็จทางด้านการทหารในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และส่งผลให้การโฆษณาชวนเชื่อของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างมีนัยยะสำคัญ

สเปนได้เมืองชาร์เลอรัว คืนจากฝรั่งเศส แลกกับการมอบแคว้นแคว้นฟร็องช์-กงเต รวมไปพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาร์ตัวและแอโน ก่อให้เกิดแนวพรมแดนที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับในปัจจุบัน การได้มาสทริชท์กลับคืนมาหมายความว่าเนเธอร์แลนด์ได้พื้นที่ที่เสียไปในช่วงต้นสงครามกลับคืนมาทั้งหมด ความสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้อิทธิพลของเจ้าชายวิลเลมแห่งออเรนจ์มีบทบาทเด่นในกิจการภายในของสาธารณรัฐดัตช์ ซึ่งช่วยให้พระองค์สามารถต้านทานภัยคุกคามจากการขยายดินแดนของฝรั่งเศส และนำไปสู่การก่อตั้งมหาพันธมิตร ซึ่งต่อสู้ในสงครามเก้าปี

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?