For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ภาวะกรดเกิน.

ภาวะกรดเกิน

ภาวะกรดเกิน
(Acidosis)
ชื่ออื่นภาวะเลือดเป็นกรด
อาการทั่วไปของภาวะเลือดเป็นกรด
สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤต

ภาวะกรดเกิน[1], ภาวะกระเดียดกรด[2] หรือ ภาวะร่างกายเป็นกรด[3] (อังกฤษ: Acidosis) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดเพิ่มขึ้นในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกาย กล่าวคือเป็นการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน หากไม่ได้มีการระบุรายละเอียดเพิ่มเติม โดยทั่วไปมักใช้หมายถึงความเป็นกรดในพลาสมาเลือด

คำว่า ภาวะกรดเลือดเป็นกรด[4] หรือ เอซิเดเมีย (acidemia) ใช้อธิบายถึงสภาวะที่ซึ่งค่า pH ของเลือดต่ำ ในขณะที่เอซิดอซิส (acidosis) ใช้อธิบายกระบวนการซึ่งนำไปสู่สภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามทั้งสองคำอาจใช้เปลี่ยนกันได้ใบางครั้ง เอซิเดเมียนั้นเกิดขึ้นเมื่อค่า pH ในหลอดเลือดแดง (arterial pH) ต่ำกว่า 7.35 (ยกเว้นกรณีในทารกในครรภ์; fetus) ในขณะที่อาการคู่ตรงข้าม อัลคาเลเมีย (alkalemia) เกิดขึ้นที่ค่า pH สูงกว่า 7.45 ในการประเมินผู้ป่วยนั้นต้องมีการวิเคราะห์ค่า Arterial blood gas และการทดสอบอื่น ๆ

อัตราเมแทบอลิซึมในเซลล์ (rate of cellular metabolic activity) ทั้งส่งผลและได้รับผลกระทบในเวลาเดียวกันจากค่า pH ของของเหลวในร่างกาย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า pH ปกติอยู่ที่ 7.35 ถึง 7.50 ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และจำกัดอยู่ที่ไม่เกินระหว่าง 6.8 ถึง 7.8 ในการดำรงชีพได้ การเปลี่ยนแปลงในค่า pH ของเลือดในหลอดเลือดแดง (ซึ่งก็ตามด้วยของเหลวนอกเซลล์) ที่เกินจากช่วงที่กำหนดนี้อาจส่งผลให้เซลล์ไดรับอันตรายแบบกู้กลับไม่ได้ (irreversible cell damage)[5]

ภาวะกรดเกินเมแทบอลิก

[แก้]

ภาวะกรดเกินเมแทบอลิก (อังกฤษ: Metabolic acidosis) อาขส่งผลให้ทั้งเกิดการผลิตกรดเมแทบอลิก (เช่นกรดแลกติก) สูงขึ้น หรือรบกวนความสามารถในการขับออกผ่านทางไต เช่น ภาวะกรดเกินในท่อไต (renal tubular acidosis) หรือภาวะกรดเกินของไตวาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของยูเรีนและครีทินีน (creatinine) การเพิ่มขึ้นของการผลิตกรดอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดภาวะกรดเกินเมแทบอลิกเช่นกัน เช่น ภาวะกรดเกินกรดแลคติก

ภาวะกรดเกินจากการหายใจ

[แก้]

ภาวะกรดเกินจากการหายใจ (respiratory acidosis) เกิดจากการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ภาวะไฮปอร์แคปเนีย; hypercapnia) จากภาวะหายใจขาด (hypoventilation) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาของปอด อย่างไรก็ตาม ทั้งยา (โดยเฉพาะ ยาสลบและยากล่อมประสาท), การบาดเจ็บที่ศีรษะ และเนื้องอกในสมอง ล้วนก่อให้เกิดเอซิเดเมียชนิดนี้ได้ทั้งนั้น[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน วิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖)
  2. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔
  3. ศัพท์พบการใช้ใน ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200122141138.pdf เก็บถาวร 2021-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ศัพท์พบการใช้ใน วารสารโรงพยาบาลชัยภูมิ จาก https://digitaljournals.moph.go.th/tdj/index.php/CMJ/article/view/7799[ลิงก์เสีย]
  5. Needham, A. 2004. Comparative and Environmental Physiology. Acidosis and Alkalosis.
  6. "MedlinePlus Medical Encyclopedia: Respiratory acidosis". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  7. "eMedicine - Respiratory Acidosis : Article by Jackie A Hayes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ภาวะกรดเกิน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?