For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร.

วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดธรรมมงคล
ที่ตั้งซอย ปุณณวิถี 20 ซอยสุขุมวิท 101 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระพุทธสุพิโนภาสศาสดา (หลวงพ่อใหญ่), พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย
เจ้าอาวาสพระวิริยวัชรญาณ วิ. (บุรมณ์ เตชธมฺโม)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร หรือมักเรียกโดยย่อว่า วัดธรรมมงคล สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เดิมเป็นป่าสะแก ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ใช้เป็นที่พักธุดงค์ในระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ นายเถา-นางบุญมา อยู่ประเทศ มีศรัทธาจึงมอบที่ให้ และได้สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 32 ไร่ มี พระภิกษุ สามเณร จำพรรษาประมาณ 300 กว่ารูป ปัจจุบันมีพระวิริยวัชรญาณ วิ. (บุรมณ์ เตชธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาส

สิ่งสำคัญภายในวัด

[แก้]

พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์

[แก้]

ชั้นบนสุดบรรจุพระเกศา พระอุรังคธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับจากประเทศบังกลาเทศ ฐานเจดีย์เป็นทรง 4 เหลี่ยม สูง 94.78 เมตร มี 14 ชั้น ประกอบด้วยห้องแสดงพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ส่วนฐานเจดีย์เป็นโรงเรียนครูสอนสมาธิ (สถาบันพลังจิตตานุภาพ) ประกอบด้วย ห้องเรียนขนาดใหญ่ รองรับนักศึกษาครั้งละ ประมาณ 500 คน มีห้องเดินจงกรม ห้องนั่งสมาธิ ถ้ำวิปัสสนา ห้องอาหาร และห้องประชุม

อุโบสถ

[แก้]

เป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น สร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนอุโบสถหลังเดิมที่มีขนาดเล็ก ชั้นล่างเป็นห้องอเนกประสงค์ ส่วนชั้นบนเป็นอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระประธานขนาดใหญ่เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ นามว่า "พระพุทธสุพิโนภาสศาสดา"

พระหยกเขียว

[แก้]

ประดิษฐานอยู่ในศาลาหลังคาแบบโดมแก้ว พระพุทธรูปหยกเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีนามว่า "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย" หยกชิ้นใหญ่นี้ได้ถูกค้นพบที่ใต้ทะเลสาบน้ำแข็ง ประเทศแคนาดา

ถ้ำวิปัสสนา

[แก้]

ตั้งอยู่ในบริเวณสวนของวัด มีเนื้อที่ 4 ไร่ จำลองบรรยากาศการปฏิบัติในป่า-ถ้ำ เพื่อเข้าไปนั่งสมาธิและฟังธรรมในถ้ำได้โดยปราศจากกังวลจากสัตว์ป่า ปากถ้ำมีประตูมุ้งลวด จุคนได้กว่า 200 คน ล้อมรอบด้วยสวนป่า มีไม้ดอกไม้ใบ สระน้ำและเนินเขาซึ่งให้บรรยากาศร่มรื่น

ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

[แก้]

ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยาเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรมมีที่พัก ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม 80 ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ ประมาณ 180 คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้งห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง ที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และเครื่องปรับอากาศ ไว้อำนวยความสะดวก รองรับผู้มาปฏิบัติสมาธิพักค้างคืนได้ตั้งแต่ 3 วัน ถึง 7 วัน มีห้องนั่งสมาธิ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมมะและห้องอาหารให้บริการผู้มาเข้าอบรม

สถาบันพลังจิตตานุภาพ

[แก้]

สถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล เป็นสถาบันที่มีหน้าที่สอนหลักสูตรครูสมาธิให้แก่ บุคคลทั่วไป ทำการสอนเกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูงที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เล่าเรียนศึกษามาจากพระอาจารย์ใหญ่ทางวิปัสสนา ได้แก่ พระอาจารย์มั่น และ พระอาจารย์กงมา รวมถึงประสบการณ์ชีวิตในการปฏิบัติสมาธิของหลวงพ่อวิริยังค์เองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะได้เข้าใจการทำสมาธิ ทั้งสมถะ-วิปัสสนาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้โดยถูกต้องด้วย

ลำดับเจ้าอาวาส

[แก้]
ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) พ.ศ. 2509 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563
รักษาการ พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต ป.ธ.7) 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 29 กันยายน พ.ศ. 2565
2 พระวิริยวัชรญาณ วิ. (บุรมณ์ เตชธมฺโม) 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ยังดำรงตำแหน่ง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?