For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ละครประโลมโลก.

ละครประโลมโลก

ภาพเขียนสีน้ำมัน ละครประโลมโลก โดยออนอเร โดมีเย ระหว่าง ค.ศ. 1855–1860

ในสมัยใหม่ ละครประโลมโลก[1] (อังกฤษ: melodrama) หมายถึงงานละครที่เน้นโครงเรื่องและการดำเนินเรื่องที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกอย่างเข้มข้น แทนที่จะเน้นการพัฒนาตัวละครอย่างลุ่มลึก ละครประเภทนี้มักให้ความสำคัญกับบทสนทนาที่จัดจ้านหรือขยี้อารมณ์โดยไม่ใส่ใจความสมเหตุสมผลของการกระทำเท่าไรนัก ตัวละครมักเป็นตัวละครมิติเดียวและสร้างขึ้นเพื่อรองรับต้นแบบบุคลิกตัวละครที่กำหนดไว้ ละครประโลมโลกแบบฉบับมักเล่าเรื่องราวส่วนตัวภายในบ้าน เน้นประเด็นทางศีลธรรม ความรัก ครอบครัว และชีวิตคู่ มักมีอุปสรรคจากภายนอก เช่น ตัวโกง นางร้าย หรือตัวร้ายที่เป็นชนชั้นสูง เข้ามาสร้างความวุ่นวาย ละครประโลมโลกทั้งบนเวที ในภาพยนตร์ และในโทรทัศน์มักจะมาพร้อมกับดนตรีประกอบที่ช่วยชักจูงให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับฉากที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เกลียดชัง สงสาร เศร้าโศก สุขสันต์ หรือสยองขวัญ

ศัพท์ melodrama ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมจากศัพท์ mélodrame ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งประสมขึ้นจากคำ μέλος ('เพลง, ทำนองเพลง') ในภาษากรีก กับคำ drame ('ละคร') ในภาษาฝรั่งเศสอีกทอดหนึ่ง[2][3][4] ในบริบทของดนตรีเชิงวิชาการและเชิงประวัติ ศัพท์นี้หมายถึง ละครดนตรี[5] หรือละครเวทีสมัยวิกตอเรียที่นำเพลงหรือดนตรีวงดุริยางค์มาผสมผสานกับการแสดงเพื่อสร้างความระทึกใจให้แก่ผู้ชม โดยอาจสลับระหว่างบทพูดกับดนตรีบรรเลง หรืออาจมีบทพูดพร้อมกับดนตรีพื้นหลัง[5] แต่ในปัจจุบันความหมายของศัพท์นี้ได้กว้างขึ้น โดยยังใช้เรียกการแสดงบนเวทีที่ไม่มีดนตรีประกอบ รวมไปถึงนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครวิทยุที่มีโครงเรื่องเร้าอารมณ์ความรู้สึกอีกด้วย ในบริบทสมัยใหม่ ศัพท์ melodrama มักมีความหมายในเชิงลบ[6] เพราะสื่อถึงชิ้นงานที่ขาดความละเอียดอ่อน ขาดการพัฒนาลักษณะนิสัยตัวละคร หรือขาดทั้งสองอย่าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 315.
  2. Costello, Robert B., บ.ก. (1991). Random House Webster's College Dictionary. New York: Random House. p. 845. ISBN 978-0-679-40110-0.
  3. Stevenson, Angus; Lindberg, Christine A., บ.ก. (2010). New Oxford American Dictionary, Third Edition. New York: Oxford University Press. p. 1091. ISBN 978-0-19-539288-3.
  4. Pickett, Joseph P., บ.ก. (2006). The American Heritage Dictionary of the English Language (Fourth ed.). Boston: Houghton Mifflin. pp. 544, 1095. ISBN 978-0-618-70173-5.
  5. 5.0 5.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์ดนตรีสากล ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 125.
  6. Brooks, Peter (1995). The Melodramatic Imagination: Balzac, Henry James, Melodrama, and the Mode of Excess. Yale University Press. p. xv.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ละครประโลมโลก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?