For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/จัดรูปแบบ.

วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/จัดรูปแบบ

อารัมภบท วิธีการแก้ไข การจัดรูปแบบ ลิงก์ การอ้างอิง
แหล่งที่มา
 หน้าคุย จำไว้ว่า ลงทะเบียน ท้ายสุด  

การจัดรูปแบบบทความวิกิพีเดียต่างจากการเขียนในโปรแกรมประมวลคำมาตรฐานหรือในวิชวลเอดิเตอร์ (VisualEditor) ที่เป็นสิ่งแวดล้อมแก้ไขทางเลือกของวิกิพีเดีย วิกิพีเดียใช้รหัสข้อความเรียก ป้ายระบุวิกิ เพื่อสร้างส่วนย่อยต่าง ๆ ในหน้า (เช่น พาดหัว) ภาษามาร์กอัพนี้เรียก ข้อความวิกิ และออกแบบมาเพื่อให้แก้ไขได้ง่าย ดู กระดาษจดโค้ด สำหรับรายการอ้างอิงอย่างรวดเร็วของรหัสข้อความวิกิ บทความซับซ้อนอาจยึดแบบผังจากบทความเดิมที่มีโครงสร้างและหัวข้อที่เหมาะสม

ตัวเส้นหนาและตัวเอน

ป้ายระบุวิกิที่ใช้มากที่สุดได้แก่ ตัวเส้นหนา และ ตัวเอน ซึ่งทำตัวเส้นหนาและตัวเอนโดยใส่เครื่องหมายอะพอสทรอฟี (') หลายตัวคร่อมคำหรือวลีนั้น

การอ้างอิงรวดเร็วมาร์กอัพวิกิ (ดาวน์โหลด PDF)
คุณพิมพ์ คุณได้
''ตัวเอน'' ตัวเอน

'''ตัวเส้นหนา'''

ตัวเส้นหนา

'''''ตัวเอนและเส้นหนา'''''

ตัวเอนและเส้นหนา

ในวิกิพีเดีย ชื่อของเรื่องบทความเขียนด้วยตัวเส้นหนา เมื่อกล่าวถึงครั้งแรกในบทความ ตัวอย่างเช่น ในบทความ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขึ้นต้นว่า

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (อังกฤษ: Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) ทรงเป็นพระมหาราชินีของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ...

ตัวเอน อาจใช้กับชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ อัลบั้ม และเกมคอมพิวเตอร์ หากกล่าวถึงเรื่องบทความที่เป็นชื่อเหล่านี้ ก็ใช้ ตัว ตัวเอนและเส้นหนา

พาดหัวและพาดหัวย่อย

พาดหัวและพาดหัวย่อยเป็นวิธีจัดระเบียบบทความ หากบทความอภิปรายหลายหัวข้อและอุทิศเนื้อหาที่มีความยาวพอสมควรแก่หัวข้อนั้น คุณสามารถจัดให้บทความน่าอ่านมากขึ้นโดยแทรกะพาดหัวสำหรับแต่ละหัวข้อ เป็นการสร้างส่วนสำหรับแต่ละหัวข้อ

คุณสามารถสร้างส่วนภายในส่วน (หรือส่วนย่อย) ได้โดยใช้พาดหัวย่อย

คุณสามารถสร้างพาดหัวย่อยคร่อมข้อความพาดหัวด้วยป้ายระบุวิกิ "=" หลายตัว ยิ่งมีสัญลักษณ์ "=" ในป้ายระบุวิกิเท่าไหร่ พาดหัวยิ่งเป็นส่วนย่อยมากเท่านั้น

คุณพิมพ์ คุณได้

== พระมาลาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ==

พระมาลาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

=== หมวกฟาง ===

หมวกฟาง

หากบทความมีพาดหัวอย่างน้อย 4 พาดหัว จะสร้างสารบัญอัตโนมัติ

ตัวห้อยและตัวยก

การใช้รูปแบบตัวห้อย คุณเพิ่มป้ายระบุ <sub> เปิดนำหน้าข้อความและปิดด้วยป้ายระบุ </sub> ตาม สำหรับตัวยกใช้ <sup> และ </sup> ตัวอย่างเช่น

รหัส H<sub>2</sub>SO<sub>4</sub> &amp;rarr; 2 H<sup>+</sup> + SO<sub>4</sub><sup>2&amp;minus;</sup>

แสดงผลเป็น H2SO4 → 2 H+ + SO42−

สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดู วิธีใช้:การจัดรูปแบบวิกิ

เอชทีเอ็มแอล

ข้อความวิกิมีคุณลักษณะทั้งหมดที่กำหนดให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมการจัดรูปแบบของวิกิพีเดีย ทว่า ขีดความสามารถจัดรูปแบบของมันมีข้อจำกัด หากคุณต้องการควบคุมการจัดรูปแบบให้มากขึ้น เช่น การใช้สี ลีลาข้อความและย่อนห้า และผังหน้า คุณสามารถใช้เอชทีเอ็มแอลได้ แต่เอชทีเอ็มแอลยากและซับซ้อนกว่าข้อความวิกิ

สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดู วิธีใช้:เอชทีเอ็มแอลในข้อความวิกิ

แถบเครื่องมือแก้ไข

ตัวแก้ไขของวิกิพีเดียมีสองแถบเครื่องมือที่ช่วยการใช้ป้ายระบุวิกิ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการพิมพ์ข้อความเป็นตัวเส้นหนา แทนที่จะพิมพ์ป้ายระบุ ''' ด้วยมือ คุณสามารถกดปุ่มตัวเส้นหนา แล้วคลิกข้อความในนั้นได้โดยตรง

แถบเครื่องมือเสริม : การเลือกหลัก
Enhanced editing toolbar
ไอคอน ฟังก์ชัน สิ่งที่แสดงเมื่อกำลังแก้ไข สิ่งที่แสดงในหน้า
Bold text ตัวเส้นหนา '''ข้อความตัวหนา''' ข้อความตัวหนา
Italic text ตัวเอน ''ข้อความตัวเอน'' ข้อความตัวเอน
External link ลิงก์ภายนอก [http://www.example.com ชื่อลิงก์] ชื่อลิงก์
Internal link ลิงก์ภายใน [[ชื่อลิงก์]] ชื่อลิงก์
Embedded file แทรกภาพ [[File:Example.jpg|thumbnail]]
แทรกการอ้างอิง <ref>แทรกข้อความอ้างอิงที่นี่</ref> [1]
Your signature with timestamp เซ็นความเห็นคุย
(พร้อมตราเวลา)
--~~~~ ชื่อผู้ใช้ (คุย) 19:59, 12 กรกฎาคม 2024 (UTC)
สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดู วิธีใช้:แถบเครื่องมือแก้ไข

วิชวลเอดิเตอร์

แถบเครื่องมือวิชวลเอดิเตอร์ปรากฏบนสุดของจอภาพเมื่อคุณเริ่มแก้ไข

Screenshot of the VisualEditor toolbar

รายการเลือดดึงลงหัวเรื่อง เปิดให้คุณเปลี่ยนการจัดรูปแบบย่อหน้า ในการเปลี่ยนลีลาของย่อหน้า ให้วางเคอร์เซอร์ในย่อหน้าแล้วเลือกรายการในรายการเลือกนี้ (ไม่จำเป็นต้องเน้นข้อความใด) ชื่อเรื่องส่วนจัดรูปแบบเป็น "หัวเรื่อง" และส่วนย่อยจัดรูปแบบเป็น "หัวเรื่อง 2", "หัวเรื่อง 3" ไปเรื่อย ๆ รูปแบบปกติสำหรับข้อความได้แก่ "ย่อหน้า"

การจัดรูปแบบ: การคลิก "A" เป็นการเปิดรายการเลือก

  • รายการ "ตัวหนา" (B) ทำให้ข้อความที่เลือกเป็นตัวเส้นหนา
  • รายการ "ตัวเอน" (I) ทำให้ข้อความที่เลือกเป็นตัวเอน
  • รายการ "ตัวยก" (x2) ทำให้ข้อความที่เลือกมีขนาดเล็กกว่าและอยู่สูงกว่าข้อความที่อยู่โดยรอบเล็กน้อย
  • รายการ "ตัวห้อย" (x2) ทำให้ข้อความที่เลือกมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ต่ำกว่าข้อความที่อยู่โดยรอบเล็กน้อย
  • รายการ "ขีดทับ" (S) เพิ่มแถบทึบทับข้อความที่เลือก
  • รายการ "รหัสคอมพิวเตอร์" (วงเล็บเหลี่ยมคู่ {}) เปลี่ยนชุดแบบอักษรข้อความที่เลือกเป็นแถบความกว้างคงที่ ซึ่งทำให้แยกข้อความนี้จากข้อความแวดล้อม (ที่มีความกว้างตามสัดส่วน)
  • รายการ "เส้นใต้" (U) เพิ่มเส้นทึบใต้ข้อความที่เลือก
  • รายการ "ภาษา" (Aあ) เปิดให้คุณติดป้ายภาษา (เช่น ภาษาญี่ปุ่น) และทิศทาง (ตัวอย่างเช่น ขวาไปซ้าย) ของข้อความที่เลือก
  • รายการสุดท้าย () เรียก "เอาออก" ลบการจัดรูปแบบอักขระทั้งหมดจากข้อความที่เลือก รวมทั้งลิงก์


สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดู แถบเครื่องมือวิชวลเอดิเตอร์


เรียนการใช้งานต่อด้วยวิกิพีเดียลิงก์


  1. แทรกข้อความอ้างอิงที่นี่
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/จัดรูปแบบ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?