For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ยุทธการที่วุร์สเตอร์.

ยุทธการที่วุร์สเตอร์

สงครามสามอาณาจักร
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองสกอตแลนด์ และ
สงครามกลางเมืองอังกฤษ

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในยุทธการที่วุร์สเตอร์
วันที่3 กันยายน ค.ศ. 1651
สถานที่
ผล ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษชนะ
คู่สงคราม
ฝ่ายรัฐสภา ฝ่ายนิยมกษัตริย์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ พระเจ้าชาลส์ที่ 2
กำลัง
31,000 น้อยกว่า 16,000
ความสูญเสีย
200 คน 3,000 คนเสียชีวิต, กว่า 10,000 ถูกจับเป็นนักโทษ

ยุทธการที่วุร์สเตอร์ (อังกฤษ: Battle of Worcester) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ที่วุร์สเตอร์ในอังกฤษและเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ (Royalist) ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นกองกำลังสกอตแลนด์ กองกำลังเพียง 16,000 คนของกองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่สามารถต่อสู้กับกองกำลังที่มีจำนวนเหนือกว่ามาก 28,000 คนของ "กองทัพตัวแบบใหม่" (New Model Army) ของครอมเวลล์ได้จนในที่สุดก็จำต้องพ่ายแพ้

การรุกรานอังกฤษ

[แก้]

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรสกอตแลนด์ในการพยายามชิงราชบัลลังก์ที่เสียไปหลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกปลงพระชนม์คืน แม่ทัพของสกอตแลนด์ เซอร์เดวิด เลสลี (David Leslie, Lord Newark) สนับสนุนแผนการที่ดึงครอมเวลล์เข้ามาต่อสู้ในสกอตแลนด์ที่มีกองหนุนที่หนาแน่นกว่า แต่พระเจ้าชาลส์มีพระราชประสงค์ที่จะทำสงครามในอังกฤษ ทรงคาดคะเนว่าขณะที่ครอมเวลล์นำกองทัพตัวแบบใหม่ขึ้นมาเหนือแม่น้ำฟอร์ท (River Forth) ก็จะเป็นโอกาสให้กองกำลังหลักของกองทัพฝ่ายกษัตริย์ของสกอตแลนด์ที่อยู่ใต้แม่น้ำฟอร์ธฉวยโอกาสเลี่ยงกองทัพตัวแบบใหม่และชิงเดินทัพลงไปลอนดอนโดยไม่มีผู้ขัดขวาง พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงเพียงแต่จะระดมผู้ที่จงรักภักดีต่อพระองค์แต่ยังทรงระดมกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) อังกฤษเพื่อสนับสนุนพระองค์ด้วย นอกจากนั้นก็ทรงคาดว่าการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มคัฟเวอร์นันเตอร์ (Covenanters) ของกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) และการลงพระนามใน "Solemn League and Covenant" จะเป็นการชักชวนให้กลุ่มเพรสไบทีเรียนอังกฤษหันมาสนับสนุนพระองค์ด้วย

ในระยะแรกของสงครามกองทัพฝ่ายกษัตริย์อยู่ในสภาพที่ดี และภายในอาทิตย์เดียวก็สามารถเดินทัพได้เป็นระยะทางถึง 150 ไมล์เมื่อเทียบกับการรณรงค์ที่ไม่ประสบความสำเร็จของเจมส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 (James Hamilton, 1st Duke of Hamilton) ในปี ค.ศ. 1648 ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม กองทหารก็ตั้งค่ายพักบริเวณระหว่างเพนริทกับเคนดัล

แต่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ก็ต้องประหลาดใจ เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และองคมนตรีของเจ้าผู้พิทักษ์ (English Council of State) ที่เวสต์มินสเตอร์ คาดการณ์ล่วงหน้าถึงแผนการของฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาลส์ได้ ฝ่ายครอมเวลล์จึงระดมกองทหารเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม โดยมีนายพลชาลส์ ฟลีตวุด (Charles Fleetwood) รวบรวมกองกำลังในบริเวณมิดแลนด์ที่แบนบรี (Banbury) โดยมีกองทหารที่ได้รับการฝึกในลอนดอนเข้าร่วมด้วยถึง 14,000 คน ผู้ใดที่สงสัยว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ก็ได้รับการเฝ้าดูและอาวุธของเจ้าของที่ดินท้องถิ่นก็ถูกรวบรวมไปไว้ในที่มั่นต่าง ๆ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อสกอตแลนด์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมและนำกองทัพกลับมาลีธภายในวันที่ 5 สิงหาคม หลังจากนั้นครอมเวลล์ก็ส่งนายพลจอห์น แลมเบิร์ต พร้อมกับกองทหารม้าไปรังควานผู้รุกราน ส่วนนายพลทอมัส แฮร์ริสัน (Thomas Harrison) ก็ขึ้นไปนิวคาสเซิลไปเลือกกองทหารสมทบกับกองทหารประจำการ

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พระเจ้าชาลส์ตั้งค่ายอยู่ที่เคนดัล แลมเบิร์ตโจมตีกองหลังขณะที่แฮร์ริสันเดินทัพอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะไปขวางทัพที่เมอร์ซีย์ (Mersey) ทอมัส แฟร์แฟ็กซ์ (Thomas Fairfax) รวบรวมกำลังพลที่ยอร์กเชอร์, แลงคาสเชอร์, เชชเชอร์ และสแตฟฟอร์ดเชอร์ และนำไปวอร์ริงตัน (Warrington) ไปสมทบกับแฮร์ริสันที่เดินทางไปถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ไม่ไกลจากกองหน้าของพระเจ้าชาลส์เพียงไม่กี่ชั่วโมง แลมเบิร์ตก็อ้อมทางด้านซ้ายของกองทัพของพระเจ้าชาลส์ไปสมทบกับแฮร์ริสัน ฝ่ายอังกฤษถอยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม และเลี่ยงการเข้าร่วมต่อสู้อย่างประจันหน้าบนทางไปลอนดอน

ยุทธการที่วุร์สเตอร์

[แก้]
โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

ขณะเดียวกันครอมเวลล์ก็ทิ้งจอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลที่ 1 กับกองกำลังที่มีสมรรถภาพด้อยที่สุดไว้ต่อสู้ต่อไปในสกอตแลนด์ ส่วนครอมเวลล์เดินทางไปถึงแม่น้ำไทน์ (river Tyne) ภายในเจ็ดวันซึ่งเป็นระยะทางราว 20 ไมล์ต่อวันในสภาวะอากาศที่ร้อนเต็มที่ของเดือนสิงหาคม กองทหารเข้าเฟอร์รีบริดจ์ (Ferrybridge) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขณะที่แลมเบิร์ต, แฮร์ริสันและกองกำลังจากตะวันตกเฉียงเหนือไปถึงคองเกิลตัน (Congleton) และดูเหมือนว่ายุทธการใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณระหว่างลิชฟีลด์กับคอเวนทรี ในวันที่หรือหลังจากวันที่25 สิงหาคม โดยมีทั้งครอมเวลล์, แลมเบิร์ต, แฮร์ริสัน และฟลีตวุดเข้าร่วม แต่การคาดการณ์ก็ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงเพราะการเคลื่อนย้ายของกองทัพฝ่ายตรงข้าม หลังจากออกจากวอร์ริงตันแล้วพระเจ้าชาลส์ทรงเปลี่ยนแผนการที่จะเดินทัพตรงไปลอนดอนเป็นการเดินทางไปทางหุบเขาเซเวิร์น (Severn) แทนที่ ซึ่งที่เป็นบริเวณที่พระราชบิดาทรงได้รับการสนับสนุนในสงครามครั้งแรกและเป็นศูนย์กลางของขบวนการของผู้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1648 เซอร์เอดเวิร์ด แมสซีย์ (Edward Massey) ผู้เดิมเป็นข้าหลวงฝ่ายรัฐสภาของกลอสเตอร์หันมาเข้าข้างพระเจ้าชาลส์ นอกจากนั้นพระเจ้าชาลส์ก็ทรงหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเพรสไบทีเรียนด้วยกันในการลุกขึ้นจับอาวุธต่อต้านฝ่ายรัฐสภา คุณภาพของทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์ในบริเวณเวลส์มีความแข็งแกร่งพอที่ให้พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ใช้เป็นกองกำลังสนับสนุนพระองค์ได้

พระเจ้าชาลส์ที่ 2

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จมาถึงวุร์สเตอร์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม และทรงพักอยู่ที่นั่นห้าวันเพื่อเตรียมตัวและรวบรวมกำลังเพิ่มขึ้น แต่การพำนักอยู่ที่วุร์สเตอร์คงจะมิได้ทำให้ผลของยุทธการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการเดินทัพโดยตรงไปลอนดอน

ขณะที่เดินทัพลงใต้ทางฝ่ายครอมเวลล์ก็ส่งนายพันโรเบิร์ต ลิลเบิร์น (Robert Lilburne) ไปปราบปรามฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่แลงคาสเชอร์ภายใต้การนำของเจมส์ สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 7 แห่งดาร์บี (James Stanley, 7th Earl of Derby) ลิลเบิร์นก็ผลักดันให้กองทหารแลงคาสเชอร์เดินทางไปสมทบกับกองทัพฝ่ายกษัตริย์กองหลักที่ยุทธการวิกันเลน (Battle of Wigan Lane) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม แต่เหตุการณ์นี้เพียงแต่ทำให้ครอมเวลล์ย้ายบริเวณการเดินทัพไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปยังอีฟชัม (Evesham) เช้าวันที่ 28 สิงหาคม แลมเบิร์ตจู่โจมกองที่เดินทางที่เซเวิร์นที่อัปตัน-อะพอน-เซเวิร์น (Upton-upon-Severn) 6 ไมล์จากวุร์สเตอร์ที่เป็นผลให้แมสซีย์บาดเจ็บสาหัส ขณะเดียวกันฟลีตวุดก็ติดตามแลมเบิร์ตลงมา กองทัพพระเจ้าชาลส์ขณะนั้นเหลือเพียง 16,000 คนซึ่งเป็นจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของกองกำลังฝ่ายครอมเวลล์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ครอมเวลล์ถ่วงเวลาในการเริ่มยุทธการเพื่อสร้างสะพานพอนทูนสองสะพาน สะพานหนึ่งข้ามแม่น้ำเซเวิร์น (pontoon bridge) อีกสะพานหนึ่งข้ามแม่น้ำทีมใกล้ปากน้ำ การถ่วงเวลาทำให้ยุทธการล่าไปถึงวันที่ 3 กันยายน หนึ่งปีหลังพอดีจากวันที่ได้รับชัยชนะในยุทธการดันบาร์ของครอมเวลล์[1]

การยุทธการ

[แก้]

ครอมเวลล์วางแผนการยุทธการอย่างแน่นหนา ลิลเบิร์นจากแลงคาสเตอร์และนายพลเมอร์เซอร์กับกองทหารม้าวุร์สเตอร์เชอร์มีหน้าที่ยึดสะพานบิวด์ลีย์ (Bewdley Bridge) 20 ไมล์เหนือวุร์สเตอร์และเป็นแนวที่ข้าศึกจะถอยมา[2] ฝ่ายฟลีตวุดก็พยายามเดินทัพไปข้ามแม่น้ำทีมเพื่อไปโจมตีเซนต์จอห์นทางด้านตะวันตกของตัวเมืองวุร์สเตอร์ ขณะที่แลมเบิร์ตนำกองทัพทางตะวันออกเดินหน้าไปล้อมเมืองวุร์สเตอร์ ส่วนครอมเวลล์จะเป็นผู้นำการโจมตีทางด้านใต้ของกำแพงเมือง

การโจมตีเริ่มโดยฝ่ายรัฐสภาเมื่อเช้าวันที่ 3 กันยายน ฟลีตวุดบุกมาทางสะพานพอนทูนมาต่อสู้กับฝ่ายนิยมกษัตริย์ภายใต้การนำของนายพลมอนต์โกเมอรี การพยายามข้ามสะพานโพวิคครั้งแรกนายพลริชาร์ด ดีนไม่สำเร็จเพราะการต่อต้านที่แข็งขันของฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่นำโดยนายพลคีธ ทางตะวันออกของเซเวิร์นฝ่ายนิยมกษัตริย์เสียเปรียบเพราะมีกำลังน้อยกว่าโดยถูกโจมตีโดยกองทัพตัวแบบใหม่โดยการนำของครอมเวลล์และทางตะวันตกโดยฟลีตวุดที่ตีวงยาวสี่ไมล์ไปทางวุร์สเตอร์[3]

ฝ่ายนิยมกษัตริย์ต่อต้านอย่างเหนียวแน่นในบริเวณโพวิคเมดโดว์ส การต่อต้านทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเซเวิร์นทางเหนือของแม่น้ำทีมของฝ่ายนิยมกษัตริย์ทำให้เป็นปัญหาหนักต่อฝ่ายรัฐสภา ครอมเวลล์จึงนำกองหนุนมาจากทางด้านตะวันออกของวุร์สเตอร์ข้ามสะพานพอนทูนที่แม่น้ำเซเวิร์นมาช่วยฟลีตวุด

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงมองจากหอคอยของมหาวิหารวุร์สเตอร์ เห็นช่องที่จะโจมตีทางแนวตะวันออกของฝ่ายรัฐสภาที่เปิดอยู่ เมื่อผู้ต่อต้านทางด้านตะวันตกของตัวเมืองถอยเข้ามาในเมืองอย่างเป็นระเบียบแม้ว่าคีธจะถูกจับและนายพลมอนต์โกเมอรีจะได้รับบาดเจ็บ แต่พระเจ้าชาลส์ก็มีพระราชโองการให้กองทหารสองกองเข้าโจมตีฝ่ายรัฐสภาทางด้านตะวันออกของเมือง ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือทางประตูเซนต์มาร์ตินกองทหารนำโดยวิลเลียม แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 2 (William Hamilton, 2nd Duke of Hamilton) โจมตีแนวรัฐสภาที่เพอร์รีวูด ทางตะวันออกเฉียงใต้ทางประตูซิดบรีกองทหารนำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 เปิดการโจมตีที่เรดฮิลล์ กองทหารม้าของฝ่ายกษัตริย์นำโดยเดวิด เลสลีย์ที่รวมตัวกันอยู่ที่พิทชครอฟต์เมดโดว์ทางด้านเหนือของเมืองไม่ได้รับคำสั่งให้ช่วย เลสลีย์จึงตัดสินใจไม่เข้าช่วย เมื่อเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นที่แนวตะวันออกที่ต้องถอยข้ามกลับที่สะพานพอนทูนที่เซเวิร์นครอมเวลล์จึงส่งกองหนุนสามกองเข้าช่วย[4][5]

แม้ว่าจะถูกผลักกลับ แต่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยแลมเบิร์ตมีจำนวนมากและมีความชำนาญในการต่อสู้ หลังจากการสู้รบเกิดขึ้นได้ชั่วโมงหนึ่งที่เริ่มด้วยการเสียเปรียบของฝ่ายรัฐสภา แต่สถานะการณ์ก็เปลี่ยนไปเมื่อฝ่ายรัฐสภาได้รับการสนับสนุนจากกองหนุนสามกองของครอมเวลล์ที่ส่งมา ทำให้สามารถตีโต้ฝ่ายกษัตริย์ให้ถอยกลับเข้าไปในเมืองได้[5] การถอยของฝ่ายกษัตริย์กลายเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัวของทั้งสองฝ่ายที่ร่นเข้าไปในเมือง ฝ่ายกษัตริย์ยิ่งเสียเปรียบหนักขึ้นเมื่อทหารเอสเซ็กซ์บุกเข้ายึดเนินฟอร์ทรอยัลได้ และใช้ปืนของฝ่ายกษัตริย์เองยิงเข้าไปในเมืองวุร์สเตอร์[6][7]

เมื่อพลบค่ำวุร์สเตอร์ก็ถูกโจมตีพร้อมกันทั้งสามด้าน ต่างฝ่ายต่างก็ต่อสู้กันอย่างกล้าหาญ ฝ่ายกษัตริย์สองสามพันคนที่พยายามหลบหนีตอนกลางคืนถูกจับได้โดยลิลเบิร์นและเมอร์เซอร์หรือโดยทหารที่อยู่ระหว่างยอร์กเชอร์และแลงคาสเตอร์ แม้แต่ชาวบ้านก็ช่วยจับผู้หลบหนี ภายหลังจากการเสียเมืองทั้งนายทหารและลูกแถวต่างก็ประหลาดใจในสถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันจนมิได้พยายามต่อต้านอีก[6][8]

ผลของสงคราม

[แก้]

หลังจากการพ่ายแพ้ที่วุร์สเตอร์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนี ในระหว่างเสด็จหนีก็ทรงต้องทรงเผชิญภัยหลายอย่างรวมทั้งการซ่อนพระองค์ในโพรงต้นโอ้ค ทหารฝ่ายพระองค์ 3,000 คนเสียชีวิตระหว่างยุทธการและอีก 10,000 ถูกจับที่วุร์สเตอร์หรือหลังจากนั้น เจมส์ แสตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ที่ 7 ถูกประหารชีวิต ทหารอังกฤษที่ถูกจับถูกเกณฑ์ให้เป็นทหารในกองทัพตัวแบบใหม่และถูกส่งไปประจำการในไอร์แลนด์ ส่วนทหารสกอตแลนด์อีก 8,000 คนที่ถูกจับถูกเนรเทศไปนิวอิงแลนด์, เบอร์มิวดา และเวสต์อินดีส ไปทำงานให้กับเจ้าของที่ดินที่นั่นในฐานะกรรมกรหนี้ (Indentured labour) ฝ่ายรัฐสภาเสียชีวิตไปเพียงจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับฝ่ายกษัตริย์[9]

หลังจากยุทธการแล้วครอมเวลล์ก็กลับไปเอลส์บรี (Aylesbury) ในบักกิงแฮมเชอร์ ที่เป็นที่มั่นหนึ่งของฝ่านรัฐสภาและไม่ไกลจากที่ตั้งของลูกพี่ลูกน้องของครอมเวลล์จอห์น แฮมพ์เด็น (John Hampden) ผู้เป็นวีรบุรุษของสงครามกลางเมืองผู้เสียชีวิตไปแล้ว ครอมเวลล์พักอยู่ที่คิงสเฮดอินน์เมื่อได้รับคำขอบคุณจากรัฐสภาในชัยชนะที่ได้รับต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์

กองทัพตัวแบบใหม่ฝ่ายรัฐสภาถูกปลดระวางและส่งกลับบ้านเพียงอาทิตย์เดียวหลังจากสงครามสงบ ครอมเวลล์ผู้ถูกเย้ยหยันความคิดในการก่อตั้งกองทัพตัวแบบใหม่ทหารหกเดือนก่อนหน้านั้น เขียนจดหมายไปถึงรัฐสภาสรรเสริญความสามารถและกล่าวแนะนำว่ารัฐสภาควรจะซาบซึ้งในคุณค่าของทหารกลุ่มนี้

ก่อนสงครามพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงจ้างช่างตัดเสื้อให้เย็บเครื่องแบบให้กองทหารแต่ไม่ทรงสามารถจ่ายค่าจ้างจำนวน £453.3s ได้ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 เจ้าฟ้าชายชาลส์ ทรงชำระหนี้ที่สร้างไว้เมื่อ 357 ปีมาแล้วให้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1786 จอห์น ควินซี แอดัมส์ และทอมัส เจฟเฟอร์สัน เดินทางไปดูฟอร์ตรอยัลฮิลล์ที่เกิดของยุทธการที่วุร์สเตอร์ เดวิด แมกคัลเลอบันทึกในหนังสือชีวประวัติของ "จอห์น แอดัมส์" ว่าเมื่อจอห์น แอดัมส์ไปถึงฟอร์ตรอยัลฮิลล์ก็เกิดความสะเทือนใจแต่รู้สึกผิดหวังที่ผู้คนในท้องถิ่นขาดความรู้เรื่องที่มาของยุทธการจนให้การบรรยายสดแก่ประชาชนที่มาชุมนุมว่า :

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ยุทธการที่วุร์สเตอร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?