For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มูลสรวาสติวาท.

มูลสรวาสติวาท

มูลสรวาสติวาท (Mūlasarvāstivāda ) เป็นหนึ่งในนิกายยุคต้นของพุทธศาสนาในอินเดีย ต้นกำเนิดของมูลสรวาสติวาทและความเกี่ยวโยงกับนิกายสรวาสติวาทยังไม่เป็นที่ทราบกันดีนัก แม้ว่าจะมีหลายทฤษฎีที่เสนอเรื่องนี้ก็ตาม ความต่อเนื่องของนิกายมูลสรวาสติวาทยังคงดำรงอยู่ในพุทธศาสนาในทิเบตจนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทว่า มีเพียงการสืบทอดมูลสรวาสติวาทสายภิกษุ ไม่มีการสืบทอดสายภิกษุณี

ประวัติ

[แก้]

ในอินเดีย

[แก้]

ทฤษฎีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมูลสรวาสติวาท กับสรวาสติวาท เป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ นักวิชาการสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะจำแนกทั้ง 2 สำนักเป็นอิสระต่อกัน[1] อี้จิ้งอ้างว่ามูลสรวาสติวาทได้รับชื่อเช่นนี้ เพราะแตกหน่อมาจากนิกายสรวาสติวาท แต่ บูโตน รินเชน ดรุบ (Buton Rinchen Drub) กล่าวว่า การใช้ชื่อว่า มูลสรวาสติวาทเป็นการแสดงความเคารพต่อนิกายสรวาสติวาท ในฐานะที่เป็น "รากเหง้า" (มูล) ของนิกายต่าางๆ ของพุทธศาสนา[2] ในทัศนะของ Gregory Schopen มูลสรวาสติวาท พัฒนาขึ้นในอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 2 และเสื่อมถอยลงไปในศตวรรษที่ 7[3]

ในเอเชียกลาง

[แก้]

มูลสรวาสติวาทรุ่งเรืองทั่วเอเชียกลางเนื่องจากคณะพระธรรมทูตทำงานอย่างแข็งขันในพื้นที่ดังกล่าว โดยในเอเชียกลาง มีการเผยแพร่พุทธศาสนาสำนักต่างๆ ตามลำดับดังนี้

  1. ธรรมคุปต์
  2. สรวาสติวาท
  3. มูลสรวาสติวาท

ศรีวิชัย

[แก้]

อี้จิ้งบันทึกไว้ว่า ในศตวรรษที่ 7 มูลสรวาสติวาทเป็นนิกายที่โดดเด่นแพร่หลายไปทั่วอาณาจักรศรีวิชัย อี้จิ้งพักอยู่ที่ศรีวิชัยเป็นเวลาหกถึงเจ็ดปีในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาภาษาสันสกฤตและแปลคัมภีร์ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน อี้จิ้งบันทึกไว้ว่ามูลสรวาสติวาทเป็นที่นับถือกันเกือบทั้งพื้นที่ดังกล่าว[4] ท่านบันทึกว่าวิชาที่เรียนรวมถึงกฎและพิธีการต่างๆ ของมูลสรวาสติวาทในภูมิภาคนี้เหมือนอย่างที่มีอยู่ในอินเดีย[5] อี้จิ้งกล่าวว่า พุทธศาสนาในดินแดนศรีวิชัยเป็นหีนยาน แต่ในอาณาจักรมลายูมีอิทธิพลของพุทธศาสนามหายาน โดยมีคำสอนของคณาจารย์มหายาน เช่น คัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ ของพระอสังคะ

การสืบทอดพระวินัย

[แก้]

พระวินัยของนิกายมูลสรวาสติวาท เป็นหนึ่งในสามสายการสืบทอดพระวินัยที่หลงเหลืออยู่ คือพระวินัยของนิกายธรรมคุปต์ และนิกายเถรวาท ปัจจุบัน มูลสรวาสติวาทวินัยสืบทอดกันในทิเบต โดยมีพระวินัยแปลเป็นภาษาทิเบตในศตวรรษที่ 9 และภาษจีนในศตวรรษที่ 8 และยังมีต้นฉบับพระวินัยมูลสรวาสติวาทในภาษสันสกฤตหลงเหลืออยู่ด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Charles Willemen, Bart Dessein, Collett Cox. Sarvāstivāda Buddhist scholasticism. Brill, 1988. p.88.
  2. Elizabeth Cook. Light of Liberation: A History of Buddhism in India. Dharma Publishing, 1992. p. 237
  3. Gregory Schopen. Figments and fragments of Māhāyana Buddhism in India. University of Hawaii Press, 2005. pp.76-77.
  4. Coedes, George. The Indianized States of South-East Asia. 1968. p. 84
  5. J. Takakusu (1896). A Record of the Buddhist Religion : As Practised in India and the Malay Archipelago (A.D. 671-695)/I-Tsing. Oxford: Clarendon. Reprint: New Delhi, AES 2005. ISBN 81-206-1622-7.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มูลสรวาสติวาท
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?