For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วันชาติจีน.

วันชาติจีน

วันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระเช้าดอกไม้ยักษ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี พ.ศ. 2563
ชื่ออื่นวันชาติจีน
จัดขึ้นโดยจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน, ฮ่องกง และมาเก๊า
ประเภทประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ชาตินิยม
ความสำคัญวันประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2492
การเฉลิมฉลองมอบกระเช้าดอกไม้แด่อนุสาวรีย์วีรชน สวนสนามทางทหาร (ทุกๆ 10 ปี) การแสดงดอกไม้ไฟ คอนเสิร์ต ฯลฯ
เริ่ม1 ตุลาคม
สิ้นสุด3 ตุลาคม (อย่างเป็นทางการ)
อีกสี่วันจะถูกเพิ่มลงในวันหยุดราชการ 3 วันโดยปกติจะเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 รอบในช่วงวันที่ 1 ตุลาคมทำให้วันหยุดนักขัตฤกษ์มีระยะเวลาเจ็ดวันติดต่อกัน (黄金周/หวงจินโจว, "สัปดาห์ทอง"), เฉพาะเจาะจงที่กำหนดโดยสภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน[1]
วันที่1 ตุลาคม
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกพ.ศ. 2492
การเฉลิมฉลองวันชาติจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี พ.ศ. 2549[2]

วันชาติจีน (จีน: 国庆节; พินอิน: guóqìng jié; แปลตรงตัว: "วันเฉลิมฉลองแห่งชาติ") คือวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ (中华人民共和国国庆节) เป็นวันหยุดราชการในประเทศจีนที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อระลึกถึงการประกาศอย่างเป็นทางการของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 [3]

หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม ยังมีการเพิ่มวันหยุดนักขัตฤกษ์อีก 6 วันตามปกติแทนวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 ครั้งในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ทำให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์มีระยะเวลา 7 วันติดต่อกันหรือที่เรียกว่า สัปดาห์ทอง (黄金周; huángjīn zhōu)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 โดยมีพิธีฉลองการจัดตั้งรัฐบาลประชาชนกลางที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชื่อปักกิ่ง (เดิมชื่อเป่ย์ผิง) ในวันเดียวกัน การสวนสนามทางทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนถูกจัดขึ้นที่นั่น

ตามคำประกาศของเหมา เจ๋อตง ที่ประกาศถึงการจัดตั้งสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐบาลกลางได้มีมติประกาศให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน

การเฉลิมฉลอง

[แก้]

วันชาติเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ทอง ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาว 1 สัปดาห์

วันดังกล่าวมีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า โดยมีเทศกาลที่รัฐบาลจัดขึ้นมากมาย เช่น ดอกไม้ไฟ คอนเสิร์ต ตลอดจนกีฬาและกิจกรรมทางวัฒนธรรม สถานที่สาธารณะ เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง วันหยุดนี้ยังมีการเฉลิมฉลองโดยชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก

พิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์วีรชน

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556 พิธีวางพวงมาลาแห่งชาติถูกจัดขึ้นในวันชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมินหลังจากพิธีชักธงในปีที่ไม่มีการสวนสนาม พิธีนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่อนุสาวรีย์วีรชน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 เพื่อรำลึกถึงวีรชนชาวจีนหลายล้านคนที่เสียชีวิตระหว่างการต่อสู้เพื่อชาติเป็นเวลาหลายปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 พิธีนี้จัดขึ้นในวันหยุดใหม่ในชื่อ Martyrs' Day ซึ่งกำหนดขึ้นใหจัดในวันที่ 30 กันยายน และมีผู้นำพรรคและรัฐเป็นประธาน[4]

พิธีชักธงชาติ

[แก้]

ในบางปี พิธีชักธงชาติจะถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในตอนเช้า หากไม่มีกำหนดการสวนสนาม[5]

เป็นเวลาหลายปีที่พิธีชักธงวันชาติในเวลา 6.00 น. เป็นกิจกรรมที่สำคัญในปีที่ไม่มีการสวนสนามที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พิธีนี้เปิดให้สาธารณชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวเข้าชม และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และสื่อออนไลน์สำหรับผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในตอนท้ายของพิธี จะมีการปล่อยนกเขา

พิธีสวนสนามทางทหาร

[แก้]
จอมพลหลิน เปียว ตรวจพลสวนสนามการสวนสนามครบรอบ 10 ปี ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2502

การสวนสนามทางทหารและพลเรือนของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตำรวจติดอาวุธประชาชน และกองทหารรักษาการณ์ร่วมกับตัวแทนประชาชนทุกสาขาอาชีพ รวมถึงผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์ของจีนถูกจัดขึ้นในช่วงเช้าของวันชาติในปีที่กำหนด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 พิธีสวนสนามได้รับการถ่ายทอดสดครั้งแรกผ่านทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) (และออกอากาศทั่วโลกผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวี) เป็นไฮไลท์สำคัญของการเฉลิมฉลองระดับชาติในกรุงปักกิ่ง

การสวนสนามถูกจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2502 และไม่ได้จัดจนถึงปี พ.ศ. 2527 เนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

ในตอนแรกมีแผนจะจัดการสวนสนามในปี พ.ศ. 2532 แต่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์การปราบปรามและสังหารหมู่ผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 4 มิถุนายน และการสวนสนามถูกจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2552

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 黄金周/Huángjīnzhōu, "Golden Week"
  2. China at 60: Nostalgia and progress | Fu Ying | Comment is free. The Guardian (2008-07-16). Retrieved on 2011-04-30.
  3. Flag-raising ceremony held for China's National Day celebration_English_Xinhua. News.xinhuanet.com (2009-10-01). Retrieved on 2011-04-30.
  4. "First national Martyrs' Day remembers those who sacrificed for China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 30 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  5. "National Day celebrated across China". Xinhua News Agency. 1 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วันชาติจีน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?