For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วรชัย เหมะ.

วรชัย เหมะ

วรชัย เหมะ
ไฟล์:วรชัย เหมะ.jpg
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต 4
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 26 มกราคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายวรชัย เหมะ คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองของรองนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และแนวร่วมคนสำคัญของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติ

[แก้]

นายวรชัย เหมะ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายหนาม และนางเอิบ เหมะ มีพี่น้อง 4 คน พื้นเพดั้งเดิมเป็นชาวอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีชื่อเล่นที่เรียกกันในหมู่เพื่อนฝูงว่า "เงาะ" แต่ได้มาปักหลักอาศัยอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการมานานกว่า 40 ปี[1] ชีวิตครอบครัวผ่านเคยผ่านการสมรสและหย่า มีบุตร 2 คน

งานการเมือง

[แก้]

ในช่วงผลิกพันทางการเมืองไทยระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516–เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นายวรชัยได้มีส่วนร่วมในการเมืองภาคประชาชน เหมือนเช่นคนหนุ่มสาวหรือนิสิตนักศึกษาในสมัยนั้น โดยรู้จักและมักคุ้นกับสมาชิกพรรคชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีแนวความคิดฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม แต่ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งกันในแนวความคิด โดยนายวรชัยไม่เห็นด้วยกับการนำเอาสังคมชนบทมาล้อมสังคมเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ป่าล้อมเมือง" จึงถูกขับออกจากพรรค

ต่อมาได้เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ประจำห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สาขาสำโรง ของนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ซึ่งเป็นนักการเมืองในสังกัด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายทุนคนสำคัญที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงทำให้นายวรชัยได้กลายมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มคนเสื้อแดง ประจำจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นผู้นำเอากลุ่มคนเสื้อแดงจังหวัดสมุทรปราการ ในนาม "กลุ่มคนรักทักษิณปากน้ำ" เข้าร่วมการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2552 จึงทำให้ได้รู้จักกับแกนนำคนเสื้อแดงหลายคน เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ, นายวีระ มุสิกพงศ์,นายก่อแก้ว พิกุลทอง น.พ.เหวง โตจิราการ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ และกลายมาเป็นหนึ่งในแนวร่วมคนสำคัญในที่สุด [1]

ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ส.ส. สมุทรปราการ ซึ่งสังกัดพรรคเพื่อไทย 2 คน คือ นายกรุง ศรีวิไล และนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ได้แถลงย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย อย่างเป็นทางการ[2] ในวันเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยจึงมีการแถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคแทนทันที คือ นายวรชัย และนางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์[3]

ต่อมาเมื่อมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ พ.ศ. 2554 นายวรชัยลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย สามารถเอาชนะนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ จากพรรคภูมิใจไทย และได้เป็นเป็น ส.ส. สมัยแรก นายวรชัยเป็น 1 ใน 8 ส.ส. ที่ถูกยื่นถอดถอนความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มาตรา 62[4]

ในกลางปี พ.ศ. 2556 นายวรชัย ได้นำเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หรือพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ที่มีเนื้อหานิรโทษกรรมทุกกลุ่มการเมืองในเหตุความวุ่นวายทางการเมืองก่อนหน้านั้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายในรัฐสภาระหว่างการประชุมพิจารณา[5] และกลายมาเป็นการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) รวมถึงแนวร่วมกลุ่มอื่น ๆ ในที่สุด โดยเริ่มต้นที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน[6]

เขาเคยจำคุกในคดี เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในศาลชั้นต้น ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาใน วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 เขาได้รับการประกันตัวในวงเงิน 8 แสน บาท เขาจำคุกในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 ตามคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ในคดีดังล่าว และไม่ได้รับการประกันตัวในวันดังกล่าว

ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้แจ้งข้อหานายวรชัย ในข้อหามีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมกับนายประชา ประสพดี ซึ่งเป็น ส.ส.จังหวัดสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกัน[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นายวรชัย เหมะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 กรุงเทพธุรกิจโฟกัส, 'วรชัย'มันสมองเสื้อแดง. "แกะรอย" โดย ประชา บูรพาวิถี. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10095: วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
  2. กรุงศรีวิไล-จิรพันธ์ ย้ายซบภูมิใจไทยเรียบร้อยแล้ว[ลิงก์เสีย]
  3. พท.เปิดตัว2ว่าที่ผู้สมัครส.ส.ปากน้ำอดีต"แกนนำพปช.-ส.ส.ทรท." ติดบอร์ดไล่วุฒิชัย-ปิยะรัช-กรุง-จิรพันธ์
  4. "'ปธ.วุฒิฯ'ส่งคำร้อง'ปปช.'ถอด8ส.ส.พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2011-12-27.
  5. "จ่าประสิทธิ์ชูรองเท้ากลางสภาฯ สส.ถกเถียง นิรโทษกรรมดุเดือด". เช้านี้ที่หมอชิต. August 8, 2013. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.[ลิงก์เสีย]
  6. "ลำดับเหตุการณ์ชุมนุม จากสามเสน ถึงปิดกรุงเทพฯ". สนุกดอตคอม. January 13, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.
  7. ค้นรังอดีตส.ส.เพื่อไทย บ้าน‘วรชัย-ประชา’
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วรชัย เหมะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?