For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง.

การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง

การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่9 มีนาคม – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2488
สถานที่
ผล

ญี่ปุ่นชนะ[1]

คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น

จักรวรรดิเวียดนาม

รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในกัมพูชา
ลาว รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในลาว

 ฝรั่งเศส

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิญี่ปุ่น Yuichi Tsuchihashi
จักรวรรดิญี่ปุ่น Takeshi Tsukamoto

บ่าว ดั่ย
ฝรั่งเศส Jean Decoux
ฝรั่งเศส Marcel Alessandri

เวียดนามเหนือ โฮจิมินห์
เวียดนามเหนือ หวอ เงวียน ซ้าป
กำลัง
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น: 65,000 คน[2]
กองทหารอันนัม
มีนาคม:
ทหารฝรั่งเศส 12,000 คน ทหารอันนัม 12,000 คน[2]
หลังจากนั้น : กองกำลังผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศสจากกำลัง 136, กองโจรฝรั่งเศส-ลาว, เวียดมินห์
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ พลเรือนชาวยุโรปถูกสังหาร 2,129 คน

การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง หรือรู้จักกันในชื่อ รัฐประหารของญี่ปุ่นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งเป็นอาณานิคมในฝรั่งเศส ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง ผลของปฏิบัติการทางทหารในครั้งนี้ทำให้เกิดรัฐที่เป็นเอกราชในช่วงเวลาสั้น ๆ คือ จักรวรรดิเวียดนาม ราชอาณาจักรลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา และยังเป็นการทำลายอำนาจการบริหารของอินโดจีนฝรั่งเศส มีการต่อสู้แบบกองโจรขนาดเล็กตามมา จากทหารฝรั่งเศสที่ต้องการแก้แค้น แต่ญี่ปุ่นสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม เวียดมิญได้อาศัยสุญญากาศทางการเมืองนี้ขึ้นสู่อำนาจ

รัฐประหาร

[แก้]

ใน พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นเกรงว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้ายึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส แม้ว่ารัฐบาลวิชียังคงอยู่ในยุโรป แต่ก็มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต้นเดืนมีนาคม พ.ศ. 2488 ทหารญี่ปุ่นเริ่มปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ในวันที่ 9 มีนาคมในไซ่ง่อน ได้มีการจับกุมและสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลวิชี ทหารฝรั่งเศสส่วนหนึ่งหนีไปจีน การปกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของฝรั่งเศสจึงสิ้นสุดลง

ญี่ปุ่นได้กดดันให้จักรวรรดิเวียดนาม ราชอาณาจักรลาว และราชอาณาจักรกัมพูชาประกาศเอกราช สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น พระนโรดม สีหนุให้ความร่วมมือเช่นกัน แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ไว้วางใจราชวงศ์ที่เคยนิยมฝรั่งเศส เซิง งอกทัญที่เคยลี้ภัยในญี่ปุ่นและได้รับความไว้วางใจมากกว่าพระนโรดม สีหนุ ได้เดินทางกลับสู่กัมพูชาและได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเดือนพฤษภาคมและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม ส่วนในลาว พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ผู้นิยมฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะประกาศเอกราช ผู้ที่ออกมาประกาศเอกราชเป็นเจ้าเพชรราช รัตนวงศา

เหตุการณ์ต่อมา

[แก้]

สาธารณรัฐจีนที่ให้ที่พักพิงแก่ทหารฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาไม่ได้เต็มใจในฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศกล่าวว่าไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฝรั่งเศส แต่นายพล Claire Lee Chennault ได้ต่อต้านคำสั่งโดยเข้าไปช่วยเหลือทหารฝรั่งเศสในการถอยเข้าสู่จีน กองทหารจากอังกฤษที่เรียกกองกำลัง 136 ได้เข้ามาปฏิบัติการทางทหารในอินโดจีนฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2487 และได้เข้ามาช่วยฝรั่งเศสในการต่อต้านญี่ปุ่น ทหารฝรั่งเศสที่หนีทหารญี่ปุ่นมาจะเข้าร่วมกับกองกำลังผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศสเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น ฐานที่มั่นส่วนใหญ่อยู่ในลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ญี่ปุ่นควบคุมได้น้อยที่สุดทางภาคเหนือของเวียดนาม เวียดมิญนำโดยโฮจิมินห์ได้เริ่มการต่อสู้แบบกองโจรต่อต้านญี่ปุ่น และจัดตั้งฐานที่มั่นในเขตชนบท

หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เมื่อ 16 สิงหาคม กองกำลังของญี่ปุ่นถูกควบคุมโดยสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทางเวียดนามเหนือ และพรรคสหภาพทางภาคใต้ ซึ่งเป็นการควบคุมด้วยอำนาจในท้องถิ่น ในช่วงที่เกิดสุญญากาศทางการเมืองนี้ เวียดมิญได้ทำการปฏิวัติเดือนสิงหาคม ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรพรรดิบ๋าวได่ถูกบังคับให้มอบอำนาจให้โฮจิมินห์และเวียดมิญ เวียดมิญเข้าควบคุมฮานอย ส่วนในจังหวัดท้ายเหงวียน กองทหารญี่ปุ่นได้ต่อสู้กับเวียดมิญ ระหว่าง 20 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งเวียดมิญเป็นฝ่ายชนะ โฮจิมินห์ได้ประกาศเอกราชของเวียดนามเมื่อ 2 กันยายน

หลังจากนั้น

[แก้]

กองทหารอังกฤษและสาธารณรัฐจีนได้เข้าสู่อินโดจีนฝรั่งเศสเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ทหารฝรั่งเศสมาถึงไซ่ง่อนในเดือนกันยายน ในประเทศลาว ขบวนการลาวอิสระของเจ้าเพชรราชประกาศปลดเจ้ามหาชีวิตในเดือนตุลาคมและประกาศเอกราชของประเทศแต่ก็ต้องลี้ภัยออกจากประเทศไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ในกัมพูชา เซิง งอกทัญถูกฝรั่งเศสจับกุม โฮจิมินห์ยังครองอำนาจในเวียดนามเหนือ และเกิดสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 ขึ้นในที่สุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bernard Fall, Street Without Joy, Stackpole Books, 1994, p.25
  2. 2.0 2.1 Grandjean (2004)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?