For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ลันจ์ไมน์.

ลันจ์ไมน์

ลันจ์ไมน์
ภาพวาดของลันจ์ไมน์และวิธีการใช้งาน
ชนิดอาวุธต่อต้านรถถังแบบพลีชีพ
แหล่งกำเนิด ญี่ปุ่น
บทบาท
ประจำการ1944–1975
ผู้ใช้งาน
สงคราม
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบสงครามโลกครั้งที่ 2
ข้อมูลจำเพาะ
มวล14.3 ปอนด์ (6.5 กิโลกรัม) (เฉลี่ย)
ความยาว78 นิ้ว (200 เซนติเมตร) (เฉลี่ย)
ความสูง11.6 นิ้ว (29 เซนติเมตร) (body)
เส้นผ่าศูนย์กลาง8 นิ้ว (20 เซนติเมตร) (body)

วัตถุระเบิดTNT
น้ำหนักวัตถุระเบิด6.6 ปอนด์ (3.0 กิโลกรัม)
กลไกการจุดชนวน
Blasting cap[1]

ลันจ์ไมน์ (อังกฤษ: lunge mine) คือ อาวุธต่อต้านรถถังแบบพลีชีพที่จักรวรรดิญี่ปุ่นพัฒนาและนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีลักษณะเป็นระเบิดต่อต้านรถถังความแรงสูงรูปทรงกรวยติดอยู่ตรงปลายด้ามจับที่เป็นไม้ ปกติมักใช้ในหน่วยต่อสู้ระยะประชิดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อาวุธชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1945 ในปีเดียวกันนั้นเองมันได้นำไปใช้ในเขตปฏิบัติการสงครามแปซิฟิกโดยมุ่งเป้าไปที่ยานเกราะของกองทัพสหรัฐ

การออกแบบ

[แก้]

อาวุธมีลักษณะเป็นดินโพรงระเบิดรูปทรงกรวยอยู่ตรงปลายด้ามจับที่เป็นไม้ ตัวระเบิดมีขาสามขายืนออกมาบริเวณฐานทรงกรวย ตัวจุดชนวนระเบิดอยู่ที่ส่วนยอดของรูปกรวย[1] (บริเวณที่ติดกับด้านจับไม้) ระหว่างยอดของทรงกรวยกับด้านจับจะมีเข็มแทงชนวนอยู่ซึ่งเมื่อถอดสลักระเบิดออกแล้วบริเวณนี้จะสามารถเลือนได้ทำให้เข็มแทงฉนวนแทงเข้าไปที่ตัวจุดระเบิด[2]

ตัวระเบิดแบ่งเป็นระเบิดรูปกรวยสูง 11.6 นิ้ว และเส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐานกรวยยาว 8 นิ้ว และหนักประมาณ 11 ปอนด์ ขาโลหะสามขายาว 6 นิ้ว (15 ซม.) ส่วนด้ามจับมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 นิ้ว ยาว 59 นิ้ว และหนัก 3.3 ปอนด์ ทำให้โดยรวมแล้วมันยาวประมาณ 78 นิ้ว และหนัก 14.3 ปอนด์[2]

การทำงาน

[แก้]

การใช้งานลันจ์ไมน์นั้นทหารหรือผู้ใช้งานจะทำการดึงสลักระเบิดออกแล้วทำการวิ่งพุ่งเข้าไปหายานเกราะหรือเป้าหมายด้วยความเร็ว คล้ายกับการวิ่งพุ่งเข้าไปแทงด้วยดาบปลายปืน ลักษณะการจับจะใช้มือข้างหนึ่งจับที่ตรงกลางด้ามจับส่วนอีกมือจับที่ปลายด้านจับที่ใกล้ตัวผู้ถือ เมื่อขาของระเบิดโดนเข้ากับเป้าหมายแล้วด้ามจับที่กำลังพุ่งไปข้างหน้าจะกดเข้าไปทำให้เข็มจุดชนวนระเบิดแทงเข้าไปที่ตัวจุดระเบิด ซึ่งเมื่อระเบิดแล้วจะทำให้ผู้ใช้และเป้าหมายได้รับความเสียหายจากระเบิด[1]

การใช้งาน

[แก้]

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นนำอาวุธชนิดนี้มาใช้ในเขตปฏิบัติการสงครามแปซิฟิก โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ต่อต้านและทำลายยานเกราะของกองทัพสหรัฐ

รายงานข่าวกรองในเดือนมีนาคม 1945 ระบุว่ากองทัพสหรัฐเจอเข้ากับอาวุธชิ้นนี้ครั้งแรกที่เกาะเลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นในช่วงยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ในประเทศเวียดนามมันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง โดยเฉพาะในยุทธการที่ฮานอยซึ่งมีภาพที่ เหงียน วัน เทียง (Nguyễn Văn Thiềng) พยายามที่จะใช้มันแต่ว่าระเบิดไม่ทำงาน ทำให้เขาถูกยิงตายไปพร้อมกับความกล้าหาญและเสียสละในท้ายที่สุด[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "New Weapons for Jap Tank Hunters (U.S. WWII Intelligence Bulletin, March 1945)". Lone Sentry. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2017-09-30.
  2. 2.0 2.1 Japanese Explosive Ordnance (Bombs, Bomb Fuzes, Land Mines, Grenades, Firing Devices and Sabotage Devices) (PDF) (Report). Washington, D.C.: United States Government Printing Office. 1953. pp. 208–209. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  3. Explanatory board for replica of lunge mine held by a soldier at Vietnam Military History Museum, Hanoi; verified in December, 2019
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ลันจ์ไมน์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?