For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ยูอาร์แอล.

ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล[1] (อังกฤษ: Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (อังกฤษ: URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ [2] ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

ประวัติ

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ตสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) โดยทิม เบอร์เนิร์ส-ลี โดยเป็นส่วนหนึ่งของตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล [3] ซึ่งเขาก็ไม่พอใจกับรูปแบบของยูอาร์แอลเท่าใดนัก เพราะว่าแทนที่เขาจะแบ่งเส้นทางจากใหญ่ไปหาเล็ก แต่เขาแยกเซิร์ฟเวอร์ที่แบ่งด้วยจุด กับเส้นทางของไฟล์ที่แบ่งด้วยทับออกจากกัน [4] ตัวอย่างเช่นยูอาร์แอลนี้ http://www.serverroute.com/path/to/file.html เขาคิดไว้ว่ามันควรจะเป็นแบบนี้ http://com/serverroute/www/path/to/file.html

วากยสัมพันธ์

ยูอาร์แอลทุกชื่อประกอบขึ้นจาก แผนของตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI scheme) (โดยทั่วไปเรียกว่าโพรโทคอล), ตามด้วยทวิภาค (:) และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแผนที่ใช้งาน, ชื่อแม่ข่าย (hostname) หรือที่อยู่ไอพี, หมายเลขพอร์ต, ชื่อเส้นทางไปยังไฟล์ที่จะดึงข้อมูลมาหรือโปรแกรมที่จะทำงาน, และสุดท้ายคือสายอักขระสอบถาม (query string) โดยเฉพาะเมื่อทำงานกับโปรแกรมต่อประสานร่วมสำหรับเกตเวย์ (CGI) [5][6] สำหรับการเรียกไฟล์เอชทีเอ็มแอล สามารถใส่จุดตรึง (anchor) เป็นทางเลือก เพื่อเลื่อนเว็บเพจไปยังจุดที่ต้องการได้ด้วย [7] ดังนั้นรูปแบบโดยทั่วไปของยูอาร์แอลก็คือ

resource_type://domain:port/filepathname?query_string#anchor
  • แผนของตัวระบุ หรือชนิดของทรัพยากร ได้นิยามเนมสเปซ จุดประสงค์ และวากยสัมพันธ์ของส่วนอื่นที่เหลือของยูอาร์แอลไว้แล้ว โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บจะพยายามถอดความหมายยูอาร์แอลตามแผนและบริบทของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเบราว์เซอร์จะถอดความหมายของยูอาร์แอล http://example.org:80 ว่าให้ส่งการร้องของไปบนเอชทีทีพี ไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ชื่อว่า example.org ที่พอร์ตหมายเลข 80 หรือสำหรับชื่อทรัพยากรสากล (URN) เช่น mailto:bob@example.com จะเป็นการเริ่มต้นโปรแกรมเขียนอีเมล แล้วนำชื่อ bob@example.com ไปใส่ในฟีลด์ชื่อผู้รับ เป็นต้น สำหรับแผนของตัวระบุอื่น ๆ ก็มีอย่างเช่น https:, gopher:, wais:, ftp: ฯลฯ
  • ชื่อโดเมนที่จดทะเบียนหรือที่อยู่ไอพีเป็นที่อยู่เป้าหมายสำหรับยูอาร์แอล เช่นชื่อโดเมน google.com หรือไอพี 72.14.207.99 ก็เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์กูเกิล เป็นต้น
  • ชื่อแม่ข่ายหรือชื่อโดเมนที่เป็นส่วนหนึ่งของยูอาร์แอลนั้น อักษรตัวเล็กตัวใหญ่ไม่มีความสำคัญ เพราะว่าระบบการตั้งชื่อโดเมน (DNS) ได้กำหนดไว้เช่นนั้น ดังนั้น http://en.wikipedia.org/ กับ HTTP://EN.WIKIPEDIA.ORG/ ทั้งคู่เปิดไปยังหน้าเดียวกัน
  • หมายเลขพอร์ตเป็นส่วนประกอบที่ไม่จำเป็นต้องใส่ ซึ่งถ้าหากไม่ใส่ก็จะใช้หมายเลขพอร์ตปริยายของแผนนั้น ตัวอย่างเช่น หากพิมพ์ยูอาร์แอลนี้ http://myvncserver.no-ip.org:5800 ลงไปในช่องที่อยู่ เว็บเบราว์เซอร์จะเชื่อมต่อไปยังหมายเลขพอร์ต 5800 ของเครื่องแม่ข่าย myvncserver.no-ip.org ซึ่งพอร์ตนี้ถูกใช้โดยโปรแกรมควบคุมระยะไกลของ Virtual Network Computing ถ้าไม่ใส่ จะเชื่อมต่อไปยังพอร์ตหมายเลข 80 ซึ่งเป็นพอร์ตปริยายของเอชทีทีพี เครื่องแม่ข่ายหนึ่งอาจสามารถเชื่อมต่อได้หลายพอร์ตและต่างบริการก็ได้
  • ชื่อเส้นทางของไฟล์ คือที่อยู่ในเครื่องแม่ข่ายซึ่งไฟล์หรือโปรแกรมนั้นบันทึกอยู่ ส่วนนี้อักษรตัวเล็กตัวใหญ่มีความสำคัญตามหลักการ แต่ก็อาจไม่มีความสำคัญในเครื่องให้บริการบางเครื่องก็ได้ โดยเฉพาะเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานอยู่บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เช่นว่า สำหรับบนเครื่องแม่ข่ายที่อักษรตัวเล็กตัวใหญ่มีความสำคัญ การเรียกทรัพยากรไปยังยูอาร์แอล http://en.wikipedia.org/wiki/URL ให้ผลที่ถูกต้อง แต่ถ้าเรียกไปยัง http://en.wikipedia.org/WIKI/URL หรือ http://en.wikipedia.org/wiki/url จะคืนค่าเป็นหน้าข้อความผิดพลาดรหัส 404 แต่สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์บนวินโดวส์ ยูอาร์แอลทั้งสามจะเปิดไปยังหน้าเดียวกัน
  • สายอักขระสอบถามเป็นข้อมูลที่ส่งผ่านไปยังเว็บแอปพลิเคชัน เช่นโปรแกรมซีจีไอ สายอักขระสอบถามจะถูกแบ่งไว้เป็นชื่อตัวแปร เครื่องหมายเท่ากับ (=) และค่าของมันเป็นคู่ ๆ คั่นด้วยแอมเพอร์แซนด์ (&) เช่น first_name=John&last_name=Doe การส่งสายอักขระสอบถามไปกับทรัพยากรธรรมดาอาจไม่มีประโยชน์อะไร
  • จุดตรึงในยูอาร์แอล ใช้กับเอชทีทีพีสำหรับระบุตำแหน่งบนหน้าเว็บ เช่นยูอาร์แอลนี้ http://en.wikipedia.org/wiki/URL#Syntax จะเป็นการระบุถึงส่วนที่ชื่อว่า Syntax ในหน้าเว็บนั้น ในบางเว็บไซต์ ส่วนประกอบจุดตรึงอาจมีฟังก์ชันการทำงานอย่างอื่น ดูเพิ่มในตัวระบุชิ้นส่วน (fragment identifier)

ยูอาร์แอลสัมบูรณ์และยูอาร์แอลสัมพัทธ์

ยูอาร์แอลสัมบูรณ์ (absolute URL) หรือยูอาร์แอลเต็ม คือการระบุทรัพยากรไฟล์ในตำแหน่งที่แน่นอน และมีเพียงหนึ่งเดียว หมายความว่าถ้ายูอาร์แอลสองชื่อเหมือนกัน จะโยงมาที่ไฟล์เดียวกันเสมอ ไม่ว่าจะเรียกจากที่ตำแหน่งใด [8] ตัวอย่างเช่น

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Raster_to_Vector_Mechanical_Example.jpg

ในทางตรงข้าม ยูอาร์แอลสัมพัทธ์ (relative URL) หรือยูอาร์แอลย่อ คือการระบุแหล่งทรัพยากรไฟล์ที่ต้องการจากตำแหน่งอ้างอิงหรือตำแหน่งปัจจุบัน การใช้งานแบบนี้มักพบได้ในการอ้างถึงไฟล์อื่นที่อยู่ต่างไดเรกทอรี [8] โดยจะใช้จุดสองจุด (..) เพื่ออ้างถึงไดเรกทอรีชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไป

../directory_path/file.txt

และใช้จุดเดียว (.) หรือไม่ใส่ทั้งจุดและเครื่องหมายทับ เพื่ออ้างถึงไดเรกทอรีปัจจุบัน

./directory_path/file.txt
directory_path/file.txt

ในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้ยูอาร์แอลสองชื่อเหมือนกัน แต่ก็อาจไม่ได้โยงไปไฟล์เดียวกัน ถ้าหากเรียกทรัพยากรนี้จากต่างไดเรกทอรี

ชื่อแม่ข่ายอินเทอร์เน็ต

ชื่อแม่ข่าย (hostname) คือชื่อโดเมนที่กำหนดให้ไว้กับคอมพิวเตอร์ที่รับฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต (host) มักจะเป็นการรวมกันระหว่างชื่อคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายกับชื่อโดเมนส่วนบน ตัวอย่างเช่น "en.wikipedia.org" ประกอบด้วยชื่อภายใน "en" และชื่อโดเมน "wikipedia.org" ชื่อแม่ข่ายประเภทนี้จะถูกแปลงไปเป็นที่อยู่ไอพีโดยไฟล์ hosts หรือโดยระบบการตั้งชื่อโดเมน (DNS) คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถมีชื่อแม่ข่ายได้หลายชื่อ ปกติแล้วระบบปฏิบัติการในเครื่อง จะมีชื่อแม่ข่ายหนึ่งชื่อที่ใช้สำหรับการอ้างถึงเครื่องตัวเอง (localhost)

ชื่อโดเมนก็สามารถใช้เป็นชื่อแม่ข่ายได้เช่นกัน ในกรณีที่มีการกำหนดที่อยู่ไอพีให้กับชื่อโดเมนนั้น เช่น ทั้ง "en.wikimedia.org" และ "wikimedia.org" และ "rr.pmtpa.wikimedia.org" ต่างก็เป็นชื่อแม่ข่ายเพราะมีที่อยู่ไอพี แต่สำหรับชื่อโดเมน "pmtpa.wikimedia.org" ไม่เป็นชื่อแม่ข่ายเพราะไม่มีไอพีกำหนดเอาไว้ (แม้ว่า "rr.pmtpa" จะเป็นส่วนย่อยของ "pmtpa" ก็ตาม) ดังนั้นชื่อแม่ข่ายทุกชื่อจึงเป็นชื่อโดเมน แต่ชื่อโดเมนบางชื่อเท่านั้นที่เป็นชื่อแม่ข่าย (ชื่อแม่ข่ายเป็นเซตย่อยของชื่อโดเมน)

อ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  2. Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter. (January 2005). “Uniform Resource Identifier (URI) : Generic Syntax เก็บถาวร 2008-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน”. Internet Society. RFC 3986; STD 66.
  3. URL Specification
  4. "World Wide Web History". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-02-10.
  5. RFC 1738
  6. PHP parse_url () Function, สืบค้นเมื่อ 2009-03-12
  7. "URL Syntax". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  8. 8.0 8.1 Absolute vs Relative URLs
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ยูอาร์แอล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?