For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง.

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง

วิกิพีเดีย มีหลายบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องแต่ง โลกแห่งนิยาย และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนิยาย

เมื่อสร้างบทความประเภทนี้ ต้องมีความโดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความจริง โดยพิจารณาจากเกณฑ์พิจารณาความโดดเด่นทั่วไป ที่ต้องมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิอิสระที่มีความเชื่อถือได้ ถึงจะรับรองว่าบทความมีแหล่งข้อมูลที่แสดงความโดดเด่นที่เพียงพอและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแม่นยำ

ถัดไป หากหัวข้อนั้นได้มีการสรุปว่ามีบทความในวิกิพีเดีย ผู้เขียนควรพิจารณาการเขียนและการให้ข้อมูลที่ดีที่สุดอย่างไร ผู้อ่านไม่ควรที่จะต้องได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมอีก ว่าเหตุใดจึงแยกบทความมาเช่นนั้นอีก

มุมมองโลกความจริง

[แก้]

บทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งนั้น เช่นเดียวกับทุกบทความในวิกิพีเดีย จะต้องมีอ้างอิงจากโลกความจริงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก เขียนเนื้อหาที่อธิบายถึงมุมมองในโลกความจริงของงานเขียนและงานตีพิมพ์ มีความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูลทั้งแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิและแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ

ตัวอย่างการเขียนมุมมองในโลกความเป็นจริง เช่น:

  • เขียนแยกระหว่างเรื่องที่แต่งขึ้นและมุมมองการผลิตและการตีพิมพ์ อย่างถี่ถ้วน เช่น งานเขียนนั้นส่งผลกระทบใดต่อโลกแห่งความจริง
  • เขียนแยกระหว่างการบรรยายเรื่องและลำดับเหตุการณ์ของเรื่องแต่งขึ้น ทั้ง 2 มุมมอง และการบรรยายเรื่องและเหตุการณ์ในโลกแห่งความจริง (ของภาพยนตร์และโทรทัศน์ ที่เป็นเรื่องแต่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์จริง)
  • การนำเสนอเนื้อหาเรื่องแต่งขึ้น
    • ในบทความภาพยนตร์และโทรทัศน์ ควรเขียนเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์
    • ในบทความนิยาย ควรเขียนถึงรูปแบบการเขียน
  • การเขียนเกี่ยวกับตัวละคร สถานที่ และอุปกรณ์ เขียนเล่าบรรยายอย่างมีจุดหมาย
  • มีอ้างอิงที่อ้างจากเจตนาของผู้แต่ง

ปัญหาการเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้น

[แก้]

ในมุมมองโลกที่แต่งขึ้น เขียนมุมมองของตัวละครนั้นในโลกที่แต่งขึ้น เขียนราวกับว่าเป็นเรื่องจริงและหลีกเลี่ยงความเป็นจริงและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการบัญญัติโลกของเรื่องแต่ง ในการพยายามที่จะหาความสำราญหรือสนับสนุนเรื่องลวงจากนิยายดั้งเดิม โดยละเลยต่อข้อมูลในโลกความเป็นจริง

ผู้ชื่นชอบวิกิและเว็บไซต์ผู้ชื่นชอบ ต่างหาโอกาสสร้างเรื่องขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะใส่เข้าในบทความของวิกิพีเดีย ในมุมมองของโลกแต่งขึ้นนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและชักนำไปในทางที่ผิด เชื้อเชิญให้เกิดการเขียนข้อมูลแบบงานค้นคว้าต้นฉบับ สิ่งที่สำคัญที่สุด การเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้นเป็นการฝ่าฝืนความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชุมชน ที่วิกิพีเดียไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น

ปัญหาการเขียนที่เกี่ยวข้องการมุมมองโลกที่แต่งขึ้น:

  • เพิกเฉยต่อมุมมองด้านการทำงานเพื่อผลิตผลงาน
  • การเขียนเรื่องย่อเขียนราวกับเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์
  • การบรรยายถึงตัวละคร เขียนราวกับเป็นชีวประวัติ มีข้อมูลรายละเอียดเกินไป มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกรายละเอียด
  • การบรรยายถึงสถานที่ เขียนราวกับเป็นสถานที่จริง
  • พยายาม เชื่อมข้อมูลโต้แย้งหรือเติมเต็มความต่อเนื่องของเรื่องแต่ง มากกว่าการรายงานอย่างที่ควรจะเป็น
  • เขียนเกี่ยวกับการปรากฏตัวในเรื่องหลักและเรื่องแตกย่อยอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ อย่างเท่า ๆ กัน
  • มีการใส่กล่องสืบทอดตำแหน่ง ราวกับเป็นเรื่องจริง
  • ใช้ข้อมูลจากความเห็นจากแหล่งข้อมูลไม่สำคัญ หรือจากมุกตลก เป็นข้อมูลในการเขียน
  • ใช้กล่องข้อมูลจากโลกความจริง
  • ใช้ภาพที่จับภาพนิ่งจากภาพยนตร์ แทนการใช้ภาพนักแสดงที่แสดง
  • อ้างถึงเหตุการณ์ที่แต่งขึ้นหรือวันที่เกิดขึ้นในเรื่อง มากกว่าการผลิตผลงานเสียอีก
  • เรียบเรียงการเขียนอย่างเป็นลำดับตามเวลาในท้องเรื่อง มากกว่าการให้ข้อมูลด้านการตีพิมพ์เสียอีก

ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต้นฉบับของเรื่องแต่ง เช่น นวนิยายหรือผลงานเขียนดัดแปลงในเรื่องเดียวกัน ถึงแม้จะเข้มงวดการเขียนในโลกแห่งความจริง แต่การเขียนในโลกแต่งก็ควรเขียนด้วย โดยใช้ข้อมูลจากต้นฉบับ

ตัวอย่างการให้ข้อมูลปฐมภูมิที่เขียนลงบทความได้:

  • วันเกิดและวันตายของตัวละคร
  • สถิติการปรากฏตัวหรือเอกลักษณ์ของยานพาหนะและอุปกรณ์ของเรื่องที่แต่ง
  • ประวัติของสถานที่แต่งหรือองค์กรที่แต่งขึ้น
  • ภูมิหลังของสิ่งมีชีวิตในเรื่องแต่ง
  • เรื่องย่อ

ข้อมูลทุติยภูมิ

[แก้]

ข้อมูลทุติยภูมิหมายถึงข้อมูลจากนอกโลกที่แต่งขึ้น เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่กล่าวถึงผลงานการเขียน หรือบรรยายโลกที่แต่งขึ้น หรือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิเกี่ยวกับผู้แต่งและการบรรยายถึงการสร้างสรรค์ผลงาน ส่วนผลงานการตีพิมพ์ เช่น นิตยสารสำหรับแฟน ไม่ถือเป็นแหล่งข้อมูลทุติภูมิที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามบางเรื่องราวของการตีพิมพ์ก็อาจเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหรือทุติยภูมิที่เหมาะสมในบทความได้

กฎพื้นฐาน คือ ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิให้มากที่สุดที่จำเป็น และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อโลกความเป็นจริง ไม่มากไม่น้อยเกินไป อีกกฎหนึ่งคือ หากบทความนั้นมีความโดดเด่น ต้องมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิในบทความนั้นเรียบร้อยแล้ว

ตัวอย่างของการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิของผลงานต้นฉบับ หรือผลงานปฐมภูมิ และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่นของงานเขียน:

  • ผู้เขียนหรือผู้สร้างสรรค์
  • สิ่งสำคัญในขั้นตอนการผลิต เช่น การถ่ายทำของภาพยนตร์หรือการแปลเป็นภาษาอื่นของบทประพันธ์
  • การออกแบบ
  • การพัฒนา ทั้งก่อนการผลิตและช่วงการแต่งเรื่อง
  • ปัจจัยในโลกความเป็นจริงที่มีอิทธิพลต่อผลงานและองค์ประกอบการแต่ง
  • สำหรับตัวละคร พูดถึงการคิดตัวละคร นักแสดงที่มารับบทบาท
  • การได้รับความนิยมในสาธารณะ
  • ยอดขาย
  • การตอบรับด้านเสียงวิจารณ์
  • การวิจารณ์เชิงวิเคราะห์
  • ผลกระทบต่อผู้สร้างอื่นและโครงการอื่น
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?