For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ศิโยน.

ศิโยน

ศิโยน (ค.ศ. 1903), Ephraim Moses Lilien

ศิโยน (อังกฤษ: Zion; ฮีบรู: צִיּוֹן Ṣīyyōn, LXX: Σιών, ยังมีถอดอักษรได้อีกหลากหลายแบบ ได้แก่ Sion,[1] Tzion, Tsion, Tsiyyon)[2] เป็นชื่อสถานที่ในคัมภีร์ฮีบรู มักใช้เป็นคำไวพจน์ของเยรูซาเล็ม[3][4] หรือแผ่นดินอิสราเอลทั้งหมด

ชื่อศิโยนปรากฏในหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 (2 ซามูเอล 5:7) หนึ่งในหนังสือของคัมภีร์ฮีบรูที่เขียนขึ้นเมื่อราวกลางศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เดิมชื่อศิโยนใช้หมายถึงเนินเขาแห่งหนึ่งในเยรูซาเล็มคือเขาศิโยน ตั้งอยู่ทางใต้ของเขาโมริยาห์ (เนินพระวิหาร) เรื่องเล่าใน 2 ซามูเอล ระบุว่าเขาศิโยนเป็นที่ตั้งของป้อมปราการที่มีชื่อเดียวกันของชาวเยบุส ซึ่งต่อมาดาวิดพิชิตได้และเปลี่ยนชื่อเป็นนครดาวิด เขาศิโยนเป็นหนึ่งในเนินเขาขนาดย่อมจำนวนมากที่เป็นส่วนหนึ่งของเยรูซาเล็ม

คำว่าศิโยนกลายมาเป็นคำที่ใช้เรียกพื้นที่เยรูซาเล็มของดาวิดซึ่งเป็นที่ตั้งป้อมปราการของชาวเยบุส และยังใช้เป็นสัมพจนัยของทั้งเมืองเยรูซาเล็ม ภายหลังเมื่อพระวิหารของซาโลมอนได้รับการสร้างขึ้นบนเขาโมริยาห์ที่อยู่ติดกัน (ซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักในชื่อเนินพระวิหาร) ความหมายของคำว่าศิโยนจึงขยายโดยสัมพจนัยให้มีความหมายเพิ่มเติมถึงตัวพระวิหารเอง, เนินเขาที่พระวิหารตั้งอยู่, ทั้งเมืองเยรูซาเล็ม, ทั้งแผ่นดินอิสราเอลในคัมภีร์ไบเบิล, และ "โลกที่จะไป" ซึ่งเป็นความเข้าใจของชาวยิวเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

ตลอดหลายศตวรรษจนถึงศตวรรษที่ 16 (สมัยออตโตมัน) กำแพงเมืองเยรูซาเล็มได้รับการสร้างใหม่หลายครั้งในสถานที่ใหม่ ดังนั้นเนินเขาที่เป็นที่รู้จักในสมัยพระคัมภีร์ว่าเป็นเขาศิโยนจึงไม่ได้อยู่ในกำแพงเมืองอีกต่อไป แต่ตำแหน่งในปัจจุบันอยู่นอกเมืองเก่าและอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของนครดาวิดดั้งเดิมก็อยู่นอกกำแพง "เมืองเก่า" ในปัจจุบันเช่นกัน ยังมีสันเขาอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกก็ถูกเรียกว่า 'เขาศิโยน' ในช่วง 2 สหัสวรรษที่ผ่านมา แทนที่จะเป็นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ดั้งเดิม (นครดาวิด) หรือเนินเขาทางใต้ (เนินพระวิหาร) ซึ่งยิ่งเพิ่มความสับสน

ศัพทมูล

[แก้]

ศัพทมูลของคำว่าศิโยน (ṣiyyôn) ไม่แน่ชัด[3][4][5]

มีการกล่าวถึงในพันธสัญญาเดิมในหนังสือซามูเอล (2 ซามูเอล 5:7) ว่าศิโยนเป็นชื่อป้อมปราการของชาวเยบุสที่ดาวิดพิชิตได้ ต้นกำเนิดของคำนี้ดูจะเกิดขึ้นก่อนวงศ์วานอิสราเอล[3][4] หากเป็นกลุ่มภาษาเซมิติก ก็อาจมาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูว่า ṣiyyôn ("ปราการ") หรือ צִיָּה ṣiyya ("แผ่นดินแห้ง" หรือ "ทะเลทราย", เยเรมีย์ 51:43) มีการเสนอว่าอาจมีความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่กลุ่มภาษาเซมิติกกับคำภาษาฮูร์เรียว่า šeya ("แม่น้ำ" หรือ "ลำห้วย")[5] หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำในภาษาฮิตไทต์[6]

รูปคำ ציון (Tzion, การออกเสียงไทบีเรีย: Ṣiyyôn) ปรากฏ 108 ครั้งในคัมภีร์ฮีบรู และปรากฏหนึ่งครั้งพร้อมคำกำกับนามว่า HaTzion[7][8]

อักษร Tsade มักถอดเป็นอักษร z ในการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาอังกฤษ จึงสะกดเป็น Zion (แทนที่จะเป็น Tzion) แบบแผนการแปลนี้ชัดเจนว่ามีต้นกำเนิดมาจากการสะกดในภาษาเยอรมัน[9] ที่ z ใช้แทนเสียงพยัญชนะ [t͡s]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sion เป็นการสะกดในวัลเกต ซึ่งยังนำมาใช้ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบัน
  2. Hebrew Academy 2006 convention for the romanization of Hebrew, Announcements of the Academy of the Hebrew Language เก็บถาวร 2013-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 3.2 Longman, Tremper; Enns, Peter (2008). Dictionary of the Old Testament: Wisdom, Poetry & Writings: A Compendium of Contemporary Biblical Scholarship. InterVarsity Press. p. 936. ISBN 978-0-8308-1783-2.
  4. 4.0 4.1 4.2 Anderson, Arnold Albert (1981). The book of Psalms. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-551-00846-5.
  5. 5.0 5.1 Bromiley, Geoffrey W. (1995). The International Standard Bible Encyclopedia. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 1006. ISBN 978-0-8028-3782-0.
  6. Mendenhall, George (1973). The Tenth Generation: The Origins of the Biblical Tradition. The Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-1654-8.
  7. The Responsa Project: Version 13, Bar Ilan University, 2005
  8. Kline, D.E., A Comprehensive Etymological Dictionary of the Hebrew Language for readers of English, Carta Jerusalem, University of Haifa, 1987, pp. xii–xiii
  9. Joseph Dixon, A general introduction to the Sacred Scriptures: in a series of dissertations, critical hermeneutical and historical, J. Murphy, 1853, p. 132

บรรณานุกรม

[แก้]
  • "Zion". The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints.
  • Ludlow, D. H. (Ed.) (1992). Vol 4. Encyclopedia of Mormonism. New York: Macmillan Publishing Company.
  • McConkie, B. R. (1966). Mormon Doctrine. (2nd ed). Utah: Bookcraft.
  • Steven Zarlengo: Daughter of Zion: Jerusalem's Past, Present, and Future. Dallas: Joseph Publishing, 2007.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Batto, Bernard F.; Roberts, Kathryn L. (2004). David and Zion: Biblical Studies in Honor of J. J. M. Roberts. Winona Lake, Ill.: Eisenbrauns. ISBN 1-57506-092-2.
  • Shatz, Adam, "We Are Conquerors" (review of Tom Segev, A State at Any Cost: The Life of David Ben-Gurion, Head of Zeus, 2019, 804 pp., ISBN 978 1 78954 462 6), London Review of Books, vol. 41, no. 20 (24 October 2019), pp. 37–38, 40–42. "Segev's biography... shows how central exclusionary nationalism, war and racism were to Ben-Gurion's vision of the Jewish homeland in Palestine, and how contemptuous he was not only of the Arabs but of Jewish life outside Zion. [Liberal Jews] may look at the state that Ben-Gurion built, and ask if the cost has been worth it." (p. 42 of Shatz's review.)

31°46′18″N 35°13′45″E / 31.77167°N 35.22917°E / 31.77167; 35.22917

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ศิโยน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?