For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา.

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (79 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตวุฒิสมาชิก และเป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 3

ประวัติ

[แก้]

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในราชสกุลเทพหัสดิน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก จากนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย (วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา) จากนั้นได้ประกอบอาชีพเป็นครู แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพล.อ.ยศ สมรสกับ คุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีบุตร 4 คน คือ

  1. พล.อ. วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
  2. พ.อ. รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  3. นางสาวณัฐธยาน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  4. นางสาวสิริยส เทพหัสดิน ณ อยุธยา

การทำงาน

[แก้]

พล.อ. ยศ เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในยศร้อยตรี เป็นผู้บังคับหมวดทหารราบ กองพันทหารราบที่ 19 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2483 และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 และรองผู้บัญชาการทหารบก และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในเวียดนาม คนแรกในปี พ.ศ. 2510 ในยศ"พลตรี"

พล.อ. ยศ ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี พ.ศ. 2511[1] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา (ครม.41)[3]

ร่วมก่อการกบฎ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2528 พล.อ. ยศ เข้าร่วมกับนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ

เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ สวัสดิ์ ลูกโดด ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป ซึ่งการกระทำการครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏทหารนอกราชการ" หรือ กบฏ 9 กันยา[4] หรือ กบฏสองพี่น้อง[5] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  4. รัตนทรัพย์ศิริ, ปกรณ์ (September 8, 2012). "ปฏิวัติ 9 กันยา นัดแล้วไม่มา". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
  5. รอดเพชร, สำราญ (February 16, 2010). "รัฐประหาร 53 ใครจะกล้าทำ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๕, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๘๖๗, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๗๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๔๘๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๘๔, ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๒๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๘, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 71 ตอนที่ 13 หน้า 553, 16 กุมภาพันธ์ 2497
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2249, 12 สิงหาคม 2501
  17. AGO 1969-08 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?