For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ระบอบทักษิณ.

ระบอบทักษิณ

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

ระบอบทักษิณ (อังกฤษ: Thaksinocracy) เป็นคำที่นักวิชาการบางส่วนนิยามการปกครองประเทศไทยในสมัยที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพื้นฐานเป็นประชานิยม และการควบคุมเสียงข้างมากได้อย่างเบ็ดเสร็จในรัฐสภา บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า "ทักษิณาธิปไตย" "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" และ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง" ซึ่งบางส่วนมาจากคำจำกัดความของระบอบทักษิณ[1] อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความต่าง ๆ ยังมีความไม่ชัดเจน และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้เพิ่มความชอบธรรมให้กับการขับไล่พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2548–2549 ตลอดจนการต่อต้านพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณในเวลาต่อมา

คำจำกัดความ

เกษียร เตชะพีระเป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ

  1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง
  2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน[2]

หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ เช่น ในความคิดของแก้วสรร อติโพธิได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ ดังนี้

  1. ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง
  2. หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย
  3. ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง
  4. ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวการในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ[3]

นักวิชาการบางคนเรียกระบอบทักษิณว่าเป็นระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะการบริหารประเทศที่มีแนวโน้มรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ[1]

การระบุองค์ประกอบ

มีข้อกล่าวหาว่าต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบของระบอบทักษิณ เช่น

  • การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นโดยปัจจุบันเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และความพยายามจะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
  • กรณีการควบรวมพรรคชาติพัฒนา พรรคเสรีธรรม เข้ากับพรรคไทยรักไทย ส่งผลให้เกิดเผด็จการรัฐสภาเนื่องจากสมาชิกสภาราษฎรไม่กล้าโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องทำตามมติพรรคไทยรักไทย[4]จึงส่งผลให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายรัฐบาลมักได้เสียงไว้วางใจเนื่องจากผู้ไม่ทำตามมติพรรคโดยโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจะถูกลงโทษ
  • การกระจายเงินงบประมาณ ให้ประชาชนในต่างจังหวัด ผ่านโครงการหรือนโยบาย ต่าง ๆ เพื่อรักษาความนิยมในพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการซื้อเสียงระยะยาว ตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท[5]
  • สุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวหาว่า ความพยายามต้องการพาทักษิณกลับประเทศ โดยให้นักการเมืองที่เป็นพันธมิตรชนะการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบทักษิณ[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : ๖๐ ปีสิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549, หน้า 202
  2. เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุนจากการเลือกตั้ง", มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2546. อ้างอิงตาม เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบทักษิณ", ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มค-มีค 2547.
  3. "คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ โดย อ.แก้วสรร อติโพธิ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-08-20. สืบค้นเมื่อ 2006-09-05.
  4. คาดการณ์ลงคะแนนมติ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามมาตรา 158
  5. "นโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างเป็นรูปธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2016-06-10.
  6. "ล้ม "ชัชชาติ" เชิงยุทธศาสตร์ "ไม่เลือกเราเขามาแน่" ภาค 2". กรุงเทพธุรกิจ. 7 May 2022. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ระบอบทักษิณ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?