For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ภูมิคุ้มกันบกพร่อง.

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
(Immunodeficiency)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10D84.9
ICD-9279.3
DiseasesDB21506
MeSHD007153

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (อังกฤษ: immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน

ชนิด

[แก้]

ภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ

[แก้]

โรคที่พบยากบางชนิดมีลักษณะการเพิ่มความไวรับต่อการติดเชื้อตั้งแต่วัยเด็ก ความผิดปกติดังกล่าวมักถ่ายทอดทางพันธุกรรมและมีลักษณะด้อย (autosomal recessive) หรือมียีนบนโครโมโซมเพศ (X-linked) กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดพบแล้วมากกว่า 80 กลุ่มอาการซึ่งมีลักษณะร่วมกันของความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน เช่นในลิมโฟไซต์หรือแกรนูโลไซต์[1]

การรักษาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดขึ้นกับธรรมชาติของโรค และอาจต้องให้แอนติบอดีในเส้นเลือด การใช้ยาปฏิชีวนะระยะยาว หรือในบางกรณีอาจรักษาด้วยสเต็มเซลล์

ภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบเกิดภายหลัง

[แก้]

ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเป็นผลจากปัจจัยภายนอกหรือโรคบางอย่าง จึงเรียกผลดังกล่าวว่าภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากทุพโภชนาการ (malnutrition) , ความชรา (aging) และยาบางชนิด เช่น เคมีบำบัด, ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (disease-modifying antirheumatic drugs) , สารกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) ที่ให้หลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ, และสเตอรอยด์เช่นกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids)

โรคบางชนิดมีผลทางตรงและทางอ้อมในการทำลายระบบภูมิคุ้มกัน เช่นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งไขกระดูกและเม็ดเลือด (เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) , มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) หรือมัลติเปิลไมอีโลมา (multiple myeloma) และโรคเรื้อรังบางชนิด ที่รู้จักกันดีเช่นเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นอาการหลัก เกิดจากไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันทางอ้อม

ในประเทศไทย สาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่พบได้บ่อยคือการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบได้มากกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ การวินิจฉัยเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงควรคำนึงถึงโรคเอดส์เอาไว้ด้วย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rosen FS, Cooper MD, Wedgwood RJ (1995). "The primary immunodeficiencies". N. Engl. J. Med. 333 (7): 431–40. doi:10.1056/NEJM199508173330707. PMID 7616993.((cite journal)): CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. อรวดี หาญวิวัฒน์วงศ์ (บรรณาธิการ). วิทยาภูมิคุ้มกันพื้นฐานและคลินิก. กรุงเทพฯ:คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?