For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์.

รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์

รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์
Kereta Api Berkelajuan Tinggi Kuala Lumpur-Singapura
马新高速铁路
கோலாலம்பூர்-சிங்கப்பூர் அதிவேக ரயில்
ข้อมูลทั่วไป
สถานะพักโครงการไม่มีกำหนด
เจ้าของบริษัท ไฮสปีดเทรน (มาเลเซีย)
การขนส่งทางบก (สิงคโปร์)
ที่ตั้ง มาเลเซีย และ  สิงคโปร์
ปลายทาง
จำนวนสถานี8 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟความเร็วสูง
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว

โครงการรถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ (อังกฤษ: Kuala Lumpur–Singapore High Speed Rail) เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับประเทศสิงคโปร์ คิดค้นขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010[1] และทั้งสองประเทศ ได้ร่วมมือกันตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จ จะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2020[2]

การก่อสร้างจะเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2015[3] แต่หลังการเลือกตั้งผู้นำมาเลเซียตำแหน่งใหม่ คือ มหาธีร์ มูฮัมหมัด นายมหาธีร์ ได้มีมติให้ยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสิงคโปร์เนื่องจากกระทบต่อหนี้สาธารณะของมาเลเซีย และโครงการมีมูลค่าที่สูงมากอาจไม่คุ้มทุนและไม่ได้กำไรกลับคืนมาจากการลงทุน[4] โดยมาเลเซียชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000,000 ริงกิตให้รัฐบาลสิงคโปร์ เพื่อเป็นค่ายกเลิกสัญญา[5]

ประวัติ

[แก้]

โครงการนี้เคยถูกนำเสนอครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1990-1999 แต่เนื่องจากยังไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้าน โครงการนี้จึงถูกหยุดพักไว้ก่อน[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 บริษัท วายทีแอล ได้ฟื้นฟูโครงการรถไฟความเร็วสูงอีกครั้ง คาดว่าจะวิ่งได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสองเมืองได้ภายใน 90 นาที เมื่อเทียบกับทางถนน 5 ชั่วโมง ทางรถไฟเดิม 7 ชั่วโมง[7] และทางอากาศ 4 ชั่วโมง (รวมช่วงเวลาที่ท่าอากาศยานด้วย) แต่ในปี ค.ศ. 2008 ได้ล้มเลิกโครงการนี้ เนื่องจากงบประมาณที่สูงถึง 8 พันล้านริงกิต[8]

โครงการได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในปี ค.ศ. 2010 โดยเป็นหนึ่งใน 131 โครงการสำคัญ[6] ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซีย เชื่อกันว่ารัฐบาลมาเลเซีย ได้ร่วมมือกับรัฐบาลจีน ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้พบปะหารือเพื่อประชุมเกี่ยวกับโครงการนี้ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[7][7] ทางมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ประกาศว่า โครงการนี้จะศึกษาเสร็จในปลายปี ค.ศ. 2014 และโครงการนี้จะสำเร็จในปี ค.ศ. 2020[9]

โครงการนี้ได้ถูกนำเข้างบประมาณขององค์การขนส่งทางบก (LTA) ในปี ค.ศ. 2014 และในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2014 ได้มีการประกาศว่า รถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะผ่านย่านตูอัสตะวันตก, จูร่งตะวันออก และย่านดาวน์ทาวน์คอร์[10][11] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ทั้งสองประเทศได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแนวเส้นทาง เนื่องจากเส้นทางช่วงที่ผ่านย่านจูร่งตะวันออกนั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับสายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้[12] การก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มในปี ค.ศ. 2016.[13]

ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ต่างก็สนใจในโครงการนี้ด้วย[14][15]

รายละเอียด

[แก้]

รถไฟความเร็วสูงสายกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ มีระยะทาง 400 กิโลเมตร จะใช้เวลาในการเดินทาง 90 นาที[16] งบประมาณในการก่อสร้าง 40 พันล้านริงกิต[16][17] รถไฟวิ่งด้วยความเร็วตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป[2]

รายชื่อสถานีในมาเลเซีย

[แก้]

ประธานคณะกรรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศรายชื่อสถานีรถไฟความเร็วสูงในประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2014[18]

รายชื่อสถานีในสิงคโปร์

[แก้]

รัฐบาลสิงคโปร์ได้เลือกสถานีจูร่งตะวันออก เป็นสถานีปลายทาง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2015[19][20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Greater Kuala Lumpur - EPP 3: Connecting to Singapore via a high speed rail system". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  2. 2.0 2.1 "KL-Singapore high-speed link to kick off". Investvine.com. 2013-02-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  3. "KL-Singapore high speed rail project to start in 2016". The Malaysian Insider. 27 December 2014.
  4. ""มาเลเซีย" ล้มโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม "สิงคโปร์" หวังลดหนี้". PPTV HD. 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  5. "มาเลเซียยกเลิกรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสิงคโปร์". Thai PBS. 2018-05-29. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  6. 6.0 6.1 "Transport operators all for high-speed rail link". New Strait Times. 23 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Kuala Lumpur - Singapore high speed railway agreement". Railway Gazette International. 19 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  8. Lew, Alexander (24 April 2008). "Malaysia Halts Kuala Lumpur-Singapore Bullet Train". Wired.
  9. "Proposed Singapore-KL Rail Link To Be Finalised Next Year: Najib".
  10. "LTA calls tender for high-speed rail feasibility study". The Straits Times. 11 April 2014. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  11. "KL-S'pore rail link: Tender called for S'pore leg feasibility study". Channel News Asia. 11 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". Channel Newsasia. 6 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-07. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
  13. "Singapore-Kuala Lumpur Bullet Train May Miss 2020 Deadline". Bloomberg. October 29, 2014.
  14. "Japan may bid for KL-Singapore rail project". New Straits Times. 16 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  15. Ching, Ooi Tee (26 November 2014). "S. Korea keen on high-speed rail project". New Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  16. 16.0 16.1 Senator Datuk Abdul Rahim Rahman (25 June 2011). "High-speed rail will spur growth in hub cities". The Star Online.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  18. "Singapore-Kuala Lumpur High Speed Rail have Seven Stops Malaysia 2014".
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  20. http://www.straitstimes.com/news/singapore/transport/story/singapore-high-speed-rail-terminus-will-be-current-jurong-country-clu

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?