For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จังหวัดลิมบืร์ค (ประเทศเนเธอร์แลนด์).

จังหวัดลิมบืร์ค (ประเทศเนเธอร์แลนด์)

ลิมบืร์ค
จังหวัดของเนเธอร์แลนด์
ธงของลิมบืร์ค
ธง
ตราราชการของลิมบืร์ค
ตราอาร์ม
เพลง: ลิมบืร์คไมน์ฟาเดอร์ลันด์
("ลิมบืร์ค ปิตุภูมิของข้า")
ที่ตั้งของจังหวัดลิมบืร์คในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ตั้งของจังหวัดลิมบืร์คในประเทศเนเธอร์แลนด์
พิกัด: 51°13′N 5°56′E / 51.217°N 5.933°E / 51.217; 5.933
ประเทศเนเธอร์แลนด์
การจัดตั้งค.ศ. 1839
เมืองหลักมาสทริชท์
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ[1]เตโอ โบเฟินส์
พื้นที่
 • พื้นดิน2,153 ตร.กม. (831 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ56 ตร.กม. (22 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 9
ประชากร
 (2006)
 • พื้นดิน1,131,938 คน
 • อันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น530 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 4
รหัส ISO 3166NL-LI
ศาสนา (2003)โรมันคาทอลิก ร้อยละ 78
โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 2
อื่น ๆ ร้อยละ 5
ไม่มีศาสนา ร้อยละ 15
เว็บไซต์www.limburg.nl

ลิมบืร์ค (ดัตช์: Limburg) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดในบรรดาสิบสองจังหวัดของประเทศเนเธอร์แลนด์ จังหวัดลิมบืร์คมีพรมแดนทางตอนใต้และบางส่วนทางตะวันตกติดกับประเทศเบลเยียม โดยมีแม่น้ำเมิซกั้นระหว่างสองประเทศ พรมแดนบางส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดนอร์ทบราบันต์ และทางเหนือติดกับจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ ทางตะวันออกติดกับรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินในประเทศเยอรมนี

เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของจังหวัดคือ มาสทริชท์ มีประชากร 121,565 คน [2] เมืองขนาดรองลงมาคือเวนโล ซิตทาร์ด-เคเลน และเฮร์เลิน จังหวัดลิมบืร์คตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อยู่ใกล้กับมหานครเศรษฐกิจรูห์ของเยอรมนีและเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ได้เป็นอย่างดี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของลิมบืร์คเริ่มขึ้นในสมัยสาธารณรัฐโรมัน เมื่อจูเลียส ซีซาร์เข้ายึดดินแดนบริเวณนี้และกำจัดชนพื้นเมืองที่ลุกฮือต่อต้านทั้งหมด และได้ตั้งนครตุงกรีขึ้นโดยมีโตงเงอเรินเป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม) ได้มีการวางเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองโตงเงอรินกับโคโลญ ก่อให้เกิดการตั้งเมือง โมซา ทราเจ็กตัม (มาสทริชท์) และ โคริโอวาลลัม (เฮร์เลิน) ขึ้น พื้นที่แถบนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมโรมันหลงเหลืออยู่มาก ต่อมา พระสังฆราชเซอร์วาติอุสได้นำคริสต์ศาสนาจากโรมันมาเผยแพร่ในมาสทริชท์เมื่อ ค.ศ. 384 ทำให้ต่อมา มาสทริชท์เรืองอำนาจขึ้นมาแทนโทงเงอเริอในฐานะเมืองหลวงท้องถิ่นอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนจะมีการสถาปนามุขมณฑลขึ้นที่ลีแยฌ (ปัจจุบันอยู่ในเบลเยียม) ห่างจากมาสทริชท์ไปทางใต้ 25 กิโลเมตร

หลังอาณาจักรโรมันล่มสลาย อำนาจของโรมันก็เสื่อมลง อาณาจักรแฟรงก์ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในพื้นที่แทนโรมัน นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของพื้นที่ หุบเขาริมแม่น้ำเมิซมีความสำคัญทางด้านการเมืองและวัฒนธรรม พระเจ้าชาร์เลอมาญ กษัตริย์ชาวแฟรงก์ได้สถาปนาเมืองอาเคินเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรแฟรงก์และมีอาณาบริเวณแผ่มาถึงตอนใต้ของลิมบืร์ค และทำให้ดินแดนแถบนี้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นไปอีก หลังพระเจ้าชาร์เลอมาญสวรรคต อาณาจักรแฟรงก์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก กลาง และตะวันออก แต่เส้นเขตแดนไม่เสถียรนัก ดินแดนของจังหวัดลิมบืร์คสลับเปลี่ยนไปอยู่ในอำนาจของหลายอาณาจักร จนในที่สุด ได้ตกเป็นของราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก จากสนธิสัญญาเมอร์เซนเมื่อปี ค.ศ. 870

ในยุคกลาง ขุนนางแห่งฟาลเคนบูร์ก ดาลเฮม เฮร์โซเกนราท เริ่มมีอำนาจขึ้นทางตอนใต้ของลิมบืร์ค แต่ต่อมาถูกรวมเป็นดัชชีลิมบืร์คและอยู่ภายใต้การปกครองของดัชชีบราบันต์อีกที เข้าสู่ศตวรรษที่ 15 ดัชชีลิมบืร์คและเมืองบริวารตกเป็นของเบอร์กันดี ส่วนเมืองมาสทริชท์อยู่ใต้การปกครองของราชรัฐมุขนายกลีแยฌและดัชชีบราบันต์ร่วมกัน ส่วนตอนกลางและเหนือของจังหวัดลิมบืร์คในปัจจุบันตกเป็นของดัชชียือลิชและดัชชีเกลเดอร์ส บรรดาดัชชีและมุขนายกเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากเหนือดินแดนลิมบืร์คในยุคกลางภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่มีบ่อยครั้งที่มักจะสู้รบกันเอง และผลของการสู้รบในพื้นที่ของลิมบืร์คก็ทำให้ภูมิภาคนี้ลดความสำคัญทางเศรษฐกิจลงไป

การสู้รบในสงคราม 80 ปีที่มาสทริชท์

ในช่วงสงคราม 80 ปีที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามเพื่อเป็นเอกราชจากการปกครองของสเปน ลิมบืร์คกลายเป็นสมรภูมินองเลือดบ่อยครั้ง ชาวลิมบืร์คร่วมรบกับฝั่งสเปนเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์นิกายคาทอลิก ตรงข้ามกับชาวดัตช์ที่นับถือลัทธิคาลวิน จนเมื่อสิ้นสุดสงครามและเนเธอร์แลนด์ได้เอกราช ดินแดนของจังหวัดลิมบืร์คถูกแบ่งเป็นพื้นที่การปกครองครองสเปน ปรัสเซีย สาธารณรัฐดัตช์ ลีแยฌ และขุนนางอีกหลายคน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1673 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ยกกองทัพฝรั่งเศสมาตีเบลเยียมจนถึงเมืองมาสทริชท์และยึดเมืองได้ในช่วง ค.ศ. 1673 ถึง 1678 และฝรั่งเศสยึดทัพมายึดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1748 ในช่วงสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

เขตแดนของลิมบืร์คเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อจักรพรรดินโปเลียนยกทัพมายึดประเทศเนเธอร์แลนด์ไว้ได้เมื่อปี ค.ศ. 1794 ถึงปี ค.ศ. 1814 ในช่วงนี้ เนเธอร์แลนด์ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และลิมบืร์คถูกเปลี่ยนให้เป็นจังหวัดหนึ่งของฝรั่งเศสชื่อ เมิซ-อินเฟริเยอร์ (ฝรั่งเศส: Meuse-Inférieure) ที่หมายถึง เมิซส่วนล่าง

เมื่อจักรพรรดินโปเลียนแพ้สงคราม มหาอำนาจของยุโรปได้แก่ สหราชอาณาจักร ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซีย ได้ประชุมกันที่การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีมติให้ก่อตั้งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ขึ้นในปี ค.ศ. 1815 โดยรวมเอาเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมเป็นประเทศเดียวกัน ได้มีการตั้งจังหวัดใหม่ขึ้นเป็นจังหวัดมาสทริชท์เช่นเดียวกับเมืองหลวงของจังหวัด อย่างไรก็ตาม พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงไม่ประสงค์จะให้ชื่อในยุคกลางต้องสูญหายไป จึงทรงเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดลิมบืร์ค

การแบ่งแยกและผนวกดินแดนในปี ค.ศ. 1839 หลังจากเบลเยียม (3) ได้เอกราชจากเนเธอร์แลนด์ (1) อย่างเป็นทางการ พื้นที่ตะวันตกของลักเซมเบิร์ก (4) จะถูกยกให้กับเบลเยียมด้วย เหลือเพียงแค่ลักเซมเบิร์ก(5)ที่จะอยู่กับสมาพันธรัฐเยอรมมัน เพื่อเป็นการชดเชย เนเธอร์แลนด์จึงแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดลิมบืร์ค (2) ให้อยู่ภายใต้การบริหารปกครองของสมาพันธรัฐเยอรมันด้วย

ต่อมา เมื่อปี ค.ศ. 1830 เกิดการปฏิวัติเบลเยียมขึ้น โดยเบลเยียมที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวคาทอลิกต้องการแยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์ตอนเหนือที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือลัทธิคาลวิน ทางเนเธอร์แลนด์ส่งกองกำลังเข้าปราบปรามฝ่ายกบฏและไม่ยอมรับเอกราชของเบลเยียม นำมาซึ่งการสู้รบยาวนานจนถึงปี ค.ศ. 1839 ได้มีการเจรจาสันติภาพและลงสนามในสนธิสัญญาลอนดอน รับรองเอกราชของเบลเยียม จังหวัดลิมบืร์คเดิมทีอยู่ภายใต้การปกครองของเบลเยียมได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนตะวันออกตกเป็นของเนเธอร์แลนด์ และส่วนตะวันตกกลายเป็นของเบลเยียม และจุดแบ่งก็กลายเป็นเส้นพรมแดนของทั้งสองประเทศมาจนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาลอนดอนได้ระบุว่าพื้นที่ทางตะวันตกของลักเซมเบิร์กที่เดิมอยู่ใต้การปกครองของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จะถูกรวมกับเบลเยียม แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าลักเซมเบิร์กเคยอยู่ภายใต้อำนาจของสมาพันธรัฐเยอรมันไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้ สมาพันธรัฐเยอรมันตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อความร่วมมือทางการค้าหลังสงครามนโปเลียนดังนั้น พื้นที่ลักเซมเบิร์กตะวันตกที่มีประชากร ราว 150,000 คนที่จะเสียไปให้เบลเยียมนั้น จะทำให้สมาพันธรัฐเยอรมันเสียประโยชน์ด้วย เพื่อเป็นการชดเชย เนเธอร์แลนด์จึงได้ทำการยกพื้นที่ของจังหวัดลิมบืร์คไปอยู่กับสมาพันธรัฐเยอรมันด้วย ยกเว้นเพียงเมืองมาสทริชท์และเวนโล (เพราะหากไม่นับประชากรของสองเมืองนี้ พื้นที่ที่จะยกไปจะมีประชากรรวมราวๆ 150,000 คนพอดี) ดังนั้น พื้นที่บางส่วนของจังหวัดลิมบืร์คจึงอยู่ภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และเป็นดัชชีลิมบืร์คภายใต้การปกครองของสมาพันธรัฐเยอรมันไปพร้อมๆกันด้วย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1839 จนถึงปี ค.ศ. 1866 อันเป็นปีที่เกิดสงครามระหว่างปรัสเซียและออสเตรียจนสมาพันธรัฐเยอรมันล่มสลายและมีการสถาปนาชาติเยอรมันขึ้น สนธิสัญญาลอนดอนฉบับที่สองที่ลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1867 ระบุให้ลิมบืร์คกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์เพียงประเทศเดียวตั้งแต่นั้น แต่ชื่อของดัชชีลิมบืร์คยังมีการใช้ในเอกสารราชการเรื่อยมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 และยังส่งผลให้ลิมบืร์คมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นด้วย เช่น ผู้ปกครองของจังหวัดจะถูกเรียกว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด" ต่างกับจังหวัดอื่นที่ใช้ชื่อ "ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์"

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์รวมถึงลิมบืร์คด้วย เมืองและหมู่บ้านจึงได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดและปืนใหญ่ จนกระทั่งหลังจบสงครามโลกในปี ค.ศ. 1945 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมเมือง ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1991 ประชาคมยุโรปได้มีการจัดประชุมที่เมืองมาสทริชท์ และได้มีการเซ็นสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรปขึ้น จึงถือได้ว่ามาสทริชท์ จังหวัดลิมบืร์ค เป็นจุดกำเนิดของสหภาพยุโรป

ภาษา

[แก้]

แม้ภาษาดัตช์จะเป็นภาษาราชการ แต่ลิมบืร์คก็มีสำเนียงเป็นของตัวเองที่เรียกว่า ลิมบืร์คิช ได้รับการรับรองให้เป็นภาษาถิ่นอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1997 แต่ไม่ได้เป็นภาษาราชการ ประมาณการกันว่ามีคนพูดภาษาลิมบืร์คิชประมาณ 1.6 ล้านคนในจังหวัดลิมบืร์คของเนเธอร์แลนด์ ลิมบืร์คของเบลเยียม และเยอรมนี แต่สำเนียงก็แตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละประเทศ และในแต่ละหมู่บ้านและชุมชนก็มีสำเนียงที่ต่างกันอีก เช่น ลิมบืร์คิชทางเหนือจะมีความคล้ายกับภาษาของเกลเดอร์สทางตอนใต้และบราบันต์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ลิมบืร์คเป็นเหมือนส่วนยื่นของเนเธอร์แลนด์เข้าไปในประเทศเบลเยียม เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของเนเธอร์แลนด์แล้ว พื้นที่ของลิมบืร์คจะมีความราบเรียบน้อยกว่า และบางครั้งมีลักษณะเป็นเนินเขา จุดสูงสุดของเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้เช่นกัน คือ ฟาลเซอร์แบร์ก (หมายถึง ภูเขาแห่งวาลส์) มีความสูง 322.4 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และยังเป็นจุดที่พรมแดนของสามประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และเยอรมนีมาบรรจบกันอีกด้วย

แม่น้ำสายหลักของลิมบืร์คคือแม่น้ำเมิซ ไหลจากตอนใต้ของตัวจังหวัดไปจนถึงตอนเหนือของจังหวัด พื้นดินจึงมีลักษณะเป็นดินตะกอนจากแม่น้ำเมิซ บางครั้งถูกนำไปทำเป็นอิฐในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ลิมบืร์คแบ่งการปกครองออกเป็น 33 เทศบาล ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม (COROP) ได้แก่

  • กลุ่มลิมบืร์คเหนือ: เบเซล, เบร์เกิน, เกนเนิป, โฮร์สท์อานเดอมาส, โมกเอ็นมิดเดอลาร์, เพลเอ็นมาส, เวนโล, เวนราย
  • กลุ่มลิมบืร์คกลาง: เอคท์-ซุสเทเริน, เลอดาล, มาสโกว์, เนเดอร์เวร์ท, รูร์ดาเลิน, รูร์มอนด์, เวร์ท
  • กลุ่มลิมบืร์คใต้: เบก, บรุนส์ซุม, ไอส์เดิน-มาร์กราเทิน,กุลเพิน-วิทเทิม, เฮร์เลิน, แกร์กราเดอ, ลันด์กราฟ, มาสทริชท์, เมร์สเซิน, นุท, โอนเดอร์บังเคิน, สคินเนิน, ซิมเพิลเฟลด์, สเตน, ฟาลส์, ฟาลเคินบูร์กอานเดอเกิล, ฟูเรินดาล

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจของลิมบืร์คมีขนาดไม่ใหญ่มาก คิดเป็นร้อยละ 5.7 เท่านั้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเนเธอร์แลนด์ (ปี ค.ศ. 2018) [3] ในอดีต มีการขุดถ่านหินและพีต แต่เหมืองถ่านหินถูกทยอยปิดไปในช่วง ค.ศ. 1965 ถึง 1975 ส่งผลให้คนงานที่ทำงานในเหมืองกว่า 60,000 คนต้องตกงาน รัฐบาลได้ชดเชยด้วยการย้ายสำนักงานรัฐบาลหลายแห่งไปยังเฮร์เลิน เพื่อเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ เช่น สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ปัจจุบัน บริษัทดีเอสเอ็มที่เคยเป็นบริษัทขุดถ่านหินของรัฐได้เปลี่ยนมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมเคมี ปัจจุบันได้ขายส่วนธุรกิจปิโครเคมีให้กับบริษัทซาบิคในซาอุดิอารเบีย นอกจากนี้ ลิมบืร์คยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตรถยนต์เฟเดแอลโดยปัจจุบันดำเนินการผลิตให้กับรถมินิ บริษัทเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์ในเวนโล โรงงานกระดาษในมาสทริชท์ ภายใต้ของลิมบืร์คยังเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้แต่ปัจจุบันได้ลดกำลังการผลิตไป และเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นแทน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ลิมบืร์คเป็นจังหวัดเดียวในเนเธอร์แลนด์ที่เรียกตำแหน่งหัวหน้าจังหวัดว่า "ผู้ราชการจังหวัด" แทนที่จะเป็น "ข้าหลวงในพระองค์" อย่างจังหวัดอื่น
  2. "CBS Statline". opendata.cbs.nl.
  3. "Regional GDP per capita ranged from 30% to 263% of the EU average in 2018". Eurostat.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดลิมบืร์ค


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จังหวัดลิมบืร์ค (ประเทศเนเธอร์แลนด์)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?