For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วาฬหัวคันศร.

วาฬหัวคันศร

วาฬหัวคันศร
วาฬหัวคันศรคู่ในทะเลโอค็อตสค์ใกล้ชายฝั่ง
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Mysticeti
วงศ์: Balaenidae
สกุล: Balaena
Linnaeus, 1758
สปีชีส์: B.  mysticetus
ชื่อทวินาม
Balaena mysticetus
Linnaeus, 1758
สถานที่ ๆ อยู่อาศัยของวาฬหัวคันศร

วาฬหัวคันศร หรือ วาฬโบว์เฮด (อังกฤษ: bowhead whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaena mysticetus) เป็นสัตว์เลี้ยงด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ จำพวกวาฬชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬไม่มีฟัน หรือวาฬบาลีนชนิดหนึ่ง

วาฬหัวคันศร จัดเป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 20 เมตร น้ำหนักกว่า 100 ตัน วาฬหัวคันศรมีจุดเด่น คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่ ใต้คางหรือกรามเป็นสีขาว มีปากกว้างใหญ่คล้ายหัวคันธนู มีรูจมูกขนาดใหญ่อยู่ด้านบนหัว ส่วนหัวที่ใหญ่นี้สามารถใช้กระแทกน้ำแข็งที่หนาเป็นเมตรให้แตกแยกออกจากกันได้ ซึ่งต้องใช้แรงมากถึง 30 ตัน เพราะเป็นวาฬที่อาศัยอยู่แถบอาร์กติก ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ หนาวเย็นและห่างไกลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้แล้ววาฬหัวคันศรยังถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุยืนที่สุดในโลกอีกด้วย โดยตัวที่มีอายุมากที่สุดมีบันทึกว่ามากถึง 211 ปี

ลูกวาฬหัวคันศร เมื่อแรกเกิดจะมีผิวหนังที่ย่นและมีสีอ่อนกว่าตัวเต็มวัย มีน้ำหนักราว 3-4 ตัน ลูกวาฬจะดูดกินนมแม่ภายในขวบปีแรก โดยหัวนมแม่จะอยู่ใกล้กับหาง แม่วาฬและลูกวาฬจะมีสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น ลูกวาฬบางครั้งจะกลัวแผ่นน้ำแข็งซึ่งที่จริงแล้วใช้เป็นแหล่งกำบังตัวจากศัตรูได้ดีที่สุด แม่วาฬจะว่ายนำลูก เพื่อให้ลูกวาฬหายกลัว ภายใน 1 ปี ลูกวาฬจะมีความยาวเพิ่มขึ้น 2 เท่า (ราว 10 เมตร) จากแรกเกิด และเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 25 ปี

วาฬหัวคันศร กินแพลงก์ตอนสัตว์ เช่น ไรทะเล หรือเคย เป็นอาหาร โดยกินได้เป็นปริมาณมากถึง 30 ตันภายในเวลา 1-2 เดือน และจะกินเช่นนี้ไปตลอดทั้งปี สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 500 เมตร และกลั้นหายใจได้นานถึง 50 นาที

วาฬหัวศร เป็นวาฬที่มีพฤติกรรมว่ายอพยพไปมาระหว่างทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ตามแต่ละฤดูกาล ปริมาณของวาฬหัวคันศรในช่วงฤดูหนาวในอ่าวฮัดสัน มีจำนวนนับพัน และจะว่ายน้ำออกสู่มหาสมุทรเปิดไปยังน่านน้ำแคนาดาเพื่อหาอาหาร เช่น อ่าวแลงคาสเตอร์ซาวด์ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจะว่ายลงใต้เพื่อหาอาหารในช่วงฤดูหนาว รวมระยะทางราว 4,000-5,000 กิโลเมตร สามารถว่ายน้ำได้นับพันกิโลเมตรภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยพักเป็นระยะ ๆ โดยลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เหมือนว่าหลับ ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อน้ำแข็งแตกออก จะว่ายข้ามอ่าวดิสโค เพื่อไปใช้ชีวิตในช่วงฤดูร้อนที่น่านน้ำแคนาดา อาจจะมีจำนวนประชากรวาฬที่มาจากอ่าวอลาสกาเข้ามาผสมรวมอยู่กับวาฬที่อาศัยอยู่บริเวณอาร์กติกด้วย ทำให้เหมือนมีปริมาณวาฬที่มากขึ้น คาดการว่ามีประชากรวาฬหัวคันศรนอกอลาสกาประมาณ 12,000 ตัว

วาฬหัวคันศร เมื่อโตเต็มที่บางครั้งจะมีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นกลุ่มอย่างมีแบบแผน โผขึ้นเหนือผิวน้ำ รวมถึงสะบัดครีบหาง ดำผุดดำว่ายเช่นนั้นเหมือนเล่นหรือเกี้ยวพาราสีกัน แม้กระทั่งพ่นลมจากรูบนหัว วาฬหัวคันศรเป็นวาฬที่สื่อสารกันเองและนำทางโดยใช้เสียง สามารถที่รับฟังเสียงของวาฬชนิดอื่นรวมถึงพวกเดียวกันเองได้ไกลนับหลายร้อยหรือพันกิโลเมตร เนื่องจากเสียงสามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าในอากาศ จากการศึกษาพบว่าวาฬหัวคันศรสามารถส่งเสียงร้องได้มากถึง 2 เสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถเลียนเสียงวาฬชนิดอื่น เช่น วาฬเบลูกา ได้อีกด้วย รวมถึงเปลี่ยนเสียงร้องไปในทุก ๆ ปี แต่ก็เป็นวาฬที่มีพฤติกรรมการระแวดระวังภัยสูง แม้ได้ยินเสียงน้ำกระเพื่อมเพียงเล็กน้อยก็จะหลบหนีไปจากบริเวณนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงทำให้มนุษย์เข้าใกล้ได้ยากมาก[2]

วาฬหัวคันศร
ลักษณะของกรามที่เป็นสีขาว

วาฬหัวคันศร ถือเป็นวาฬชนิดหนึ่งที่มีการล่าเป็นอย่างหนัก โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 19 แม้จะมีรูปร่างที่ใหญ่โตและมีพละกำลังมหาศาล แต่วาฬหัวคันศรเมื่อถูกล่าจะหนีเพียงอย่างเดียว โดยนักล่าจะใช้ฉมวกยิงพุ่งไปยังหลังวาฬเพื่อให้มันลากเรือไป จนกระทั่งหมดแรงและลอยน้ำอยู่นิ่ง ๆ หรือกระทั่งถูกยิงอย่างรุนแรง ก็สามารถทำให้ส่วนหัวตกลงกระแทกกับพื้นทะเลทำให้กรามหักและตายลงได้ โดยนักล่าวาฬจะดักรอวาฬที่ว่ายอพยพไปมาในทะเลแถบอาร์กติก ซึ่งวาฬหัวคันศรสามารถให้ไขมันและน้ำมันเพื่อการบริโภคและนำไปทำเป็นสบู่หรือเนยเทียม รวมถึงไขวาฬต่าง ๆ โดยวาฬหัวคันศรถือเป็นวาฬชนิดที่มีไขมันมากที่สุด เป็นวาฬที่มีรูปร่างอ้วนที่สุด มีชั้นไขมันที่หนามาก น้ำหนักตัวกว่าร้อยละ 50 เป็นไขมัน[2] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1823 เรือล่าวาฬสัญชาติอังกฤษลำหนึ่งมีบันทึกว่า ในอ่าวแลงคาสเตอร์ซาวด์ วาฬหัวคันศรถูกฆ่าตายและทิ้งซากลอยอยู่เต็มไปหมดนับร้อย ๆ ตัว ซากวาฬอยู่ทิ้งเกลื่อนทั้ง ๆ ที่ยังมีเนื้อติดอยู่ เพราะไม่มีตลาดรองรับ ในปีนั้นมีวาฬหัวคันศรถูกฆ่าตายไปมากถึง 1,406 ตัว

อุตสาหกรรมการล่าวาฬมาหยุดเอาเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 เมื่อก๊าซเข้ามาแทนที่น้ำมันวาฬ ในปี ค.ศ. 1935 วาฬหัวคันศรถูกจัดให้เป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่ถูกจัดเป็นสัตว์คุ้มครอง และเริ่มมีกำหนดข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสัตว์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reilly, S.B., Bannister, J.L., Best, P.B., Brown, M., Brownell Jr., R.L., Butterworth, D.S., Clapham, P.J., Cooke, J., Donovan, G.P., Urbán, J. & Zerbini, A.N. (2012). "Balaena mysticetus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.((cite web)): CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "ชีวิตมหัศจรรย์: ยักษ์สมุทร (2)". นาว26. 2 June 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  3. "ท่องโลกกว้าง: ยักษ์ใหญ่แห่งอาร์กติก". ไทยพีบีเอส. 30 June 2014. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Balaena mysticetus ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วาฬหัวคันศร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?