For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วรรณยุกต์.

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ หรือ วรรณยุต (อังกฤษ: tone) หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง

ภาษาที่มีวรรณยุกต์

  • ภาษาจีน-ทิเบต ในบทสวดของทิเบตและจีนจะมีวรรณยุกต์อยู่
  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) ภาษาเวียดนาม และภาษาอื่นที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นภาษามีวรรณยุกต์ชัดเจน แต่ภาษาอื่น ๆ เช่น มอญ เขมร มุนดา เป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์
  • ตระกูลภาษาขร้า-ไท ที่พูดในจีน เวียดนาม ไทย และลาว เช่น ภาษาไทย ภาษาลาว
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ทั้งหมด
  • ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก จำนวนมาก
  • ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก
  • ตระกูลภาษาไนล์-สะฮารา แทบทั้งหมด
  • ภาษา Khoisan ทั้งหมดในแอฟริกาตอนใต้
  • ภาษาอินเดีย-ยุโรปแทบทั้งหมด ไม่มีวรรณยุกต์ เว้นแต่บางภาษา เช่น ภาษาปัญจาบ
  • ภาษาฮังการี

ระบบวรรณยุกต์

ในภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือ "ภาษาวรรณยุกต์" ทุกพยางค์จะมีระดับเสียงที่กำหนดไว้แล้ว ดังนั้น พยางค์สองพยางค์สามารถมีพยัญชนะที่เหมือนกัน และ สระที่เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีวรรณยุกต์ที่ไม่เหมือนกันได้

กลุ่มภาษาไท

ภาษาไทยมาตรฐาน

ภาษาไทยมาตรฐานมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. คา [kʰaː˧]
  2. ข่า [kʰaː˨˩]
  3. ข้า/ค่า [kʰaː˥˩]
  4. ค้า [kʰaː˦˥]
  5. ขา [kʰaː˨˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา (ກາ) [kaː˨˩]
  2. ขา (ຂາ) [kʰaː˨˦]
  3. ข่า/ค่า (ຂ່າ/ຄ່າ) [kʰaː˧]
  4. ข้า (ຂ້າ) [kʰaː˧˩]
  5. คา (ຄາ) [kʰaː˧˥]
  6. ค้า (ຄ້າ) [kʰaː˥˩]

ดั่งภาษาไทย ทุกคำที่กล่าวข้างบน ยกเว้น กา ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

คำเมืองถิ่นเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา (ᨣᩤ) [kaː˦˦]
  2. ก่า (ᨠ᩵ᩣ) [kaː˨˨]
  3. ก้า (ᨣ᩵ᩤ) [kaː˦˩]
  4. ก้า (โทพิเศษ) (ᨠ᩶ᩣ) [kaː˥˧]
  5. ก๊า (ᨣ᩶ᩤ) [kaː˦˥˦]
  6. ก๋า (ᨠᩣ) [kaː˩˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [k] และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน และไม่มีในภาษาไทย

ภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลางมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. mā (媽/妈) "แม่"
  2. má (麻/麻) "กัญชา"
  3. mǎ (馬/马) "ม้า"
  4. mà (罵/骂) "ด่า"
  5. ma (嗎/吗) (คำลงท้ายใช้ถามคำถาม)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม
  • Bao, Zhiming. (1999). The structure of tone. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-511880-4.
  • Chen, Matthew Y. 2000. Tone Sandhi: patterns across Chinese dialects. Cambridge, England: CUP ISBN 0-521-65272-3
  • Clements, George N.; Goldsmith, John (eds.) (1984) Autosegmental Studies in Bantu Tone. Berlin: Mouton de Gruyer.
  • Fromkin, Victoria A. (ed.). (1978). Tone: A linguistic survey. New York: Academic Press.
  • Halle, Morris; & Stevens, Kenneth. (1971). A note on laryngeal features. Quarterly progress report 101. MIT.
  • Haudricourt, André-Georges. (1954). "De l'origine des tons en vietnamien". Journal Asiatique, 242: 69–82.
  • Haudricourt, André-Georges. (1961). "Bipartition et tripartition des systèmes de tons dans quelques langues d'Extrême-Orient". Bulletin de la Société de Linguistique de Paris, 56: 163–180.
  • Hombert, Jean-Marie; Ohala, John J.; Ewan, William G. (1979). "Phonetic explanations for the development of tones". Language. 55 (1): 37–58. doi:10.2307/412518. JSTOR 412518.
  • Hyman, Larry. 2007. There is no pitch-accent prototype. Paper presented at the 2007 LSA Meeting. Anaheim, CA.
  • Hyman, Larry. 2007. How (not) to do phonological typology: the case of pitch-accent. Berkeley, UC Berkeley. UC Berkeley Phonology Lab Annual Report: 654–685. Available online.
  • Kingston, John. (2005). The phonetics of Athabaskan tonogenesis. In S. Hargus & K. Rice (Eds.), Athabaskan prosody (pp. 137–184). Amsterdam: John Benjamins Publishing.
  • Maddieson, Ian. (1978). Universals of tone. In J. H. Greenberg (Ed.), Universals of human language: Phonology (Vol. 2). Stanford: Stanford University Press.
  • Michaud, Alexis. (2008). Tones and intonation: some current challenges. Proc. of 8th Int. Seminar on Speech Production (ISSP'08), Strasbourg, pp. 13–18. (Keynote lecture.) Available online.
  • Odden, David. (1995). Tone: African languages. In J. Goldsmith (Ed.), Handbook of phonological theory. Oxford: Basil Blackwell.
  • Pike, Kenneth L. (1948). Tone languages: A technique for determining the number and type of pitch contrasts in a language, with studies in tonemic substitution and fusion. Ann Arbor: The University of Michigan Press. (Reprinted 1972, ISBN 0-472-08734-7).
  • Wee, Lian-Hee (2008). "Phonological Patterns in the Englishes of Singapore and Hong Kong". World Englishes. 27 (3/4): 480–501. doi:10.1111/j.1467-971X.2008.00580.x.
  • Yip, Moira. (2002). Tone. Cambridge textbooks in linguistics. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-77314-8 (hbk), ISBN 0-521-77445-4 (pbk).

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วรรณยุกต์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?