For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิกิพีเดีย:มาเพื่อสร้างสารานุกรม.

วิกิพีเดีย:มาเพื่อสร้างสารานุกรม

วิกิพีเดียคือสารานุกรมและชุมชนของผู้คนที่สร้างมันขึ้นมา ซึ่งมีองค์ประกอบของทั้งสารานุกรม กาลานุกรมและอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ทั้งทั่วไปและเฉพาะด้าน วิกิพีเดียไม่ใช่ที่ป่าวประกาศ ไม่ใช่สื่อไร้สาระ ไม่ใช่การทดลองในระบอบอนาธิปไตยหรือประชาธิปไตย ไม่ใช่การรวบรวมข้อมูลอย่างขาดการพิจารณา ไม่ใช่สารบัญเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังไม่ใช่พจนานุกรม หนังสือพิมพ์ แหล่งรวบรวมเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นควรถูกจัดอยู่เข้าสู่โครงการพี่น้องของวิกิมีเดียแทน

เป้าหมายของวิกิพีเดียคือสร้างสารานุกรมที่เขียนขึ้นมาอย่างดีและเชื่อถือได้ เช่นเดียวกับ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  ... เว้นแต่ว่าวิกิพีเดียมีขนาดใหญ่กว่ามาก: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน (ชุดหลัก) มีอยู่ 388 บทความ ในขณะที่วิกิพีเดียไทยมีอยู่ 166,841 บทความ

เสาหลักของวิกิพีเดียคือเป็นสารานุกรมบวกชุมชนผู้เขียนที่สร้างสารานุกรมนั้น หมายความว่า ผู้เขียนมีไว้เพื่อช่วยปรับปรุงบทความและเนื้อหาสารานุกรมเป็นหลัก และเข้าร่วมการอภิปรายและกระบวนการของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ที่มุ่งพัฒนาโครงการและคุณภาพของเนื้อหา และกระทำอยู่ตามขอบเขต นโยบายและพันธกิจที่ตั้งใจไว้ของโครงการ เนื่องจากวิกิพีเดียเป็นชุมชนความร่วมมือ ผู้เขียนที่มีวาระและการกระทำส่วนบุคคลดูขัดกับความมุ่งหมายของโครงการย่อมเสี่ยงต่อการถูกเพิกถอนเอกสิทธิ์การแก้ไข

คำว่า "มาที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เป็นกฎที่ใช้แยกแยะผู้ใช้และหน้าที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ออกจากกัน

อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม

[แก้]

สัญญาณว่าผู้ใช้อาจมาที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ได้แก่:

มีความสนใจและการพัฒนาอย่างแท้จริง
มีความสนใจอย่างแท้จริงในการปรับปรุงเนื้อหาสารานุกรม (บทความและสื่อประกอบ) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความสนใจอย่างกว้าง และมีการแก้ไข/การเขียนบทความหรือกิจกรรมสำคัญอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (เช่น การเขียนรหัส การตรวจบทความใหม่) นอกจากนี้ยังอาจรวมการปรับปรุงเชิงสร้างสรรค์อย่างอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงเนื้อหา หรือบรรเทาและลดปัญหาที่ก่อให้เกิดส่วนร่วมเชิงลบต่อวิกิพีเดีย
เคารพมาตรฐานการแก้ไขแกนกลาง
ประพฤติตนตามนโยบายที่มีการตกลงกันไว้เป็นแกนกลางเมื่อแก้ไข รวมทั้งนโยบายด้านเนื้อหาและพฤติกรรม
มุ่งสนใจการสร้างสารานุกรม
รักษาการเข้ามีส่วนร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารานุกรมให้อยู่ในระดับจำกัดเมื่อเทียบกับการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เชิงบวกและโดยตรงต่อสารานุกรม และ/หรือ กระบวนการบรรณาธิการของสารานุกรม
การปรับปรุงตนและการรับฟังบทเรียน
เมื่อเกิดข้อผิดพลาด มีความพยายามเรียนรู้จากบทเรียนที่สังเกตได้ ผู้ใช้มีพฤติกรรมแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างจริงจัง และปรับปรุงความสามารถบรรณาธิการของพวกตนและคุณภาพการป้อนเข้า

ชัดเจนว่าไม่อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม

[แก้]

เครื่องบ่งชี้ว่าผู้ใช้คนหนึ่งชัดเจนว่าอาจมิได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ได้แก่:

ความสนใจตนเองอย่างแคบ การส่งเสริมพวกตนหรือธุรกิจของพวกตน
มีการเขียนบทความที่สนใจตนเองอย่างแคบหรือกิจกรรมส่งเสริมในการเขียนบทความ
สนใจวิกิพีเดียเป็นเว็บเครือข่ายสังคม
ความสนใจหลักในวิกิพีเดียเป็นพื้นที่เครือข่ายสังคม (เรซูเม หน้าประเภทสือสังคม เป็นต้น)
รูปแบบพฤติกรรมรบกวนทั่วไป
ประวัติพฤติกรรมรบกวนระยะยาว โดยไม่มีหรือมีสัญญาณเจตนาทางบวกเพียงเล็กน้อย
พยายามสร้างความประทับใจนอกวิกิพีเดีย
การแก้ไขที่ความมุ่งหมายเดียวคือการตั้งใจทำให้บุคคลอื่นประทับใจหรือตลกขบขันนอกวิกิพีเดีย โดยไม่คาดหมายว่าการแก้ไขนั้นจะคงอยู่หรือไม่ใส่ใจหากถูกลบ ตัวอย่างได้แก่ การแก้ไขบทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของตนโดยตั้งใจกล่าวยกย่องเทพเจ้าของตน หรือใส่ชื่อแฟนของตนเข้าบทความ "สวย" เป็นต้น
ทำให้การแก้ไขกลายเป็นการต่อกร
การใช้วิกิพีเดียเป็นที่ปราศรัย, สร้างความแตกแยก, แสดงความก้าวร้าวอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เข้าข่าย อาจชี้ว่าผู้ใช้อยู่ที่นี่เพื่อวิวาท หาได้สร้างวิกิพีเดียไม่ หากผู้ใช้มีข้อพิพาท เขาจะถูกคาดหวังว่านำประโยชน์ที่โครงการจะได้มาเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ และแสวงหาการระงับข้อพิพาท ผู้ใช้ที่ยึดติดกับความโกรธอาจพบว่าการวิวาทกลายมาเป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่การเขียนสารานุกรม
มีพฤติกรรมไม่ซื่อตรงและแสวงหาผลประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบ
วิกิพีเดียทำงานอยู่บนหลักพื้นฐานของความเชื่อถือ การแสวงหาช่องโหว่ของวิกิพีเดีย, การใช้หุ่นเชิด และรูปแบบอื่นที่แสดงความไม่ซื่อตรงของผู้แก้ไข เป็นการบ่อนทำลายความเชื่อถือดังกล่าว และบ่งชี้ถึงเจตนาอื่น เช่น รู้สึกอภิรมย์ที่ได้ทำลาย (ชาเดินฟร็อยเดอ) หรือขาดความสนใจที่จะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติว่าด้วยความประพฤติที่ดีในการแก้ไข
สนใจเล็กน้อยหรือไม่สนใจทำงานร่วมกับผู้อื่น
ขาดความสนใจอย่างมากต่อการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์และแบบร่วมมือกับชุมชนที่อาจมีมุมมองแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ขาดความสนใจอย่างยิ่งในการรับฟังความกังวลโดยชอบของผู้อื่น สนใจขยายความขัดแย้งมากกว่าลดความขัดแย้งอย่างไม่สนใจพฤติกรรมสุภาพ ผลักไสผู้เขียนสร้างสรรค์ หรือแสดงความเป็นเจ้าของบทความ
มีความขัดแย้ง ทัศนคติ หรือจุดประสงค์ ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงหรือไม่สามารถเข้าได้กับวิกิพีเดีย
ผู้ใช้อาจสนับสนุนแง่มุมหรือวิถีชีวิตที่สุดโต่งหรือกระทั่งขัดต่อศีลธรรม หรือกระทั่งแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ใช้อื่น กระนั้นเขาก็ยังคง "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" อย่างไรก็ดี กิจกรรมบางอย่างที่โดยธรรมชาติแล้วถือว่าไปไม่ได้กับสิทธิในการแก้ไขวิกิพีเดีย เช่น การดำเนินคดีกับผู้ใช้อื่น, ข่มขู่คุกคาม, หรือการกระทำลับหลังที่บ่งชี้เจตนารมย์นอกลู่นอกทางอันเป็นที่น่ารังเกียจ หรือบ่อนทำลายวิกิพีเดียโดยรวม ผู้ใช้จะต้องรู้จักถนอมน้ำใจต่อกัน ทุกการโต้เถียงจำเป็นต้องรักษาความมีอารยะไว้ วิกิพีเดียมีระดับของความเบี่ยงเบนที่มีต่อทัศนคติพื้นฐาน ไม่ว่าจะในการแก้ไขหรือต่อทั้งโครงการ ทัศนคติที่เบี่ยงเบนมากไปก็อาจไม่เป็นที่พึงประสงค์
มีเป้าประสงค์ระยะยาวที่ขัดต่อการสร้างสารานุกรม
ผู้ใช้ที่มีแนวโน้มว่าจะใช้สิทธิ์การแก้ไขเพียงเพื่อทำให้การปราศรัยหรือทัศนคติส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ (เช่นทำการแก้ไขพื้นฐานที่ไม่มากพอจะเรียกว่า "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เพื่อที่ตนเองจะสามารถกล่าวอ้างว่าเป็น "ผู้เขียนที่มีผลงาน" ... ทั้งนี้การกระทำหรือถ้อยคำของผู้ใช้ต้องแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาระยะยาวที่ขัดต่อการ "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม")
มีประวัติระยะยาวหรือ "สุดขั้ว" ซึ่งส่อว่าขาดค่านิยมสำหรับเป้าประสงค์และวิธีการของโครงการอย่างมาก
อาจรวมการไม่ใส่ใจโอกาสสำหรับปรับปรุงตัวและคำเตือนต่าง ๆ ที่ได้รับ ซ้ำยังมีเยาะเย้ยกลับมา หรือคำสัญญาจะปรับปรุงตัวที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่จริงใจ
สนใจการได้มาซึ่งสิทธิ์ผู้ใช้หรือ "รางวัล" ให้มากที่สุด
ผู้ใช้ที่ต้องการได้รางวัลให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือมุ่งความสนใจที่การได้มาซึ่งสิทธิ์ผู้ใช้ ผ่านกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากหลักการของวิกิพีเดีย แม้ว่าการได้รับรางวัลจะมิใช่สิ่งเลวร้าย แต่การอ้างรางวัลและระดับการเข้าถึงมาเป็นสิทธิพิเศษถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อวิกิพีเดีย และไม่ใช่เป้าประสงค์ของสองสิ่งดังกล่าว
แก้ไขแต่ในเนมสเปซผู้ใช้
ผู้ใช้ที่สนใจแต่เพียงการแก้ไขในเนมสเปซของตน หรือเนมสเปซฉบับร่างโดยปราศจากเจตนาที่พัฒนาให้เป็นบทความ

สิ่งที่ไม่จัดเป็น "ไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม"

[แก้]

ผู้ใช้บางรายสนใจการสร้างสารานุกรมตามหลักการของวิกิพีเดีย แต่มีความสนใจหรือขั้นตอนวิธีที่ต่างไปจากผู้ใช้อื่น ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้ในกรณีนี้ถือว่าเกิดขึ้นจากเจตนาดีอันมุ่งหวังจะพัฒนาสารานุกรม ไม่ควรถูกเข้าใจผิดว่าเป็น "ไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม"

สนใจหัวข้อนิยมกันในวงแคบ
ผู้ใช้อาจแสดงความสนใจในหัวข้อที่เป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งผู้ใช้อื่นเห็นว่าเป็นเรื่องสัพเพเหระ หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ทำความเข้าใจได้ยาก การจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมจำต้องอาศัยความสนใจและความร่วมมือที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา แม้ว่าคุณจะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับปรัชญาบางสกุลจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือทฤษฎีบททางฟิสิกส์ แต่ถ้าหัวข้อนั้นถูกกล่าวถึงอย่างมีนัยยะสำคัญในแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือวารสารทางวิชาการ หัวข้อนั้นก็สมควรที่จะมีบทความในวิกิพีเดีย
มุ่งเน้นที่กระบวนการบางอย่างเป็นการเฉพาะ
ผู้ใช้หนึ่งอาจสนใจที่สร้างบทความไว้เป็นโครง, ติดป้ายเก็บกวาดให้กับบทความ, ปรับปรุงข้อแนะนำของบทความตามคู่มือการเขียน หรือแจ้งลบบทความ เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยพัฒนาวิกิพีเดียทางอ้อม กระบวนการและกิจกรรม "หลังฉาก" เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถร่วมกันแก้ไขได้ ใช่ว่าผู้ใช้ทุกคนจะต้องอยู่ "หน้าฉาก" ด้วยการสร้างบทความหรือร่างแนวปฏิบัติใหม่
เสนอญัตติให้แก้ไขนโยบายหรือแนวปฏบัติ
ชุมชนวิกิพีเดียเป็นสถานที่ที่มีทัศนคติหลากหลาย ผู้ใช้หนึ่งอาจเชื่อว่าบรรทัดฐานอย่างหนึ่งของชุมชนเป็นการจำกัดมากเกินไปหรือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล และดำเนินการต่าง ๆ เป็นการภายในด้วยทัศนคติดังกล่าว เช่น ให้การสนับสนุุนจุดยืนใดจุดยืนหนึ่งในการอภิปราย หากผู้ใช้กระทำเช่นว่าโดยสุจริตและเพื่อปรับปรุงสารานุกรมในเชิงสร้างสรรค์ และสันนิษฐานว่าการกระทำของผู้ใช้ไม่เป็นการทำให้เสียระบบในตัวมันเอง การอภิปรายดังกล่าวก็ถือเป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนาในวิกิพีเดีย
ประสบความลำบากในบรรทัดฐานว่าด้วยความประพฤติ โดยยังมีเจตนาดีอยู่
ผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่ประสงค์จะแก้ไขพบว่าเป็นการยากที่จะปรับตัวให้เข้ากับบรรทัดฐานว่าด้วยความประพฤติ เช่น การร่วมมือกันแก้ไข, หลีกเลี่ยงการว่าร้ายผู้อื่น, หรือกระทั่งนโยบายว่าด้วยเนื้อหา เช่น ไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตนลงในบทความ กรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการศึกษาแนวปฏิบัติ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเข้ามีส่วนร่วมและแก้ไขเนื้อหาให้เป็นไปตามมาตรฐานของวิกิพีเดีย กรณีที่เกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้น อาจมีการบล็อกเพื่อให้สงบสติพร้อมกับการตักเตือน หรือกระทั่งถูกระงับสิทธิอย่างถาวรในกรณีที่เป็นปัญหาอย่างยาวนาน ไม่ถือเป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้ใช้ไม่พยายามมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และบางรายอาจต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น จงพิจารณาให้ถี่ถ้วน
แสดงความคิดเห็นที่ไม่เป็นที่นิยมในลักษณะที่ไม่ทำให้วิกิพีเดียเสียระบบ
การเพียงแต่สนับสนุนหรือบรรลุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อบทความหรือนโยบายของวิกิพีเดียโดยมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ถือเป็นสิ่งที่กระทำได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้ากันไม่ได้กับนโยบายหรือแนวปฏิบัติบางประการ เช่นนี้ถือว่าเป็นคนละอย่างกับการไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ผู้ใช้ที่ไม่เห็นด้วยพึงระวังไม่ให้ตนกระทำละเมิดนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เช่นการย้อนการแก้ไขโดยอ้างเหตุผลว่า "ยังไม่มีมติชุมชน" (ไม่รวมถึงกรณีที่ยังมีการอภิปรายอยู่), ไม่ยอมเข้าใจประเด็น และการประพฤติดั่งอนารยชน ระหว่างที่ดำเนินการคัดค้านข้อคิดเห็นอันไม่เป็นที่นิยม

มองพฤติกรรมในภาพรวม

[แก้]

เพื่อที่จะควบคุมการแก้ไขที่ดูผิวเผินเป็นการก่อกวน ผู้ใช้บางรายอาจจำนนต่อการแก้ไขอย่างโน้มเอียง ในกรณีนี้ ผู้ใช้ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวในการวิจารณ์วิกิพีเดีย และควรปฏิบัติตามนโยบาย ผู้ใช้ไม่ควรกระทำการใด ๆ ด้วยความวู่วาม ดังเช่นการคาดเดาและเข้าหาผู้ใช้อื่นอย่างไม่เป็นมิตร ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ที่สร้างสรรค์อาจมีข้อผิดพลาดได้เป็นบางครั้ง และพวกเขาต้องการเวลาพอสมควรเพื่อปรับความประพฤติให้เข้ากับวิถีและแนวปฏิบัติของชุมชน แม้กระทั่งผู้ใช้มากประสบการณ์ก็อาจพลาดพลั้งได้ ทุกคนต่างเคยผิดพลาดทั้งสิ้น การยอมรับว่าตนผิดพลาดถือเป็นวินัยที่ดี การนำความผิดพลาดของผู้อื่นมาเป็นแต้มสะสมหรือถ้วยรางวัลส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ในบางกรณี ผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมรบกวนระบบอาจแก้ไขในทางที่ไม่สร้างสรรค์แบบเว้นระยะเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อก ในกรณีนี้ขอให้คุณกล้า โดยย้อนการแก้ไขและใส่ความย่อกำกับ สำหรับกรณีที่ซับซ้อน ให้คุณแจ้งความต่อผู้ดูแลระบบ หรือหากคุณมั่นใจ, มีวิธีระงับข้อพิพาทที่ดี และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ก็อาจจะทำการระงับความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ที่หน้าพูดคุยของบทความ ขอให้อดทนรอผล เพราะในวิกิพีเดียไม่มีเส้นตายและเป็นโครงการที่ดำเนินอยู่ตลอดไป

การ "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดประสงค์และพฤติกรรมการแก้ไขวิกิพีเดียโดยรวมของผู้ใช้ ในการพิจารณาว่าผู้ใช้หนึ่งอยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรมหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบรูปแบบการแก้ไขและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในภาพรวม ไปจนถึงความชัดเจนของการแจ้งเตือนที่ผ่าน ๆ มา (เพิกเฉยต่อการแจ้งเตือนที่หาสาระไม่ได้) หรือคำแนะนำกับความพยายามของผู้ใช้ต่อการปรับปรุงวิกิพีเดีย

เนื้อหาอื่น ๆ

[แก้]

นอกเหนือจากการเป็นสารานุกรม วิกิพีเดียถือเป็นชุมชนหนึ่ง ซึ่งชุมชนสามารถยอมรับเนื้อหาไม่เป็นสารานุกรมได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่นหน้าตลกขบขันที่ไม่ก่อให้เกิดข้อติเตียน, กล่องผู้ใช้ และการออกแบบหน้าผู้ใช้

อย่างไรก้ดี หน้าที่อยู่นอกเหนือไปจากนี้มักจะถูกลบภายใต้กระบวนการของชุมชน โดนเฉพาะกรณีที่ประจักษ์ต่อชุมชนว่าผู้เขียนหลักของหน้ามิได้อยูที่นี่เพื่อร่วมสร้างสารานุกรม ตัวอย่างเช่นหน้าเครือข่ายสังคมและการประชาสัมพันธ์ในหน้าผู้ใช้, หน้าที่มีการกล่าวร้ายถึงผู้ใช้อื่น, รายการโอดครวญที่ยาวเหยียด, การแบ่งพรรคแบ่งพวก และเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดความแตกแยก

ดูเพิ่ม

[แก้]

จุดประสงค์ของวิกิพีเดีย:

ความประพฤติในวิกิพีเดีย:

การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน:

เนื้อหาของหน้า:

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิกิพีเดีย:มาเพื่อสร้างสารานุกรม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?