For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน หรือ มศว บางเขน เป็นอดีตวิทยาเขตหนึ่งของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งมีประวัติการดำเนินงานในอดีตเป็นเวลาถึง 24 ปี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยวิชาการศึกษา (วศ.) จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 เพื่อเป็นสถานการศึกษาและวิจัยในสาขาวิชาการศึกษาและวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหมายส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้บริหารการศึกษา ต่อมาได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันและวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ขึ้นในปี พ.ศ. 2498 ในปี พ.ศ. 2510, 2511, 2512 และ 2513 ได้จัดตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร) วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม) วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยทักษิณ) วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร และวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ขึ้นตามลำดับ

วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนครตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวิทยาลัยครูพระนคร (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครในปัจจุบัน) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (บนที่ดินของบบวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหารลล) ประกอบด้วยส่วนราชการดังนี้

สำนักงานรองอธิการ - นายกิตติ นพคุณ ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงาน
คณะวิชาการศึกษา - ดร.รัตนา ตันบุญเต็ก ทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะวิชา
คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ - ดร.อุดม วิโรจม์สิกขดิตถ์ ทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะวิชา
คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ - ดร.ทวี หอมชง ทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะ วิชา
คณะวิชาวิจัยการศึกษา - นางประเยาว์ ศักดิ์ศรี ทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะวิชา

รับนิสิตรุ่นแรกจำนวน 180 คนโดยสอบคัดเลือกจากผู้สำเร็จประกาศนียบัติการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) แยกเป็น 6 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา วิชาเอกละ 30 คน เข้าเรียนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

2 ปี และรับนิสิตรุ่นต่อไปอีก 4 รุ่น จนถึงปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนครได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน นิสิตที่รับเข้ามาในปีนี้จึงเป็นนิสิต มศว บางเขน นิสิตวศ.พระนครจึงมีเพียง 5 รุ่นเท่านั้น

ผู้บริหาร วศ.พระนคร ตำแหน่งผู้บริหาร วศ. พระนครได้แก่ รองอธิการ ซึ่งมีเพียง 2 ท่านเท่านั้น ท่านแรกคือ อาจารย์เฉลิม อยู่เวียงชัย และท่านสุดท้าย คือ ศาสตราจารย์ ดร.ฟุ้งเฟื่อง เครือตราชู

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 กำหนดให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนครจึงยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (มศว บางเขน) ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา

มศว บางเขน เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ) 2 ปีและ 4 ปี ในวิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ธุรกิจศึกษา ประวัติศาสตร์ เคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป และเทคโนโลยีทางการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี วิชาเอกสถิติและวิชาเอกชีววิทยา หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) วิชาเอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ปี พ.ศ. 2530 เปิดสอนระดับปริญญาโทหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก และยังคงเปิดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันที่ประสานมิตร

ผู้บริหาร มศว บางเขน รองอธิการบดีเป็นผู้บริหารสูงสุดของ มศว บางเขน ในช่วงเวลา 19 ปี (พ.ศ. 2517-2536) มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มศว บางเขน 6 ท่าน ดังนี้

1. ศาสตราจารย์ ดร.ฟุ้งเฟื่อง เครือตราชู

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ธรรมา

3. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ดิสสระ

4. รองศาสตราจารย์อารีย์ สหชาติโกสีย์

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ทับทิมโต

6. รองศาสตราจารย์ ดร.โชติ เพชรชื่น (รักษาราชการ)

ยุบรวม

[แก้]

มศว บางเขนดำรงอยู่ได้ 19 ปี และสิ้นสุดลงเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ตามโครงการยุบรวมวิทยาเขต (โดยมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ให้ยุบรวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร ไปไว้ที่เดียวกัน ณ มศว ประสานมิตร) ขณะนั้นมีนิสิตปริญญาตรีที่เหลืออยู่ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 317 คน และนิสิตปริญญาโทอีก 84 คน รวมนิสิตทั้งสิ้น 401 คน (เนื่องจากมหาวิทยาลัยให้งดรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ในทุกสาขา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา)

พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน และวิทยาเขตบางเขน ได้รวมกับวิทยาเขตประสานมิตร เป็นวิทยาเขตกลาง[1]

คณะศึกษาศาสตร์ บางเขน

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดความเป็นวิทยาเขตส่วนกลาง คณาจารย์ นิสิต และศิษย์เก่าที่ร่วมกันคัดค้านการยุบรวมมาแต่ต้น ทำหนังสือถึงทบวงมหาวิทยาลัย ขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการยุบรวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2536 ว่า "การจัดตั้งหรือการยุบรวมวิทยาเขต เป็นดุลพินิจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จึงสมควรให้สภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิจารณาปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งผลกระทบและเสนอทางแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่ง

ในชั้นนี้คณะรัฐมนตรียังไม่รับพิจารณาปัญหานี้ แต่เพื่อป้องกันความเดือดร้อนแก่ประชาชน จึงขอให้ทบวงมหาวิทยาลัยประสานงานกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการแก้ปัญหาการรับนักเรียนโรงเรียนสาธิต และนักศึกษาของวิทยาเขตทั้งสองแห่งในปีนี้มิให้เป็นปัญหาเดือดร้อน พร้อมทั้งให้พิจารณาการใช้สถานที่ตั้งวิทยาเขตเดิมเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนตามปกติต่อไปด้วย" ในที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิจารณาให้ใช้พื้นที่ของวิทยาเขตบางเขนเดิมจัดการเรียนการสอนต่อไปได้ โดยให้เริ่มรับนิสิตใหม่ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 เป็นต้นไปหลังจากหยุดรับนิสิตในปีการศึกษา 2535 และ 2536

ปีการศึกษา 2537 มศว บางเขน (เดิม) เปิดรับนิสิตชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 6 วิชาเอก คือวิชาเอกสังคมศึกษา ภาษาไทย เทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาศาสตร์-เคมี วิทยาศาสตร์-ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ รวมจำนวนนิสิตทั้งสิ้น 150 คน บริหารงานโดยคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน ในรูปของคณะกรรมการบริหารคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน ดังนี้

1. รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน

2. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายต่าง ๆ

3. ประธานอาคารมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

4. รองผู้อำนวยการหอสมุด

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยโรจน์ ชัยอินคำ ผู้ช่วยอธิการบดี ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน กับ มหาวิทยาลัย

ปีการศึกษา 2538 เปิดรับนิสิตเพิ่มขึ้นอีก 3 วิชาเอก ได้แก่ วิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คหกรรมศาสตร์ และ ธุรกิจศึกษา จึงมีวิชาเอกที่เปิดสอนทั้งหมด 9 วิชาเอก ในปีการศึกษานี้

ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน

รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน เป็นผู้บริหารสูงสุดซึ่งมีเพียง 2 ท่าน คือ

1. อาจารย์อนุสรณ์ อรรถศิริ

2. รองศาสตราจารย์สมพล มงคลพิทักษ์สุข

คณะศึกษาศาสตร์ บางเขน ดำเนินได้เพียง 3 ปี ก็เกิดกรณีพิพาทกับสถาบันราชภัฏพระนครที่ต้องการให้คณะศึกษาศาสตร์ย้ายออกไป กรณีพิพาทคลี่คลายลงด้วยมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งสรุปความได้ว่า คณะศึกษาศาสตร์ บางเขน ต้องย้ายไปจัดการเรียนการสอนที่ใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจากสำนักงบประมาณ และงดรับนิสิตใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 เป็นต้นไป นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ บางเขน จึงมีเพียง 4 รุ่นเท่านั้น รุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2544

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?