For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วัดต่อแพ.

วัดต่อแพ

วัดต่อแพ
แผนที่
ที่ตั้งตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูพิศิษฐ์พรหมคุณ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดต่อแพ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำยวม วิหารของวัดมีหลังคาสูงคล้ายวิหารที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง และมีเสากลม ตัวเพดานเขียนลวดลายอย่างสวยงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิหารที่สวยงามที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน[1] ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่[2]

ประวัติ

[แก้]

เดิมเป็นวัดร้าง ไม่ทราบว่าสร้างมาแต่สมัยไหน มีเจดีย์เก่าแก่ กองอิฐ ซากปรักหักพัง และป่ารกทึบ กระทั่งในปี พ.ศ. 2461 มีพระธุดงค์ชาวไทใหญ่เดินทางมาจากพม่า แล้วมาตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น หลังจากนั้นพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายยังแม่สะเรียงและพม่าด้วยการล่องแพไปจากที่นี่ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญขึ้น พร้อมกับทำการบูรณะเจดีย์ที่พักพังด้วยการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบโดยได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ และสร้างวิหารคู่กับองค์เจดีย์ ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน ที่มีนามมาจากการที่ชาวบ้านจะใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นแพ เพื่อให้เป็นพาหนะบรรทุกสินค้าไปทำการติดต่อค้าขายในอำเภอแม่สะเรียง ได้ขึ้นทะเบียนตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2461 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2525

สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง วัดเป็นที่พักทหารญี่ปุ่นจะเดินทางต่อไปยังพม่า บริเวณวิหารเล็กที่ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ใช้เป็นสถานที่พิมพ์ธนบัตร พื้นที่ใต้ถุนศาลาวัดใช้เป็นสถานพยาบาล รวมทั้งเมื่อทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยหรือสู้รบก็นำมาฝังไว้ภายในบริเวณวัดแห่งนี้ด้วย ปัจจุบันจึงมีอนุสรณ์สถานของทหารญี่ปุ่นให้เห็น ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกำแพงด้านหน้าของทางเข้าวัด

อาคารเสนาสนะและโบราณวัตถุ

[แก้]

เจดีย์และวิหารที่ตั้งเคียงข้างกันเป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า ฐานเจดีย์แปดเหลี่ยมด้านล่างเป็นสีขาว ช่วงบนเป็นสีทอง ตามทิศต่าง ๆ ของเจดีย์จะมีซุ้มพระประจำ และมีสิงห์ตั้งอยู่ทั้ง 4 มุม ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรโลหะ 7 ชั้น บนฉัตรมีระฆังแขวนห้อยอยู่จำนวนมาก[3]

ศาลาการเปรียญเป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า เป็นศาลาชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาซ้อนหลายชั้น มีการประดับตกแต่งลวดลายฉลุ บริเวณใต้ถุนศาลาแขวนไว้ด้วยเถาลูกสะบ้าเขียนข้อความคติเตือนใจ ส่วนในอาคารศาลามีของาพถ่ายเก่าแกของวัด ปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะพม่า ไทใหญ่ ที่มีทั้งพระประธาน พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระบัวเข็ม และอีกมากมายหลายองค์ มีธรรมาสน์สวยงามเก่าแก่ จองพารา ผ้าม่านประดับทับทิมมีอายุมากกว่า 150 ปี เป็นเรื่องพุทธประวัติตอนพระเวสสันดรเสด็จประพาสอุทยาน ทำขึ้นในพม่าแล้วมีผู้ใจบุญนำมาถวายให้เจ้าอาวาสวัดต่อแพรูปแรก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดต่อแพ". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. อรรจนีลดา วุฒิจันทร์, อ่อนเดือน เทียนทอง (2533). "ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9". กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  3. "'วัดต่อแพ'แม่ฮ่องสอน จิตวิญญาณชาวไตใหญ่". ข่าวสด.
  4. ปิ่น บุตรี (24 กุมภาพันธ์ 2553). "งามเป็นต่อ ที่"วัดต่อแพ" แม่ฮ่องสอน/ปิ่น บุตรี". ผู้จัดการออนไลน์.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วัดต่อแพ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?