For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Pridi Banomyong International College,
Thammasat University
สถาปนา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์www.pbic.tu.ac.th

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์เพื่อรองรับการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับนานาชาติซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ทั้งนี้ชื่อวิทยาลัยตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบ 100 ปี ชาตกาล

ประวัติ

พ.ศ. 2551 วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งเพื่อเป็นเกียรติและเป็นการระลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในวาระองค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญระดับนานาชาติ[2] โดยจุดประสงค์หลักเพื่อสนองนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานเทียบได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และขยายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ

โดยในระยะแรกวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รับโอนหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมาจากสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2552 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) โดยเป็นหลักสูตรการศึกษาแบบสหวิทยาการพร้อมทั้งเน้นความเชี่ยวชาญทางภาษา ขอบข่ายการศึกษาของหลักสูตรอาทิ การศึกษาภาษา สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจจีน โดยใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน[3]

นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังมีหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานของหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

ทำเนียบคณบดี

  • รศ.ดร.พิมพันธุ์ เวสสะโกศล (พ.ศ 2551–2557)
  • รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต (พ.ศ. 2557–2560)
  • ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (พ.ศ. 2560–2563)
  • ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ (พ.ศ. 2563–2566)
  • รศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม (พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน)

ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา (กนศ.ป. , กน.ป.)

ประธานคณะกรรมการนักศึกษาคณะ หรือ ประธานนักศึกษา ได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ มีอำนาจบริหารกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ

ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1. นางสาวธัญพร แซ่กัง พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2560
2. นางสาวอสมา ผิวละออ พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561
3. นายสุทธิโชค จิตศรีสมบัติ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562
4. นางสาวนันทิพร นาคราช พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563
5. นายพชร จงเจริญจิตเกษม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

กิจการนักศึกษา

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดระบบกิจกรรมนักศึกษา โดยให้นักศึกษามีอิสระในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งมีคณะกรรมการนักศึกษาเป็นผู้บริหารประสานงานหลัก ทั้งนี้ ยังประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ ภายในคณะอีกด้วยที่มีคณะกรรมการนักศึกษาฯ เป็นผู้ประสานงาน

ชมรมกิจกรรมนักศึกษาภายในคณะ

ชมรมกิจกรรมหลักของนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ เป็นต้น

  • ชมรมคฑากร แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชมรมผู้นำเชียร์ แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชมรม PBIC Ambassador แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักสูตร

ปริญญาโท

  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาเซียนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Master of Arts in Asean Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 2 ปีการศึกษา

ปริญญาตรี

  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Thai Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยศึกษา ณ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ตลอดจนจบการศึกษา นอกจากนั้นหลักสูตรไทยศึกษามีโครงการสองปริญญาที่นักศึกษาสามารถเข้าร่วม โดยร่วมกับ School of Oriental and African StudiesUniversity of London สหราชอาณาจักร (2 ปี ศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และอีก 2 ปี ศึกษา ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Chinese Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา (มหาวิทยาลัยคู่สัญญา อาทิ Peking University และ Fudan University)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Indian Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐอินเดีย อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา

อ้างอิง

  1. DMNEWS บล็อกข่าวส่งเสริมคนดี. (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552). วิทยาลัยนานาชาติ"ปรีดี พนมยงค์" มิติใหม่ธรรมศาสตร์ สร้างนักศึกษาสู่ตลาดโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
  2. สถาบันปรีดี พนมยงค์. (2543). ๑๐๐ ปี ปรีดี พนมยงค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
  3. วิชาการ.คอม. (2552). บทสัมภาษณ์คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?